วิทยาศาสตร์รอบปี เรื่องดีเพียบ-ถอดรหัสพันธุกรรม เรื่องธรรมด๊า ธรรมดา

วิทยาศาสตร์รอบปี เรื่องดีเพียบ-ถอดรหัสพันธุกรรม เรื่องธรรมด๊า ธรรมดา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หลังจากโครงการ ฮิวแมน จีโนม โปรเจกท์ โดยมีสถาบันสุขภาพแห่งสหรัฐ เป็นแกนนำดึงพันธมิตรมหาวิทยาลัยหลายแห่งร่วมถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์จนครบถ้วนทุกโครโมโซมสำเร็จไปเมื่อปี 2546

// //

ส่งผลให้เกิดโครงการลักษณะเดียวกันตามมามากมาย เดือน ม.ค.2551 กลุ่มพันธมิตรสถาบันวิจัยระหว่างประเทศประกาศโครงการถอดรหัสพันธุกรรมครั้งใหม่ โดยตั้งเป้าอาศัยตัวอย่างดีเอ็นเอของมนุษย์ 1,000 ราย เพื่อจัดทำชุดความแตกต่างของข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ที่เรียกว่า สนิปส์

อีกโครงการหนึ่งคือ เพอร์ซันนอล จีโนม โปรเจกท์ ตั้งเป้าถอดรหัส และตีพิมพ์ข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ (จีโนม) ให้ได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เบื้องต้นปล่อยข้อมูลชุดจีโนมของผู้ร่วมโครงการมาแล้ว 10 ราย

ขณะเดียวกัน บริษัทเอกชนอย่าง 23 แอนด์มี 9 ตั้งอยู่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ เริ่มเปิดให้บริการถอดรหัสพันธุกรรมเป็นรายบุคคล คิดค่าบริการราว 399 ดอลลาร์ หรือหมื่นกว่าบาทเท่านั้น

ค้นหาอนุภาคพระเจ้า แต่สวรรค์ปิด

นักวิทยาศาสตร์ และผู้สนใจร่วมคลี่คลายความลับของจักรวาลเฝ้าลุ้นอยู่นานว่า เมื่อไรเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider) จะเดินเครื่องเสียที ในที่สุดนักฟิสิกส์ประจำห้องปฏิบัติการวิจัยเซิร์น (CERN) กดปุ่มเดินเครื่องเร่งอนุภาคผลงานอันภาคภูมิใจของนักวิทยาศาสตร์ยุโรป ทว่า ทำงานไปได้เพียง 9 วัน ต้องหยุดเดินเครื่อง เมื่อระบบไฟฟ้าล้มเหลวเป็นผลให้ก๊าซฮีเลียมเหลวที่มีสภาพเย็นจัดรั่วเข้าไปในอุโมงค์ของเครื่องเร่งอนุภาค ต้องปิดซ่อมแม่เหล็กเหนี่ยวที่ใช้ขับเคลื่อนอนุภาคโปรตอนก่อนจะเปิดใช้งานอีกทีคาดว่าฤดูร้อนปีหน้า

นกฟีนิกซ์เหยียบดาวอังคาร

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งสหรัฐ หรือนาซา ส่งยานสำรวจฟีนิกซ์ไปปฏิบัติการค้นหาน้ำแข็งบนดาวอังคารสำเร็จปลายเดือน พ.ค. พอสัมผัสพื้นดาวอังคารไม่กี่ชั่วโมง ฟีนิกซ์ยืนแขนกลที่มีกระบวยตักดินออกขุดผิวดาวอังคาร พบรอบขาวคล้ายพื้นน้ำแข็ง แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ดินดาวอังคารเหนียว หนืดเลยขุดลึกลงไปหาน้ำ และสารชีวภาพไม่ได้เลย ต่อมานักวิทยาศาสตร์ยืนยันพบน้ำแข็งบนดาวอังคาร และสารประกอบที่เรียกว่า เพอร์คลอเรต ปลาย ต.ค.สัญญาณสื่อสารจากฟีนิกซ์เริ่มขาดๆ หายๆ และนาซาตัดสินใจจบโครงการในวันที่ 2 พ.ย.

งานของพระเจ้า...

เก่งกันเหลือเกิน ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน เจ.เครก เวนเตอร์ ในแมริแลนด์ สหรัฐ สามารถจับดีเอ็นเอจำนวน 5 แสนคู่เบสมาต่อกันสร้างดีเอ็นเอสังเคราะห์ชุดแรกได้แล้ว และยังจัดแจงนำชุดดีเอ็นเอจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งไปใส่แบคทีเรียอีกชนิดเพื่อเปลี่ยนเจ้าแบคทีเรียตัวที่สองให้เป็นแบคทีเรียชนิดแรก ขั้นต่อไปคือ เอาจีโนมสังเคราะห์ไปสร้างเป็นสิ่งมีชีวิตเทียมตัวแรกของโลก คาดว่าจะทำได้สำเร็จในต้นปีหน้า รอดูก็แล้วกัน

แข่งกันเหยียบดวงจันทร์

องค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดียเพิ่มธงชาติอินเดียประดับไว้บนพื้นดวงจันทร์อีกผืน หลังจากยานอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ลำแรกที่มีชื่อว่า จันทรายาน-1 ปล่อยแท่งวัดสารประกอบลงบนแอ่งกระทะแชคเกิลตันเมื่อวันที่ 14 พ.ย. ก่อนหน้านี้ จีนและญี่ปุ่นส่งยานสำรวจไปโคจรรอบดวงจันทร์ไปก่อนแล้ว ที่น่าตื่นเต้นกว่านั้น ก.ย.นักบินอวกาศจีนลอยตัวอยู่กลางอวกาศสำเร็จเป็นชาติที่สามรองจากสหรัฐ และรัสเซีย

หมีขั้วโลกขึ้นทำเนียบสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์

พ.ค. รัฐบาลสหรัฐเลื่อนอันดับให้หมีขาวเป็นสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ภายใต้กฎหมายสิ่งมีชีวิตเสี่ยงสูญพันธุ์ของสหรัฐ หรืออีเอสเอ นับเป็นครั้งแรกที่จัดอันดับสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์โดยอิงกับภัยโลกร้อน แต่ใช่ว่าราบรื่นนัก การจัดอันดับหมีขาวทำให้คนในกระทรวงความมั่นคงภายในมีปากเสียงกัน ปลายสมัยรัฐบาลจอร์จ บุช จึงเปลี่ยนกฎการจัดอันดับสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ใหม่ให้กระทรวงความมั่นคงภายในไม่ต้องขอคำปรึกษาจากนักวิทยาศาสตร์อิสระก่อนตัดสินใจจัดอันดับสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์

โอลิมปิกปักกิ่งสุดหายใจเต็มปอด

รัฐบาลจีนวางมาตรการแก้ปัญหาสภาพอากาศมลพิษอย่างเข้มงวดเพื่อให้การแข่งขันโอลิมปิก สะอาดทุกลมหายใจ และทำได้สำเร็จเสียด้วย เมื่อดูจากดัชนีวัดมลพิษของปักกิ่งช่วง ส.ค.ลดลงมาต่ำกว่า 100 จากเกณฑ์ 500 เทียบกับช่วงฤดูร้อนปี 2550 ความเข้มข้นของอนุภาคขนาดใหญ่ลดลงราว 50% และอนุภาคขนาดเล็กลดลง 25%

แหกด่านจำกัดวิจัยสเต็มเซลล์

แหล่งสเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดสามารถหาได้จาก 2 แหล่ง ได้แก่ ตัวอ่อนในครรภ์ระยะแบ่งเซลล์ และจากตัวเต็มวัย หรือมนุษย์ที่คลอดออกมาเป็นตัวเป็นต้นแล้ว ข้อจำกัดของสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนคือ บาป ส่วนข้อจำกัดของสเต็มเซลล์จากตัวโตแล้วคือ บังคับให้เป็นเซลล์อื่นไม่ได้ดังใจ แต่ปัญหานี้หมดไป เมื่อนักวิจัยสหรัฐค้นพบวิธีพัฒนาสเต็มเซลล์จากเซลล์ผิวหนังของคนอายุ 80 ปีที่เป็นโรคสมองเสื่อมเรื้อรังให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงมากกับสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน หมายความว่า สามารถชักจูงให้เป็นเซลล์ชนิดไหนก็ได้ตามต้องการ

เสียงเล็กๆ นวันเด็กขอนายกฯช่วยคนไทยรักกัน

วันเด็กแห่งชาติปีนี้...ผู้ปกครองต่างพาบุตรหลานไปเที่ยวชมตามสถานที่ต่างๆ ที่เปิดเป็นพื้นที่ต้อนรับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ ทำเนียบรัฐบาล ที่เคยโอ่อ่ากว้างใหญ่ กลับแคบลงไปถนัดตา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook