ถกแบงก์รับมือความเสี่ยง

ถกแบงก์รับมือความเสี่ยง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในปี 52 ธปท. มี ความเป็นห่วงการชำระหนี้ของผู้กู้ลดลง เนื่องจาก ปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก ซึ่งเห็นได้จากการผิดนัดชำระหนี้ของสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตเริ่มมีสัดส่วนที่สูงขึ้นทำให้ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดย ธปท. จะติดตามข้อมูลดังกล่าว เป็นรายเดือน และในช่วงต้นปีใหม่นี้จะเรียกธนาคารพาณิชย์มาหารือเกี่ยวกับแผนดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ว่ามีอะไรบ้าง โดยเฉพาะเรื่องการปล่อยสินเชื่อ และความเสี่ยงเศรษฐกิจ ตลอดจนแผนการตั้งรับของธนาคารพาณิชย์

สำหรับแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อในปีั้น ธนาคารจะระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้สภาพคล่องตึงตัว เนื่อง จากธนาคารเกรงว่าเมื่อปล่อยสินเชื่อไปแล้วจะไม่สามารถเรียกหนี้คืนได้และอาจส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลในระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งตัวเลขเอ็นพีแอลในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมายังไม่หักกันสำรองขยายตัวอยู่ที่ 6% และเอ็นพีแอลที่หักกันสำรองขยายตัวอยู่ที่ 3% ส่วนปีนี้เอ็นพีแอลจะสูงขึ้นมากน้อยแค่ไหนนั้นจะต้องรอดูตัวเลขเอ็นพีแอลในเดือน ธ.ค.นี้ ก่อนว่าเป็นอย่างไร

ทั้งนี้เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะดูแลในเรื่องเอ็นพีแอลอยู่แล้ว เพราะหากมีเอ็นพีแอลมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในด้านฐานะทางการเงินของธนาคารพาณิชย์มีความแข็งแกร่งมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงหรือบีไอเอสเฉลี่ยอยู่ที่ 17.5% สูงกว่าเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนดไว้ที่ 8.5%

ธนาคารพาณิชย์ เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ เพราะธนาคารพาณิชย์ เริ่มกลัวในเรื่องความเสี่ยง แต่ถ้ามีหน่วยงานรัฐ เช่น ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ ธพว. และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เข้ามาค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ กล้าปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการมากขึ้น.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook