ประมวล "ศัพท์ฮิต" เหตุการณ์น้ำท่วมไทยปี 54

ประมวล "ศัพท์ฮิต" เหตุการณ์น้ำท่วมไทยปี 54

ประมวล "ศัพท์ฮิต" เหตุการณ์น้ำท่วมไทยปี 54
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่คนไทยทุกคนไม่อาจลืมเลือนได้กับประวัติศาสตร์หน้าใหม่มหาอุทภัยน้ำท่วมประเทศไทยครั้งใหญ่ปี 2554 ซึ่งในช่วงเวลานี้เองคนไทยจะิคุ้นชินกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่บางคำเกิดขึ้นมาใหม่และบางคำก็เป็นคำเก่าแต่เพิ่งจะคุ้นหูกับถูกใช้บ่อยจากการรายงานข่าว  

ทีมข่าว S! News ในฐานะสื่อที่เกาะติดการรายงานสถานการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา จึงมีคำศัพท์ที่ใช้วนไปเวียนมาต่างกรรมต่างวาระต่างสถานที่แต่ถูกใ้ช้ในการรายงานข่าวทุกวัน ดูเหมือนจะวันละหลายรอบด้วย ทีมข่าวจึงขอประมวลเป็น "ศัพท์ฮิต" ช่วงน้ำท่วมปี 54  

 

 

 

คันกั้นน้ำพัง (อีกแล้ว)  คันกั้นน้ำที่เรา ๆ รู้จักนั้นมี 3 ประเภทด้วยกัน  หนึ่งคือ คันกั้นของกทม.ที่ได้มาตรฐานยากที่จะแตกนอกจากน้ำล้นเท่านั้น สอง คือ  คันกั้นของเอกชนที่สร้างมานานนับ 10 ปีแต่ไม่มีคุณภาพอยู่แทรกกลางระหว่างของกทม.  สาม คันกั้นน้ำแบบเฉพาะกิจ สร้างรายวันเพื่อยับยั้งน้ำไม่ให้ไหลผ่าน และช่วงสถานการณ์น้ำไม่ปกตินี่เอง เราจะได้ยินคำ่ว่าคันกั้นน้ำพัง เป็นข่าวรายวันแลยทีเดียว 

 

บิ๊กแบ็ก เป็นศัพท์ใหม่ีอีกเช่นกันที่คนไทยได้ยินในยุคนี้ พ.ศ.นี้ บิ๊กแบ็ก คือกระสอบทรายยักษ์ ที่มาของ บิ๊กแบ็ก มาจากไอเดียของพระวัดธรรมกายที่เริ่มนำมาใช้ในการป้องกันน้ำท่วมบริเวณวัด จากนั้นนวัตกรรมบิ๊กแบ็ำกได้ถูกนำมาใช้โดยภาครัฐ กองทัพได้นำกำลังพลเริ่มวางแนวบิ๊กแบ็กตั้งแต่ตำบลคลองหก ถึงสถานีรถไฟดอนเมือง ประหนึ่งว่าบิ๊กแบ็กคือความหวังของคนกรุงเทพฯ กลับกันก็เป็นความชอกช้ำของคนที่อยู่หลังคันบิ๊กแบ็ก เชื่อกันว่าผลจากการวาง บิ๊กแบ็ก นั้นช่วยชะลอน้ำไม่ให้ท่วมกรุงมากไปกว่าเก่า และผลจากการวางบิ๊กแบ็กนี้เองทำให้ประชาชนที่ได้รับความเืดือดร้อนพากันประท้วงให้รื้อออก กลายเป็นกรณีพิพาทในหลายพื้นที่ที่ผ่านมา 

 

เอาอยู่  เป็นวลียอดฮิตไปเลยสำหรับคำว่า "เอาอยู่" คำ ๆ นี้ต้นตอมาจากการใ้ห้สัมภาษณ์ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ และทีมงานของรัฐบาลที่เกี่ยวกับกับการดูแลเรื่องน้ำท่วม ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวล สามารถควบคุมสถานการณ์น้ำได้ "เอาอยู่" แน่นอน ซึ่งเพียงข้ามวันเท่านั้นคำว่า "เอาอยู่" จากการให้สัมภาษณ์ของนายกฯ กลายเป็นน้ำท่วมเกือบมิดหัว กระทั่งคำนี้กลายเป็นคำล้อเลียนไปทั่วประเทศ แม้แต่เสก โลโซ ยังหยิบวลีไปใช้กรณีเสพยาว่า "ผมเอาอยู่" แหม! ฮิตไม่เลิกจริง ๆ 

 

ศปภ.  คำนี้ถือเป็นคำที่เกิดใหม่ในปี 2554  ศปภ. คือศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ประชาชนคนไทยจะได้ยินคำว่า ศปภ.บ่อยและได้เห็นหน้าทีมงานของ ศปภ.ตลอดจนได้เห็นหน้าโฆษกของ ศปภ. ผลัดเปลี่ยนไม่ซ้ำเช่นกัน ซึ่งจากคำประกาศคำเตือนของ ศปภ. นี่เองในหลาย ๆ พื่นที่ที่บอกว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ แน่นอน ซึ่งทุกอย่างกลับคลาดเคลื่อนไปหมด น้ำไม่ท่วมกรุง แต่เมืองก็จมมิดชนิดอก เอว มิดหัวปรากฏให้เห็นก็หลายพื้นที่ เรียกว่าหลัง ๆ ศปภ.ออกแถลงการณ์ประชาชนมักไม่ให้ความเชื่อถือเท่าไหร่ จนกลายเป็นการล้อเลียนเปลี่ยนชื่อของ ศปภ. ให้ใหม่ เป็น "ศูนย์ไร้ประสิทธิภาพป้องกันอุทกภัย"  "ศูนย์เปลี่ยนแปลงข้อมูลจนไม่รู้สึกปลอดภัย" "ศูนย์ปกปิดภัยพิบัติแห่งชาติ"  เชื่อว่าคนไทยจะจดจำชื่อของ ศปภ.ไปอีกนานเลย 

 

หัวน้ำ  ลุ้นระทึกกับคำนี้กันทั้งประเทศ ยิ่งช่วงเวลาที่น้ำบุกยึดกทม.แล้ว สื่อต่าง ๆ ตามติดสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดชนิดวันต่อวัน ชั่วโมงต่อชั่วโมงเลยทีเดียว ประชาชนใจระส่ำ เช็คข่าวกันถี่ยิบว่า หัวน้ำ อยู่ตรงจุดไหนบริเวณใดและคืบมาถึงบ้านตนเองหรือยัง 

 

อพยพ ,ขนของขึ้นที่สูง  เป็นคำฮิตในการรายงานข่าวมากอีกหนึ่งคำ และเป็นคำที่ทำให้ประชาชนแอบเซงไปก็เยอะ เพราะกทม.เล่นประกาศให้ขนของขึ้นที่สูงและอพยพกันเป็นรายวันเลยทีเดียว ประกาศผิดบ้างพลาดบ้างก็มีปรากฏให้เห็นกันมาแล้ว ยิ่งช่วงเดือนพฤศจิกายนกทม.ประกาศให้ประชาชนอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงในแต่ละเขตเกิดขึ้นทุกวัน จนคนกรุงเทพฯ แทบจะชินและไม่ตระหนกตกใจกันเท่าไหร่แล้ว เนื่องจากทุกคนได้คำนวณและคาดการณ์ด้วยตนเองแล้วว่า บ้านที่ตนเองอาศัยอยู่นั้นท่วมแน่นอน หลายคนจึงอพยพออกไปก่อนที่กทม.จะประกาศเสียด้วยซ้ำ  

 

ระดับน้ำ ช่วงที่ศปภ. กทม. ประกาศว่ามวลน้ำก้อนใหญ่นั้นบุกเข้ากรุงแน่นอน เป็นชั่วโมงที่ประชาชนคนไทยต่างพาเช็คกันให้วุ่นวาย ระดับน้ำในคลองใกล้บ้านระดับไหน คำว่าระดับน้ำในคลอง กลายเป็นศัพท์ที่อยู่ใกล้ตัวคนกรุงมากขึ้น เป็นสิ่งใหม่ที่หลายคนให้ความสนใจมากกว่าปกติ เพราะระดับน้ำในคลองยิ่งปริ่มตลิ่งเท่าไหร่ มันยิ่งบีบหัวใจมากเท่านั้น  

 

น้องน้ำ  เป็นศัพท์ที่เรียกแทนน้ำท่วมและกำลังลุกคืบไปยังพื้นที่อื่น บ้างก็นิยามให้เป็น ป้าน้ำ เพราะีหัวน้ำไหลผ่านย่านหลักสี่มาแล้ว บ้างก็เปรียบเปรยเป็นเรื่องเป็นราว จดหมายจากน้องน้ำถึงพี่กรุง คำต่อว่าต่อขานของน้องน้ำกับน้องทราย กลา่ยเป็นเรื่องขำขำรับสถานการณ์น้ำท่วมกันไป

 

น้ำกระฉอก  เป็นศัพท์เก่าที่นำมาเล่าใหม่ในช่วงสถานการณ์ำน้ำท่วม  น้ำกระฉอกเป็นการพูดถึงระดับน้ำที่คาดการณ์ว่าจะสูงสุดและอาจล้นระดับคั้นกั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมบางจุดนั้น ซึ่งท่านปราโมทย์ ไม้กลัด ที่ปรึกษาพิเศษของผู้ว่าฯ กทม. นิยามให้เป็นเพียงแค่ "น้ำกระฉอก" จากนั้นท่่านนายกฯ ยิ่งลักษณ์ได้หยิบมาใช้ในการให้สัมภาษณ์สื่อ กลายเป็นว่าหลายคนนำไปเปรียบเปรยเชิงประชดประชันว่า น้ำกระฉอก คาดคงกระฉอกแรงไปหน่อยน้ำจึงอยู่ระดับเข่า ระดับเอวในบางพื้นที่ 

 

มวลน้ำก้อนใหญ่ เป็นศัพท์ที่น่าสะพรึงกลัวมาก ช่วงเกิดมหาอุทกภัยใหม่ ๆ เพราะประชาชนคนไทยไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่ามวลน้ำก้อนใหญ่นั้นจะบุกเข้าจู่โจมพื้นที่ใดบ้าง ยิ่งผู้เชี่ยวชาญออกมาบอกว่ามวลน้ำก้อนใหญ่นี้มีปริมาณเท่ากับเขื่อนภูมิพล มีภาพถ่ายจากดาวเทียมมายืนยัน สื่อเริ่มรายงานข่าวมวลน้ำก้อนใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งคนไทยเริ่มสนิทสนมและคุ้นเคยกับคำว่ามวลน้ำก้อนใหญ่ รอว่าเมื่อไหร่จะเยี่ยมเยือนเท่านั้นเอง  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook