อียู จัดสารประกอบนิกเกิลอยู่กลุ่มสารก่อมะเร็ง

อียู จัดสารประกอบนิกเกิลอยู่กลุ่มสารก่อมะเร็ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่าที่ประชุมABC Sub Committee on ได้ประชุมหารือกับ Ms. Paola di Discordia ตำแหน่ง Director EU Policy จากภาคอุตสาหกรรมนิคเกิล (European Nickel Industry Association: ENIA หรือ Nickel Institute) โดย Director EU Policy แจ้งถึงวัตถุประสงค์ที่อียู ได้ปรับเปลี่ยนการจัดประเภทสารประกอบนิกเกิลไปอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง (CMR) และชี้แจงถึงผลกระทบของการจัดกลุ่มใหม่ของสารนิคเกิลมีเพียงข้อ กำหนดในการปิดฉลาก (Labeling) ซึ่งไม่ใช่การห้ามใช้และจะไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ

ข้อมูลดังกล่าวได้ขัดแย้งกับข่าวที่เผยแพร่โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมเดนมาร์ก ที่ได้ระบุว่าสารประกอบนิกเกิลจะถูกห้าม (Banned)และจะต้องผ่านขั้นตอนเรื่อง SVHC / Candidate List และ Authorization ภายใต้ระเบียบ REACH ซึ่ง Nickel Institute เห็นว่าอียู ไม่มีข้อมูลและเหตุผลชี้ชัดในทางวิทยาศาสตร์แต่ใช้การอ้าง Derogation Statement จากคุณสมบัติที่พบในสารนิคเกิลบางกรณี รวมทั้งไม่ได้มีการทดสอบครบถ้วนทุกขั้นตอนตามวิธีการของ OECD สำหรับการจัดกลุ่มใหม่ของสารนิกเกิลดังกล่าวรวมทั้งข้อกำหนดในเรื่องนี้อาจจะไม่สอดคล้องกับ WTO TBT Consultation Process ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการค้าสำหรับการเพิ่มภาระ / ข้อจำกัดและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าที่มีสารนิกเหม่นี้อาจเป็น Precedent ที่อียูจะนำไปใช้กับสารตัวอื่นๆ ต่อไปในอนาคต ขณะนี้กลุ่มประเทศที่สาม ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย จีน แคนาดา รัสเซีย และบราซิล เป็นต้น ซึ่งมีผลผลิตนิกเกิลรวมกันมากกว่า 80% ของโลก ได้ร่วมลงนามถึงกรรมาธิการการค้ายุโรปเพื่อคัดค้านการดำเนินการของอียู โดยให้เหตุผลว่าขั้นตอนที่ ใช้ในการจัดกลุ่มใหม่ของสารนิคเกิลไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้น ฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ / ชอบธรรม (Not Sound Scientific Process)

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า อียูจัดเป็นประเทศผู้ใช้หลักของสารนิคเกิล ซึ่งตลาดนิกเกิลอียู ได้เติบโตในอัตรร้อยละ 30 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา และในปี 2007 EU มีปริมาณการใช้นิคเกิลประมาณ 19 พันล้านยูโรหรือมากกว่าร้อยละ 30 ของความต้องการนิคเกิลในโลก อียูจัดเป็นผู้ผลิตรายเล็กของอุตสาหกรรม Refined Primary Nickel(ประมาณร้อยละ 8ของผลผลิตโลก)และต้องนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย แคนาดานอรเวย์ และประเทศกำลังพัฒนาถึงร้อยละ 38 ของปริมาณความต้องการ สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการทำเหมืองแร่นิคเกิลในประเทศ เนื่องจากมีการพบในปริมาณเล็กน้อยไม่สามารถลงทุนในเชิงพาณิชย์ได้ อย่างไรก็ดีนิกเกิลในอุตสาหกรรม การทำโลหะผสม (Alloy)เพื่อใช้ผลิตสแตนเลส สตีล ( Stainless Steel) หรือโลหะผสมที่ต้องการความคงทนและการ กัดกร่อน ซึ่งมักใช้เป็นส่วนประกอบในสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แต่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นสองประเทศในอาเซียนที่ร่วมลงนามในหนังสือคัดค้านถึงกรรมาธิการการค้ายุโรปเพราะทั้งสองประเทศมีการทำเหมืองนิคเกิล และมีการลงทุนของต่างชาติในอุตสาหกรรมนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook