มติบอร์ด สปสช.เห็นชอบตั้งกองทุนจิตเวชดูแลผู้ป่วยเริ่ม ต.ค.นี้

มติบอร์ด สปสช.เห็นชอบตั้งกองทุนจิตเวชดูแลผู้ป่วยเริ่ม ต.ค.นี้

มติบอร์ด สปสช.เห็นชอบตั้งกองทุนจิตเวชดูแลผู้ป่วยเริ่ม ต.ค.นี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 1 ต.ค.นี้ ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแลเพิ่มขึ้น หลังมติบอร์ดอนุมัติจัดตั้งกองทุนจิตเวชและรักษาใน รพ.ไม่จำกัดจำนวน/ครั้ง ขณะเดียวกัน ครม.อนุมัติงบดูแลผู้ป่วยจิตเวชกว่า 203 ล้านบาท เผยสถานการณ์โรคทางจิตเวชมีผู้ป่วยจิตเภทที่มีความรุนแรงเริ่มต้นหรือรุนแรงถึง 12 ล้านคน แต่เข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 4 หรือ 480,000 คนเท่านั้น

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยหลังการประชุมบอร์ด สปสช. ว่า ในปี 2554 รัฐบาลได้จัดงบประมาณสุขภาพทางกองทุนจิตเวช ในจำนวนนั้นจะมีการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชรวมอยู่ด้วย โดยเป็นในรูปกองทุนแยกต่างหากจากงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งจากเดิมที่ให้บริการผู้ป่วยจิตเวช หากใช้บริการรักษาพยาบาลได้ไม่เกินครั้งละ 15 วัน แต่มติบอร์ดเห็นชอบว่าให้บริการโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการใช้บริการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการบริการเพิ่มขึ้น

โดยจากข้อมูลกรมสุขภาพจิตระบุว่า มีผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเฉลี่ยจะอยู่เกิน 15 วัน มีถึงร้อยละ 52 หากแบ่งสัดส่วนของการใช้บริการในโรงพยาบาลพบว่า โรงพยาบาลศูนย์มีถึงร้อยละ 20.7 ขณะที่โรงพยาบาลจิตเวชสังกัดกรมสุขภาพจิตมีถึงร้อยละ 58.7 สำหรับโรงพยาบาลทั่วไป มีถึงร้อยละ 66.1 แต่การให้บริการรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่อยู่เกิน 15 วัน จะได้รับการดูแลโดยไม่จำกัดนั้นสามารถเริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 (ปีงบประมาณ 2554) นี้เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะลดการใช้ยารักษาทางด้านจิตเวชในอนาคตด้วย

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.ยังได้บริการขยายสิทธิประโยชน์รักษาผู้ป่วยจิตเวช ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสิทธิบัตรทอง หลังจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณกว่า 203 ล้านบาท ให้ดำเนินจัดหายาดูแลผู้ป่วยจิตเวชให้ได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการให้บริการ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2554 ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการความร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมในผลิตยา และกรมสุขภาพจิตในการจัดระบบการกระจายยาเพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาดังกล่าวด้วย

"ก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาในการเข้าถึงยาของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพได้เสนอยา 2 รายการ คือ ยาริสเพอริโดน (Risperidone) รักษาโรคจิตเภท และเซอร์ทราไลน์ (Sertraline) รักษาโรคซึมเศร้า แต่ยาเซอร์ทราไลน์นั้น องค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตได้แล้ว รอขึ้นทะเบียนจาก อย. คาดว่าจะนำยาดังกล่าวบรรจุยาเข้าไปในบัญชียาหลักแล้วใช้รักษาผู้ป่วยระบบเดียวกันทั่วประเทศได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าจะทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างทั่วถึง" เลขา สปสช. กล่าว

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตปี 2551 ประเทศไทยมีผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการเริ่มต้นถึงรุนแรงทั้งหมดร้อยละ 20 หรือ 12 ล้านคน โดยเป็นผู้ป่วยจิตเภทประมาณร้อยละ 1 หรือ 600,000 คน โรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 2 หรือ 1.2 ล้านคน แต่ในจำนวนนี้เข้าถึงบริการสุขภาพได้เพียงร้อยละ 4 หรือประมาณ 480,000 คน เนื่องจากที่ผ่านมา ยาที่ใช้ในการรักษานั้นมีราคาแพง แต่สำหรับยาริสเพอริโดน ยาต้นตำรับราคาเม็ดละ 40 บาท องค์การเภสัชกรรมผลิตได้ในราคาเม็ดละ 4 บาท ขณะที่ยา เซอร์ทราไลน์ ยาต้นตำรับเม็ดละ 37 บาท หากองค์การเภสัชกรรมผลิตได้เองจะเหลือเม็ดละ 5 บาท ซึ่งเมื่อองค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตได้แล้วและมีคุณภาพเทียบเท่ายาต้นแบบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook