รายงาน- คนต่างชาติ-เหยื่อวิกฤติเศรษฐกิจกลุ่มแรกของญี่ปุ่น

รายงาน- คนต่างชาติ-เหยื่อวิกฤติเศรษฐกิจกลุ่มแรกของญี่ปุ่น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
หนุ่มวัย 28 ปีผู้นี้เป็นหนึ่งในชาวต่างชาติหลายพันคนที่กลายเป็นคนกลุ่มแรกๆ ในญี่ปุ่นที่สูญเสียงานจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ความต้องการรถยนต์ รถบรรทุก และมอเตอร์ไซค์ลดลง รวมทั้งลดกำลังการผลิตในประเทศ

การปลดคนงานครั้งนี้ยังเป็นหลักฐานชุดแรกที่แสดงให้เห็นว่าวิกฤติการเงินในสหรัฐและยุโรปกำลังสั่นคลอนตลาดแรงงานของญี่ปุ่นท่ามกลางลางสังหรณ์ว่า ปัญหานี้อาจยืดเยื้อและเลวร้ายลงไปอีก

// //

ซาเมชิมะ ซึ่งเคยเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ในบราซิล ต้องนั่งรอหลายชั่วโมงเพื่อขอสมัครงานกับสำนักจัดหางานของรัฐบาลในเมืองฮามะมัตสึ และเขายอมทำอะไรก็ได้เพื่อให้ได้เงิน

ช่วงวิกฤติอย่างนี้ คุณต้องยอมรับทุกอย่างที่เข้ามา ซาเมชิมะ ลูกหลานชาวญี่ปุ่นที่ไปตั้งรกรากในบราซิลเมื่อหลายสิบปีก่อน เผยด้วยความจนใจ ขณะกำลังอ่านใบประกาศรับสมัครงานคนทำอาหารกล่องขายในร้านสะดวกซื้อ

ที่ผ่านมา รัฐบาลไม่เคยนับจำนวนว่ามีชาวต่างชาติตกงานเท่าไร แต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น คนงาน และสำนักงานจัดหางานเผยว่า คนงานต่างชาติหลายร้อยคนถูกบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของประเทศอย่างโตโยต้า ฮอนด้า และ ยามาฮ่า ลอยแพ ขณะที่กระทรวงแรงงานและสาธารณสุขเผยว่า จำนวนชาวต่างชาติที่ไปขอความช่วยเหลือกับสำนักจัดหางานได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 1,500 คน ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดคนตกงานชาวญี่ปุ่นยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

คนเชื้อสายญี่ปุ่นจากต่างประเทศเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด พวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่ถูกไล่ออกเพียงเพราะเขาเป็นชาวต่างชาติ ทัตสึฮิโร อิชิกาวะ เจ้าหน้าที่ดูแลด้านแรงงานต่างชาติเผย ขณะที่ มาซาฮิโร โมริชิตะ จาก ฟูจิอาเตะ สำนักงานจัดหางานที่ว่าจ้างคนต่างชาติในเมืองฮามามัตสึ กล่าวว่า ยอดการผลิตรถยนต์ลดลง ดังนั้นจึงไม่มีอะไรให้ชาวต่างชาติทำต่อไปอีกแล้ว

ญี่ปุ่นเริ่มเป็นที่สนใจของแรงงานต่างชาติเมื่อ 15 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่แรงงานในประเทศขาดแคลนเพราะประชากรเริ่มสูงอายุมากขึ้น โดยจำนวนแรงงานต่างชาติได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นเท่าตัว โดยเปรียบเทียบเมื่อปี 2539 มีแรงงานถูกกฎหมายในญี่ปุ่นเพียง 3.7 แสนคน ขณะที่ปี 2549 มีแรงงานถูกกฎหมายถึง 755,000 คน เฉพาะแค่เมืองฮามามัตสึแค่เมืองเดียวก็มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ถึง 33,500 คน กว่าครึ่งเป็นชาวบราซิล หลายคนได้เข้ามาทำงานเป็นกรณีพิเศษ เพราะพวกเขามีบรรพบุรุษเป็นชาวญี่ปุ่น

แต่ถึงจะมีแรงงานหลั่งไหลเข้ามามาก แต่สถานภาพการทำงานของที่นี่กลับย่ำแย่ ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักจะถูกจ้างผ่านบริษัทว่าจ้างอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นจึงง่ายที่จะถูกไล่ออก พวกเขาอาศัยอยู่ในที่อยู่ของบริษัท ซึ่งหมายความว่า พวกเขาจะไม่มีที่อยู่หากไม่มีงานทำ และต้องหาทางไปอยู่บ้านเพื่อนหรือญาติที่อยู่นอกเมือง

ยิ่งกว่านั้น คนที่เป็นชาวต่างชาติจริงๆ จะยิ่งพบกับความยากเย็นเรื่องภาษาสื่อสาร

ในการหางานใหม่ พวกเขาจำเป็นต้องพูดภาษาญี่ปุ่น แต่จะว่าไป แม้แต่ชาวบราซิลที่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาจีนได้ยังตกงานเลยตอนนี้ อลิซ มิโฮ มิอิเกะ สมาชิกมูลนิธิเพื่อการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศกล่าว

ในพื้นที่นั่งรอของศูนย์จัดหางาน เฮลโล เวิร์ก เต็มไปด้วยชาวต่างชาติตกงานมากมาย ซาเมะชิมะ คือหนึ่งในนั้น เขาถูกไล่ออกจากงานเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา หลังจากที่เพิ่งเข้าทำงานได้เพียงแค่ 6 เดือน ที่โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งนอกจังหวัดนาโกยา

ผมมาญี่ปุ่นเพื่อหางานที่มั่นคง แต่โรงงานกลับหยุดการผลิต เพราะโตโยต้าที่เป็นผู้ซื้อหลักยกเลิกการซื้อ ซาเมะชิมะ ที่เดินทางมาถึงญี่ปุ่นเมื่อต้นปี 2550 เผยอย่างหัวเสีย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่นกำลังลำบาก โดยหุ้นของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป ก็ร่วงระนาวท่ามกลางรายงานว่าบริษัทไม่สามารถขายรถได้ตามเป้า ขณะที่ค่ายนิสสัน ผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 3 ของประเทศ ก็ประกาศลดการผลิตในประเทศ โดยหลังจากที่ถูกไล่ออก ได้เดินทางไปยังเมืองฮามามัตสึเพื่อทำงานกับโรงงานอีกแห่งหนึ่งเพียงเพื่อที่จะถูกปลดออกใน 2 สัปดาห์ต่อมา

มีแรงงานหลายคนที่ตัดสินใจทิ้งญี่ปุ่น โดยเฉพาะกลุ่มที่มาจากบราซิล ขณะที่ อากิฮิโกะ สุงิยามะ หัวหน้าศูนย์เฮลโล เวิร์ก ฮามะมัตสึ เผยว่า ขณะนี้มีงาน 2 งานที่น่าจะเหมาะกับ ซาเมะชิมะ แต่ได้ค่าจ้างน้อยกว่าที่เขาเคยทำได้ชั่วโมงละ 1,500 เยน (ราว 525 บาท) อยู่ราว 20-40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวซาเมะชิมะเองมีแผนที่จะเดินทางกลับบ้านในปลายปีนี้ ด้วยความหวังว่าจะสามารถหาทางสอบบรรจุเข้าเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเอกชนได้

แต่ใช่ว่าจะมีคนคิดหนีญี่ปุ่นไปทั้งหมด หนึ่งในนั้นคือ แดเนียลเล โทคูติ ว่าที่คุณแม่วัย 24 ปี ผู้เดินทางมาจากบราซิลพร้อมกับสามีเชื้อสายญี่ปุ่นเมื่อ 3 ปีก่อน เธอเพิ่งถูกไล่ออกจากงานพร้อมกับเพื่อนชาวต่างชาติอีก 40 คน เธอกำลังตั้งท้องได้ 8 เดือน และยังคงหวังว่าจะบรรลุความฝันของตัวเองด้วยการสร้างเนื้อสร้างตัวในญี่ปุ่นได้

ตอนนี้ถ้าอยู่ในบราซิล ทุกอย่างก็ไม่ได้เลวร้ายนักหรอก แต่ที่ญี่ปุ่น ฉันคิดว่าหากเราสามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ ทุกอย่างก็คงจะดีกว่าที่นั่นแน่ โทคูติกล่าวอย่างมีความหวัง

เสียงเล็กๆ นวันเด็กขอนายกฯช่วยคนไทยรักกัน

วันเด็กแห่งชาติปีนี้...ผู้ปกครองต่างพาบุตรหลานไปเที่ยวชมตามสถานที่ต่างๆ ที่เปิดเป็นพื้นที่ต้อนรับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ ทำเนียบรัฐบาล ที่เคยโอ่อ่ากว้างใหญ่ กลับแคบลงไปถนัดตา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook