เปลี่ยนประเทศไทยด้วยความเร็วสูง

เปลี่ยนประเทศไทยด้วยความเร็วสูง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ข่าวดีคือ ผลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติใน 30,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ พบว่า ปี 2548-2550 อัตราการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มจาก 7.1 ล้านครัวเรือนเป็น 8.4 ล้านครัวเรือน และ 9.3 ล้านครัวเรือน มีอัตราการเติบโตราว 20% และ 10% ตามลำดับ

// //

ต่างจากยอดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในปี 2549 และ 2550 อยู่ที่ 52% และ 46% เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง นับเป็นเรื่องที่น่าฉงนสงสัย

หากไปถาม ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) คุณจะได้คำตอบว่า บรอดแบนด์เมืองไทยมันแพงไป

นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับไทยพบว่า หากรายได้ต่อครัวเรือนอยู่ที่ 100 บาท ไทยจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับบรอดแบนด์ที่ 11% ของรายได้ แพงไป แพงเกินจำเป็น เพราะราคาบรอดแบนด์ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อยู่ที่ 2% ของรายได้ต่อครัวเรือนเท่านั้น

อย่าเทียบกับ สิงคโปร์ หรือไต้หวันเลย เพราะสองประเทศนั้นค่าอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ อยู่ที่ 0.01% ของรายได้ครัวเรือน แทบจะใช้ฟรีก็ว่าได้

โจทย์หลักของไทยอยู่ที่ราคามันแพง คุณภาพการให้บริการบรอดแบนด์ยังไม่เข้าที่ ทำให้ผู้บริโภคคิดหนักก่อนเลือกใช้ นี่คือคำวิเคราะห์

ทางออกเพื่อดึงให้ผู้บริโภคหันมาใช้บรอดแบนด์มากขึ้น คือ ต้องสร้างการแข่งขัน ดึงผู้เล่นมาลงสนามบรอดแบนด์เพื่อพัฒนาคุณภาพ สร้างกลไกราคา ซึ่งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติสามารถทำได้ โดยการออกใบอนุญาตใหม่ ลดการผูกขาด

ดร.สมเกียรติ มองว่า อินเทอร์เน็ตความเร็งสูงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากความเร็วการรับข้อมูลที่สูงขึ้นกว่าการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มที่ความเร็วเพียง 56 กิโลบิตต่อวินาที (ในทางปฏิบัติไม่ถึงด้วยซ้ำ) ทำให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ เช่น การใช้งานมัลติมีเดีย

ช่วงที่น้ำมันแพง หลายองค์กรพยายามที่จะประยุกต์ใช้บรอดแบนด์ลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐอย่าง กระทรวงการคลัง ที่ทดลองให้พนักงานบางส่วนทำงานที่บ้าน หรือพีแอนด์จีที่ให้พนักงานทำงานที่บ้าน 1 วันต่อสัปดาห์

อาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เป็นสาธารณูปโภคที่จำเป็นไม่ต่างจากน้ำ ไฟ หรือโทรศัพท์

อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษาของเยาวชน เราจึงพยายามผลักดันให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ โดยการผลักดันให้เกิดเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นไวแมกซ์ และ 3จี นายอาจินกล่าว

นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ปีหน้าเศรษฐกิจคงกลับเข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพงอีกครั้ง ผู้บริโภคและภาคธุรกิจคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวังตัวมากขึ้น จะหวังให้ยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เพิ่มขึ้นเหมือนยุคเฟื่องคงยาก หากทางเดียวคือ ผู้ให้บริการต้องยอมลดค่าบริการลงมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเร็วบรอดแบนด์ที่คุยโตว่าเร็วปานสายฟ้าแลบ แต่กลับอืดอาดไม่สมราคา 599 บาทเลย บอกตรงๆ

ตะลุยข่าว - 388 ศพสึนามิ...ยังไม่ได้กลับบ้าน

แม้พิบัติภัยสึนามิจะผ่านพ้นไปแล้ว 4 ปี ทว่าภาพความเสียหาย การล้มตาย และสูญหายไปของคนอันเป็นที่รัก ยังคงติดตรึงอยู่ในใจเหมือนภาพฝันร้ายในคืนที่แสนยุ่งเหยิง หลายครอบครัวยังทำใจไม่ได้กับมหันตภัยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และธุรกิจ เสียงหวีดร้องโหยหวนและร่ำไห้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ยังคงก้องอยู่ในมโนสำนึก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook