จุฬาฯพัฒนาโปรแกรมอ่านหน้าจอหนุนผู้พิการสายตาเป็นคอลเซ็นเตอร์

จุฬาฯพัฒนาโปรแกรมอ่านหน้าจอหนุนผู้พิการสายตาเป็นคอลเซ็นเตอร์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่อยากมัดใจลูกค้าได้ต้องมี ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ หรือที่เรียกว่า คอลเซ็นเตอร์ ยิ่งบริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุดยิ่งดี เพราะปัญหาของลูกค้าเกิดขึ้นได้ทุกนาที

// //

เป็นเรื่องน่ายินดีเมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเปิดโอกาสรับผู้พิการทางสายตาเป็นพนักงานให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์2คนโดยมีโปรแกรมอ่านหน้าจอภาษาไทยช่วยให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่ว

ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการไอไซท์แล็บที่ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย)จำกัด(มหาชน)สนับสนุนให้นักวิจัยภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นเพื่อเปิดโอกาสผู้พิการทางสายตาเข้าถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

ดร.อติวงศ์สุชาโตผู้ช่วยคณบดีด้านสารสนเทศคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล่าถึงโปรแกรมดังกล่าวว่าช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสื่อสารและค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตรวมถึงใช้คอมพิวเตอร์ได้โดยลำพังไม่ต้องอาศัยผู้ช่วยในต่างประเทศมีโปรแกรมลักษณะนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายหากไทยต้องการใช้จะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ซึ่งราคาแพงทำให้ผู้พิการส่วนใหญ่ขาดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพ

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดสนับสนุนครบทั้งอุปกรณ์วิจัยเทคโนโลยีและงบประมาณปีละ3หมื่นดอลลาร์หรือประมาณ1ล้านกว่าบาทระยะเวลาดำเน2553ปัจจุบันโปรแกรมช่วยอ่านหน้าจอพัฒนาแล้วเสร็จพร้อมทั้งปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานในศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์โดยมีพนักงานที่พิการทางสายตา2คนเริ่มทดลองงานใช้งานโปรแกรม

โปรแกรมช่วยอ่านหน้าจอพัฒนาขึ้นจากโปรแกรมระบบเปิดหรือโอเพ่นซอร์สโดยใช้ชื่อโปรแกรมว่าเอ็นวีดีเอ(NonVisaulDesktopAccess)ทำหน้าที่มองจอภาพแทนตาและส่งสัญญาณเสียงตอบกลับว่าบนหน้าจอมีลักษณะอย่างไรมีข้อมูลอะไรบ้างเพื่อให้ผู้พิการสามารถป้อนคำสั่งที่ต้องการผ่านคีย์บอร์ดได้ทันทีในรูปแบบแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูด(TexttoSpeech)

เมื่อผู้พิการกดแป้นแท็บ(Tab)บนแป้นพิมพ์จะมีสัญญาณเสียงบอกให้ทราบตำแหน่งที่เคอร์เซอร์กะพริบอยู่เช่นคอมพิวเตอร์ของฉัน(MyComputer)เอกสารของฉัน(MyDocument)ถังขยะหรือขณะที่ผู้พิการคลิกเปิดโฟลเดอร์ก็จะมีเสียงแจ้งว่ากำลังเปิดเอกสารของฉันเป็นต้นดร.อติวงศ์หนึ่งในทีมพัฒนาโปรแกรมกล่าว

การพัฒนาโปรแกรมช่วยอ่านหน้าจอสำหรับผู้พิการทางสายตาได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กรโดยเฉพาะสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยและสมาคมคนตาบอดเพื่อการวิจัยที่ร่วมทดสอบโปรแกรมตลอดจนพัฒนาแก้ไขกระทั่งสามารถใช้งานได้สูงสุดตรงความต้องการของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

การติดตั้งใช้งานโปรแกรมในธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจะนำร่องให้ทุกคนเห็นถึงศักยภาพของโปรแกรมว่าสามารถใช้งานได้จริงก่อนที่จะพัฒนาต่อให้มีความแม่นยำตลอดจนพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมใใช้งานในแต่ละประเภทในลักษณะโปรแกรมเสริมต่อไปนักพัฒนาโปรแกรมกล่าว

ด้านนายแอชลีย์วีซีย์รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานสารสนเทศและปฏิบัติการธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย)กล่าวว่าธนาคารพิจารณาถึงประโยชน์ของโครงการดังกล่าวเนื่องจากโปรแกรมช่วยอ่านของภาคเอกชนที่จำหน่ายในตลาดมีราคาแพงและยังไม่มีภาษาไทยหากสามารถพัฒนาเป็นภาษาไทยได้และแจกจ่ายให้ผู้พิการทางสายตานำไปใช้โดยไม่ต้องซื้อในราคาแพงจะเป็นประโยชน์ทั้งแก่ผู้พิการทางสายตาและสังคมโดยรวม

จุฑารัตน์ทิพย์นำภา

ตะลุยข่าว : THE GREEN POLICE กองปราบฯ สู่ศตวรรษที่ 21

ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลกสามารถระงับยับยั้งปัญหาอาชญากรรมให้ลดลงและควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดได้ ตรงกันข้ามกับประเทศไทย กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีการกล่าวถึงในระดับนานาชาติว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook