นาซ่าเปิดเผยรายงานนาทีมรณะของลูกเรือยานโคลัมเบีย

นาซ่าเปิดเผยรายงานนาทีมรณะของลูกเรือยานโคลัมเบีย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
(31ธ.ค.) องค์การบริหารอวกาศและการบินสหรัฐฯ หรือ นาซ่า เปิดเผยรายงานฉบับใหม่หนา 400 หน้า เมื่อวันอังคาร เกี่ยวกับนาทีมรณะของยานขนส่งอวกาศโคลัมเบีย ที่เกิดระเบิดกลางอากาศเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธุ์ ปี 2546 ขณะเดินทางกลับจากภารกิจในอวกาศ ซึ่งสาเหตุเกิดจากมีรูที่ปีกซ้ายของยานซึ่งเกิดจากการถูกกระแทกโดยชิ้นส่วนของฉนวนโฟมในช่วงการส่งยานขึ้นสู่อวกาศนำไปสู่การจบชีวิตของนักบินอวกาศทั้ง 7 คน รายงานระบุด้วยว่าความจำกัดของที่นั่ง รวมทั้ง ชุดและหมวกรับแรงดันที่ลูกเรือสวมอยู่ล้วนทำงานไม่ดี นำไปสู่อาการบาดเจ็บถึงขั้นเสียชีวิตของลูกเรือ ในขณะที่ยานซึ่งเสียการควบคุม สูญเสียแรงดันและแตกออก คร่าชีวิตลูกเรือทั้ง 7 คน ซึ่งประกอบด้วยผู้ชาย 5 คน ผู้หญิง 2 คน

รายงานระบุด้วยว่ามีลูกเรือผู้ชายอย่างน้อย1 คนที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้กดปุ่มต่างๆอยู่นานครึ่งนาทีหลังมีสัญญานเตือนภัยครั้งแรกดังขึ้น ในขณะที่เขาพยายามอย่างไร้ประโยชน์ที่จะพายานให้รอดพ้นจากหายนะ ซึ่งรายงานยอมรับว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะทำได้ในช่วงนั้นเพื่อให้พวกเขารอดชีวิต แต่นาซ่าคาดหวังว่า รายละเอียดในรายงานจะช่วยวิศวกรให้ออกแบบยานอวกาศชนิดใหม่ที่จะมาเปลี่ยนแทนยานขนส่งอวกาศในอนาคต ให้สามารถช่วยชีวิตลูกเรือได้ดีกว่าเดิมในกรณีเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งการที่ทีมภายในทีมหนึ่งของนาซ่าเสนอแนะการเปลี่ยนแปลง 30 รายการจากกรณีของยานโคลัมเบีย ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับหมวกและชุดรับแรงดันกับเข็มขัดรัดติดกับที่นั่ง

// //

รายงานฉบับใหม่นี้ได้เรียงลำดับ 5 สาเหตุที่ล้วนแต่สามารถทำให้ลูกเรือเสียชีวิต ประกอบด้วยการสูญเสียแรงดันอากาศในห้องนักบินก่อนที่ห้องจะระเบิด,ร่างกายของลูกเรือซึ่งหมดสติหรือเสียชีวิตไปแล้ว กระแทกเข้ากับสิ่งของต่างๆที่อยู่ในโมดูล ,ร่างกายของลูกเรืออาจกระเด็นออกจากที่นั่งและหลุดออกนอกโมดูล ,การเผชิญกับสภาพใกล้สูญญากาศที่ระดับความสูงแสนฟุต และการตกกระแทกกับพื้นโลก

ตะลุยข่าว - 388 ศพสึนามิ...ยังไม่ได้กลับบ้าน

แม้พิบัติภัยสึนามิจะผ่านพ้นไปแล้ว 4 ปี ทว่าภาพความเสียหาย การล้มตาย และสูญหายไปของคนอันเป็นที่รัก ยังคงติดตรึงอยู่ในใจเหมือนภาพฝันร้ายในคืนที่แสนยุ่งเหยิง หลายครอบครัวยังทำใจไม่ได้กับมหันตภัยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และธุรกิจ เสียงหวีดร้องโหยหวนและร่ำไห้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ยังคงก้องอยู่ในมโนสำนึก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook