ศาลออกหมายจับพ.ต.ต.เงินไม่มาฟังอุทธรณ์

ศาลออกหมายจับพ.ต.ต.เงินไม่มาฟังอุทธรณ์

ศาลออกหมายจับพ.ต.ต.เงินไม่มาฟังอุทธรณ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ศาลอาญา รัชดา เลื่อนอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ พนักงานอัยการ ฝ่ายคดีอาญา 6 และ นางอังคนา นีละไพจิตร ภรรยาของ นายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ร่วมกัน เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ต.เงิน ทองสุก อดีตสารวัตร กอ.รมน. พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน รองผู้กำกับการ 3 กองปราบปราม กับพวกรวม 5 คน ในความผิดฐานต่อเสรีภาพและปล้นทรัพย์ โดยใช้ยานพาหนะ เพื่อกระทำผิด จากกรณีมีส่วนพัวพันกับการหายตัวไปของ นายสมชาย เมื่อปี 2547 โดยวันนี้ พ.ต.ต.เงิน จำเลยที่ 1 ไม่ได้เดินทางมาศาล เพราะญาติได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดปทุมธานี ให้ทำการไต่สวนการเป็นบุคคลสูญหาย เนื่องจาก ญาติให้เหตุผลว่า พ.ต.ต.เงิน หายสาบสูญไป ในเขื่อนแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2551 และแม้ว่า ศาลจังหวัดปทุมธานี ยังอยู่ระหว่างการไต่สวนการเป็นบุคคลสูญหายของ พ.ต.ต.เงิน แต่ศาลเห็นว่า ได้มีการส่งหมายให้จำเลยเป็นกรณีพิเศษแล้ว จึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับ พ.ต.ต.เงิน เพื่อให้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยนัดฟังคำพิพากษาอีกครั้ง ในวันที่ 11 มี.ค. นี้

ขณะที่ นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของ นายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม กล่าวภายหลังศาลเลื่อน อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีที่พนักงานอัยการ ฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ต.เงิน ทองสุข อดีตสารวัตร กอ.รมน. กับพวกรวม 5 คน เป็นจำเลยอุ้ม นายสมชาย โดยเชื่อว่า ศาลอุทธรณ์ จะมีคำสั่งพิพากษาลงโทษ พ.ต.ต.เงิน เนื่องจาก มีพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่า พ.ต.ต.เงิน กระทำความผิด และหากในวันที่ 11 มี.ค.นี้ จำเลย ไม่มาฟังคำพิพากษา หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่สามารถดำเนินการจับกุมจำเลย มาตามหมายจับได้ ก็ไม่ได้แสดงว่า พ.ต.ต.เงิน เป็นบุคคลสูญหายตามที่ญาติของจำเลย ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดปทุมธานี เนื่องจาก การหลบหนีหมายจับเป็นได้ในหลายกรณี และเชื่อว่า การไม่มาฟังคำพิพากษาของศาล เป็นการหลบหนีความผิดและส่วนตัวเชื่อว่า พ.ต.ต.เงิน ยังมีชีวิตอยู่ พร้อมกันนี้ นางอังคณา ยอมรับว่า ยังมีความคลางแคลงใจ เกี่ยวกับ จำเลย อีก 4 คน ที่ ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจาก มีหลักฐานการใช้โทรศัพท์ในพื้นที่ และช่วงเวลาเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ในเวลาก่อเหตุ

นอกจากนี้ นางอังคณา ยังตั้งคำถามในเรื่องของช่องว่างทางกฎหมาย เกี่ยวกับกรณีที่จำเลยเป็นบุคคลที่สาบสูญ หรือ สูญหาย ระหว่างการพิจารณาคดีนั้น จะมีขั้นตอนการพิจารณา อย่างไรต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook