ณัฏฐ์พร้อมแจงภาพโป๊กมธ.-ผู้ตรวจการฯอัดกดบัตรแทนถึงถอด

ณัฏฐ์พร้อมแจงภาพโป๊กมธ.-ผู้ตรวจการฯอัดกดบัตรแทนถึงถอด

ณัฏฐ์พร้อมแจงภาพโป๊กมธ.-ผู้ตรวจการฯอัดกดบัตรแทนถึงถอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายณัฐฏ์ บรรทัดฐาน ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ได้รับโทรศัพท์แจ้งแล้วว่า ในวันนี้เวลา 10.00 น. ให้เข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร กรณีมีการดูภาพไม่เหมาะสมในโทรศัพท์มือถือ ระหว่างการประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งส่วนตัวพร้อมที่จะชี้แจงตามที่ได้รับประสานมา ในทุกประเด็นที่มีการซักถาม เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ใจ ทั้งนี้ไม่รู้สึกหนักใจ เพราะข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่ได้แถลงไปอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม นายณัฐก์ ได้กล่าวยืนยันว่า ในเบื้องต้นการตัดสินใจทางการเมืองของตนเอง ก็ยังคงเหมือนเดิม ผู้ตรวจการฯพร้อมสอบกดบัตรแทน บอกเรื่องใหญ่นายศรีราชา เจริญพานิช กรรมการผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ผู้ตรวจการพร้อมตรวจสอบ กรณีการกดบัตรแทนกันของ ส.ส.ในที่ประชุมรัฐสภา แต่ต้องมีผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนมาก่อน โดยจะถือเป็นความผิดทางจริยธรรมถือเป็นเรื่องใหญ่ เกิดขึ้นมานานแล้วในรัฐสภา และยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งถ้าหากเข้าข่ายความผิดร้ายแรง อาจถึงขั้นถอดถอนออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะต้องมีการประชุมกันก่อนว่า มีลักษณะความผิดอย่างไร และหากร้ายแรงจริง ตามขั้นตอน ผู้ตรวจการก็จะยื่นต่อกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้อย่างไรก็ตาม กรณีการดูภาพไม่เหมาะสมในที่ประชุมนั้น ยังไม่มีผู้ร้องเรียนมา และถ้าหากร้องเรียนมา ผู้ตรวจการก็พร้อมตรวจสอบด้วย นายศรีราชา  กล่าวด้วยว่า กรณีที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย นำคลิปภาพภาพกดบัตรแทนกันของ ส.ส.ในสภา มาเปิดเผย และเตรียมที่จะยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้น ถือว่าเป็นการดำเนินการที่ผิดขั้นตอน เพราะว่าตัวบุคคลไม่สามารถที่จะยื่นฟ้องผ่านศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้ แต่ต้องให้ องค์กรอิสระ เป็นผู้ยื่นแทนดังนั้น แนวทางที่ นายชูวิทย์ ควรดำเนินการคือ ต้องยื่นผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินโดยตรง หรือ ผ่านกรรมาธิการกิจการสภา เพื่อให้มีการสอบจริยธรรม ส่งเรื่องมาให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ต่อไป จึงจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง ซึ่งทางผู้ตรวจการนั้น พร้อมที่จะเข้าไปตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว รอเพียงมีผู้ร้องเรียนมาเท่านั้นทั้งนี้ ศ.ศรีราชา กล่าวทิ้งท้ายว่า หากมีผู้ร้องเรียนมาแล้ว และตรวจสอบพบว่า มีความผิดจริง แต่หากไม่ร้ายแรง ก็ต้องมีการว่ากล่าวตักเตือนกันไป แต่หากมีความเห็นว่า ร้ายแรง ก็จะต้องส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการต่อ และหากมีความเห็นเหมือนกัน ก็จะต้องยื่นให้ วุฒิสภา เป็นผู้ถอดถอน โดยใช้เสียง 3 ใน 5 ต่อไป 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook