เขมรลั่นไม่ถกJBCไทยบอกยังไม่เหมาะ

เขมรลั่นไม่ถกJBCไทยบอกยังไม่เหมาะ

เขมรลั่นไม่ถกJBCไทยบอกยังไม่เหมาะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
พล.ท.ชุม สุชาติ โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา กล่าวให้สัมภาษณ์กับ สำนักข่าวซินหัว ผ่านทางโทรศัพท์ วานนี้ (4) ว่า พล.อ. เตีย บันห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ตอบคำของของไทย ในการประชุมคณะกรรมการเขตแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา หรือ JBC โดยระบุว่า เป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมในการจัดประชุม และจะไม่มีการจัดเจรจาทวิภาคีใดๆ ที่ไม่มีประธานอาเซียนร่วมด้วย และหากไทยต้องการที่จะเจรจากับกัมพูชาจริงๆ ก็สามารถขอได้จากประธานอาเซียน

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวตอบโต้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ที่กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ไทยได้ขอให้กัมพูชาร่นระยะเวลา การจัดการประชุมคณะกรรมการจีบีซี ครั้งที่ 8 มาเป็นเดือนมีนาคม นี้ จาก
กำหนดการเดิมในเดือนเมษายน เพื่อทั้งสองประเทศ จะได้ช่วยแก้ปัญหา และหารือกันเกี่ยวกับการที่ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ที่จะลงพื้นที่ โดย พล.ท.ชุม กล่าวว่า นั้นเป็นเพียงข้ออ้างของไทย ที่จะถ่วงเวลาการยอมรับผู้สังเกตการณ์
จากอินโดนีเซีย



http://news.xinhuanet.com/english2010/world/2011-03/04/c_13761498.htm



ด้าน สำนักข่าวดึมอัมปรึล ของกัมพูชา รายงาน วานนี้ (4) อ้างแหล่งข่าว ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชา ว่า ทหารไทยยังคงทำการขุดบังเกอร์บริเวณด้านหน้าของภูเขา และ ในบริเวณกักดัก ภูเขา (Trab Mountain) ซึ่งอยู่ใกล้กับปราสาท
พระวิหาร ถึงแม้ว่าทหารกัมพูชาขอร้องให้หยุดการกระทำดังกล่าว แต่ฝ่ายทหารไทยกลับเมินเฉยต่อคำร้องขอ


http://www.dap-news.com/en/news/3977-thai-troop-continues-digging-bunker-at-cambodia-thai-conflict-border.html




ขณะที่ เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ รายงานอ้างข้อมูลจากสำนักข่าวด่วนกัมพูชา และ หนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดี (3) ที่ผ่านมาถึงความสำเร็จในการนำคณะทูตทหาร เดินดูความเสียหายบริวณพระวิหาร และวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ โดยระบุว่า ผู้แทนทางการทูต ฝ่ายทหาร 17 คนจาก 12 สถานเอกอัครราชทูต ในกรุงพนมเปญ ประสบความสำเร็จในการเยือนพื้นที่ ที่เรียกว่า เขตพิพาทไทย-เขมร แม้มีคำขู่และความพยายามต่อต้านจากทหารไทย

ตามรายงานระบุ ผู้แทนทางการทูตฝ่ายทหารทั้ง 17 คน เดินทางถึงพื้นที่เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น. ได้รับการต้อนรับอย่างเป็นกันเองจาก พลเอกเนียง พัท รัฐมนตรีช่วยกลาโหม พลเอกนิม สุวัท เจ้ากรมกิจการต่างประเทศ และ พลตรีฮุนมาเน็ต(บุตรชายสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา) รองผู้บัญชาการของกองทัพบกกัมพูชา โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง ในการเยี่ยมพื้นที่ ซึ่งรวมถึงศูนย์บัญชาการกัมพูชาที่ปรามนัคครา เข้าชมโคปุระทั้ง 5 ที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง จากกระสุนปืนใหญ่ไทย ตลอดจนการเยือนวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ที่ได้รับความเสียหายจากกระสุนปืนใหญ่ของไทยเช่นเดียวกัน

ส่วน พลโทสรัย ดึ๊ก ผู้บัญชาการฐานปฏิบัติการพระวิหาร กล่าวว่า ทหารไทยขู่จะขัดขวางการเดินทางเยือน โดยเมื่อคณะเดินทางมาถึงทหารไทยได้เข้ามายื่นจดหมายประท้วงที่มีข้อความระบุว่าประเทศไทยไม่อนุญาตให้ตัวแทนเดินทางข้ามเข้ามาในเขต 4.6 ตร.กม. รวมถึงวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระซึ่งถือว่าอยู่ในเขตพิพาท จดหมายกล่าวว่าประเทศไทยจะอนุญาตให้คณะข้ามเข้ามาในเขตเฉพาะเมื่อมีทหารไทย 5 นาย ได้รับอนุญาตให้ร่วมติดตามคณะไปด้วย

พลโทสรัย ดึ๊ก กล่าวต่อว่าฝ่ายกัมพูชาปฏิเสธข้อเรียกร้องของไทยและส่งจดหมายตอบปฏิเสธข้อเรียกร้องของไทยด้วยการเตือนว่าถ้าฝ่ายไทยเปิดการยิง ฝ่ายกัมพูชาจะตอบโต้ด้วยมาตรการป้องกันตนเอง

คณะได้เยือนวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ บันไดทางขึ้นปราสาทพระวิหาร โคปุระที่ 3, 4 และ 5 ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากกระสุนปืนใหญ่ของไทยระหว่างการปะทะด้วยอาวุธ เมื่อวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะได้มีโอกาสเห็นคลัสเตอร์บอมบ์ที่หลงเหลือจากกระสุนปืนใหญ่ของไทย



ด้าน นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึง การประชุม JBC ที่ฝ่ายประเทศไทยเสนอให้แก่ทางกัมพูชาว่า ต้องการจัดประชุมวันที่ 7-8 มีนาคม นี้ โดยระบุว่า การประชุมดังกล่าวยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า จะเกิดขึ้นได้ตามเวลาที่ประเทศไทยเสนอไปหรือไม่ เนื่องจากทางฝ่ายกัมพูชา แสดงความจำนงว่า ต้องการรอให้การประชุมร่วมรัฐสภาของไทยในกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการประชุมดังกล่าวเสร็จสิ้นก่อน ซึ่งเท่าที่ทราบรัฐสภาไทย ยังไม่มีการบรรจุวาระดังกล่าว จึงไม่อาจตอบได้ชัดเจนว่า จะมีการประชุม JBC ที่ประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นหรือไม่

แต่อย่างไรก็ตาม นายธานี ยืนยันว่า การประชุมที่จะเกิดขึ้นนั้น เป็นการประชุมในระดับทวิภาค โดยไม่มีประเทศอื่นเข้าแทรกแซงหรือร่วมวงประชุมด้วย แม้ว่าทางกัมพูชาจะแสดงความประสงค์ต้องการประชุม ในระดับพหุภาคี ที่มี 3-4 ชาติ เข้าร่วมด้วย แต่เชื่อว่า ในท้ายที่สุดอาจเป็นเพียงแค่การให้ประเทศอื่น เป็นผู้อำนวยความสะดวก ในการประชุมให้เท่านั้น แต่ในโต๊ะเจรจา จะมีเพียงแค่ไทย และกัมพูชาเท่านั้น ส่วนกรอบการประชุมจะใช้กรอบเดิมที่เคยกำหนดไว้เมื่อ 3 ปีก่อน เพื่อเป็นการสานต่อการประชุมที่ผ่านมา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook