กษิตขอบคุณUNSCให้ภูมิภาคแก้พิพาทไทยเขมร

กษิตขอบคุณUNSCให้ภูมิภาคแก้พิพาทไทยเขมร

กษิตขอบคุณUNSCให้ภูมิภาคแก้พิพาทไทยเขมร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีฯต่างประเทศ เปิดเผยถึง การประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชา โดยในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้กล่าวรายงานต่อที่ประชุมเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของไทย-กัมพูชา ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงในที่ประชุม ทั้งนี้ ประธานคณะมนตรี ในเดือนนี้ คือ ทูตบราซิล ได้ให้ทั้ง 2 ประเทศ กล่าวถึงปัญหา โดยเริ่มจาก นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีฯต่างประเทศกัมพูชา เป็นฝ่ายเริ่ม ซึ่งเน้นปัญหาการสู้รบเป็นสำคัญ และอยากให้ คณะมนตรีความมั่นคงฯ ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ เพื่อไม่ให้มีการสู้รบเกิดขึ้นอีก ขณะที่ นายกษิต กล่าวถึง ความเป็นมาของปัญหาและแสดงจุดยืนสันติภาพ ต้องการให้ยุติการสู้รบ อยากให้ดำเนินการตามกลไกเดิมของ 2ประเทศ ตามสนธิสัญญา MOU 43 และกรอบ JBC เพราะเชื่อว่า การเจรจาระหว่างทวิภาคี จะแก้ไขปัญหาได้ ซึ่ง รัฐมนตรีฯต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะประธานกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนหมุนเวียน เสนอเข้ามาเป็นตัวกลางให้เจรจาแบบทวิภาคี เช่นเดียวกับ สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯ ทั้งหมด ซึ่งเห็นพ้องให้เจรจาทวิภาคีเช่นกัน โดยให้ อาเซียน เข้ามาคอยสนับสนุน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผู้นำทางกัมพูชาว่า จะมาเข้าร่วมหรือไม่ พร้อมกันนี้ รัฐบาลไทย ไม่มีความปรารถนาร้ายต่อกัมพูชา เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไทยได้ลงทุนค้าขาย พัฒนาด้านสังคม , เศรษฐกิจ , การแพทย์ และด้านการศึกษาของกัมพูชา มาโดยตลอด

ต่อจากนั้น มีการแสดงความคิดเห็นของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ทุกท่าน สนับสนุนให้เจรจาตามสันติวิธี ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่จะมีขึ้น ในวันที่ 22 ก.พ. ที่ กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนีเซีย ถึงประเด็นที่ทำให้มีข้อตกลง เพื่อหยุดยิงถาวรนั้น จะต้องทำอย่างไร และจะติดตามผลดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับผู้นำทั้ง 2 ฝ่าย ว่าจะมีท่าทีอย่างไร ซึ่งไทยก็ยืนยันว่า ไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มโจมตีก่อน และพร้อมที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไป ขณะที่ นายกษิต เสนอความคิดเห็นว่า คณะมนตรีความมั่นคงฯ UNSC ไม่สมควรจะเข้ามาแทรกแซงระหว่าง 2 ประเทศ

ส่วนเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปราสาทเขาพระวิหารนั้น ทางการไทย ยืนยันมาโดยตลอดว่า เห็นควรให้ระงับไว้ก่อน โดยเฉพาะ แผนการพัฒนาที่ดินรอบเขาปราสาทฯ โดยที่ได้ร้องขอไปทาง UNSC ไปเจรจากับทาง UNESCO ให้ยับยั้งแผนการดังกล่าวไว้ก่อน เพื่อให้การเจรจาเรื่องปักปันเขตแดนแล้วเสร็จเสียก่อน ต่อท่าทีของ นายฮอร์ นัมฮง ดูจะยังขัดต่อข้อเสนอของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ที่ไม่ยอมเจรจาในระดับทวิภาคี ซึ่งส่งผลให้ กัมพูชา มีพันธกรณี กับ UNSC อาเซียน และไทย ว่าจะต้องกลับมาเจรจาทวิภาคี อีกครั้ง ตามความเห็นพ้องของทุกฝ่าย ดังที่กล่าวมาแล้ว ส่วนเรื่องที่ว่า จะเกิดการปะทะกันนั้น โดยส่วนตัวเชื่อว่า จะไม่เกิดขึ้นอีก ขึ้นอยู่กับผู้นำทั้งสองประเทศ รวมถึง แม่ทัพสองฝ่ายจะต้องระมัดระวังมากขึ้น

นอกจากนี้ นายกษิต กล่าวต่อว่า ตนไม่อยากให้เรื่องของระหว่างสองประเทศ จะต้องกลายเป็นปัญหาของอาเซียน และประชาคมโลก ซึ่งการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นี้ ไม่ใช่เพียงการเจรจาเพื่อหยุดยิง เท่านั้น แต่รวมถึงเจรจาในเรื่องของอาชญากรรมข้ามชาติ ค้ามนุษย์ ค้าแรงงานเถื่อน และอื่นๆ ส่วนแนวทางการเจรจาข้อตกลงหยุดยิงถาวร ต้องขึ้นอยู่การเจรจากัน ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทั้งสองประเทศ และผู้นำกัมพูชา ว่าจะส่งรัฐมนตรีกลาโหมของกัมพูชา มาเจรจากับฝ่ายไทยหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook