ฮอโลแกรม : ลักษณะเด่นที่ธนบัตรปลอมไม่มี

ฮอโลแกรม : ลักษณะเด่นที่ธนบัตรปลอมไม่มี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้ คำแนะนำสำหรับตรวจสอบความแตกต่างระหว่างธนบัตรจริงและฉบับปลอมทั้งการส่องดูลายน้ำ การสัมผัสความนูนของตัวอักษร การพลิกธนบัตรไปมาเพื่อดูการเปลี่ยน สีที่แถบโลหะและตัวเลข และการใช้อุปกรณ์เสริมอย่างแว่นขยายและหลอด แบล็กไลท์เข้ามาช่วย (อ่านรายละเอียดเพิ่ม เติมได้ที่ www.bot.or.th/thai/Banknotes/ Pages/howtocheck.aspx)

สำหรับคนที่ไม่มีอุปกรณ์เสริมและไม่มีเวลาที่จะหาซื้ออุปกรณ์เสริมมาช่วย ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการพลิกธนบัตรไปมาแล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนสีและมิติของฮอโลแกรม (Hologram) ที่อยู่ทางด้านซ้ายของธนบัตร ในบางครั้งจะเรียก ฮอโลแกรม บนแถบธนบัตรว่า แถบโลหะ เพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น

สำหรับธนบัตรฉบับจริง การพลิกธนบัตรไปมาจะเห็นแถบโลหะทางซ้ายของธนบัตรมีสีเปลี่ยน ไปหลากหลายสี ทั้งยังมีมิติของภาพบนแถบโลหะเกิดขึ้น

ในขณะที่ธนบัตรฉบับปลอมที่พิมพ์ด้วย เครื่องพิมพ์ทั่วไปตามโรงพิมพ์หรือใช้เครื่องพิมพ์สีไม่ว่าจะเป็นระบบอิงค์เจ็ตหรือระบบเลเซอร์ ภาพบนแถบโลหะ (แถบสีที่คล้ายโลหะ) จะไม่สามารถเปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนมิติเมื่อพลิกธนบัตรไปมาได้

...การสังเกตที่ฮอโลแกรม (แถบโลหะ) ช่วยยืนยันได้อย่างไร...

กระบวนการผลิตฮอโลแกรมต้องอาศัยหลักการแทรกสอดกันของแสงเลเซอร์ กระบวนการ ทางเคมีและระบบการพิมพ์ที่ต้องใช้ความร้อนและแรงดันที่เหมาะสม เพื่อสร้างรูปและมิติต่าง ๆ ให้เกิด ขึ้นตามความต้องการโดยไม่ต้องใช้น้ำหมึก ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับระบบหรือเครื่องพิมพ์ที่ใช้อยู่ทั่วไป

การแทรกสอดกันของแสงในขั้นตอนของ การผลิตฮอโลแกรมจะทำให้เกิดร่องที่มีขนาดไมโคร เมตร (เล็กกว่าเส้นผมของคนเรา) เกิดขึ้นมากมายและเมื่อแสงตกกระทบลงบนร่องขนาดเล็กเหล่านี้จะทำให้แสงเลี้ยวเบนออกมามีสีหรือมิติที่เปลี่ยนไปเมื่อเราพลิกฮอโลแกรม ดังนั้นฮอโลแกรมบนธนบัตร ฉบับจริงจึงเปลี่ยนสีและมิติเมื่อพลิกไปมา

ภาพขยายขนาด 1,000 เท่า ของแถบโลหะ ช่วยยืนยันได้ว่าฮอโลแกรมบนธนบัตรจริงมีร่องขนาดเล็กอยู่มากมายและไม่มีน้ำหมึกหรือผงหมึก อยู่เลย ในขณะที่ธนบัตรฉบับปลอมที่พิมพ์ด้วยวิธีการปกติจะมีน้ำหมึกปรากฏอย่างชัดเจน. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิวส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook