เผยอาคารสูงพันแห่งทั่วกรุง เสี่ยงแผ่นดินไหว

เผยอาคารสูงพันแห่งทั่วกรุง เสี่ยงแผ่นดินไหว

เผยอาคารสูงพันแห่งทั่วกรุง เสี่ยงแผ่นดินไหว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กทม. เผยมีอาคารสูงในพื้นที่อาจได้รับผลกระทบหากเกิดแผ่นดินไหวกว่า 2,700 แห่ง และมีตึกที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ 12 แห่ง เร่งให้เจ้าของตรวจสอบความแข็งแรงของอาคาร หากยังไม่แน่ใจสามารถแจ้งให้ กทม.ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจเพิ่มเติมได้

นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักการโยธา ลงพื้นที่ตรวจอาคารสูงเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวที่อาคารออล ซีซั่น ถนนวิทยุ พร้อมกล่าวว่า ปัจจุบันในพื้นที่ กทม.มีตึกอาคารทั้งขนาดเล็กใหญ่รวมกันกว่า 2 ล้านตึก แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศพม่าและแรงสั่นสะเทือนมาถึงพื้นที่ กทม. โดยเฉพาะตึกสูงขนาดใหญ่ จะได้รับผลกระทบ ซึ่งตึกใหญ่ที่มีพื้นที่เกิน 10,000 ตารางเมตร ใน กทม.ที่อาจได้รับผลกระทบมีกว่า 2,700 แห่ง แต่อาคารขนาดใหญ่ที่ กทม.ต้องเฝ้าดูแลเป็นพิเศษมีอยู่ด้วยกัน 12 แห่ง เนื่องจากเป็นอาคารที่ใกล้กับชุมชน และมีคนอาศัย และทำงานเป็นจำนวนมาก ได้แก่ 1 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 30 ชั้น สุขุมวิท 21 , 2.อาคารเฟิรสทาวเวอร์ 22 ชั้น ซอยสุขุมวิท 1 , 3.ศูนย์การค้ามาบุญครอง 29 ชั้น เขตปทุมวัน , 4.อาคารออลซีซั่น 53 ชั้น เขตปทุมวัน , 5.อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ อาคารโครงเหล็ก 58 ชั้น เขตสาทร , 6. อาคารชัยทาวเวอร์ 30 ชั้น เขตจตุจักร , 7.อาคารเบญจินดา 36 ชั้น เขตจตุจักร , 8.อาคารชินวัตร 3 สูง 32 ชั้น เขตจตุจักร , 9. อาคารไอทาวเวอร์ 32 ชั้น เขตจตุจักร , 10. อาคารธนาคารทหารไทย 34 ชั้น เขตจตุจักร , 11.อาคารซันทาวเวอร์ เอ 40 ชั้น เขตจตุจักร, และ12.อาคารซันทาวเวอร์ บี 34 ชั้น เขตจตุจักร

นายพรเทพ กล่าวว่า ได้แจ้งไปยังเจ้าของอาคารใหญ่ทั้งหมดกว่า 2,700 แห่ง ให้มีการตรวจสอบความแข็งแรงของอาคาร รวมถึงมาตรการดูแลความปลอดภัยขณะเกิดเหตุ แต่หากไม่แน่ใจสามารถโทรแจ้งมายังสายด่วน กทม. 1555 เพื่อที่ กทม.จะส่งเจ้าหน้าที่จากกองควบคุมอาคารเข้าไปตรวจสอบเพิ่มเติมให้ รวมทั้งจะได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาปรับปรุงแก้ไขอาคารต่อไป พร้อมกันนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนที่ใช้อาคารขนาดใหญ่ ขอให้เจ้าของอาคารติดป้ายบริเวณอาคารว่าอาคารของตนเองได้ผ่านการตรวจสอบ และมีความมั่นคงแข็งแรงสามารถรองรับหากเกิดแรงสั่นสะเทือนได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook