เชลล์ชูรหัส 3-2-1-6-5 แผนบริหารพลังงานรับมืออนาคต

เชลล์ชูรหัส 3-2-1-6-5 แผนบริหารพลังงานรับมืออนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
จึงมุ่งมองหาพลังงานทดแทนอย่างจริงจังมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีราคาน้ำมันกลับดิ่งลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงสิ้นปี 2551 ราคาน้ำมันกลับมาอยู่ที่ระดับ 40-50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลอีกครั้ง จึงน่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อยว่าผู้คนจะยังตระหนักถึงประสิทธิภาพและนโยบายในการประหยัดพลังงานอยู่อีกหรือไม่ เพื่อไม่ให้อนาคตต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติพลังงานอีกครั้ง

ขณะที่บริษัทระดับโลกที่อยู่ในอุตสาหกรรมพลังงาน ตั้งแต่การสำรวจและขุดเจาะไปจนถึงการขายปลีกน้ำมันอย่าง เชลล์ ได้มีการระดมสมอง เพื่อประเมินโครงสร้างของพลังงานในอนาคต และรับมือกับสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดย ธีรพจน์ วัชราภัย ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์ในประเทศไทย จำกัด ระบุว่า เชลล์มองว่าอีก 50 ปี โครงสร้างของพลังงานจะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันนี้เยอะมาก ซึ่งสิ่งที่จะทำให้ 5 ปีข้างหน้าจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงอีก 40 ปีข้างหน้าว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ดังนั้น การกระทำจากนี้ไปจึงเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกทิศทางแนวโน้มในอนาคต

// //

ในอนาคตพลังงานทดแทนใหม่ๆ จะสำคัญมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้เป็นพลังงานหลัก โดยน้ำมันยังมีความสำคัญอยู่ แต่เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงมาก ก็จะทำให้เราเห็นรถที่ให้พลังงานไฟฟ้าบนถนนมากขึ้น ซึ่งนอกจากการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพแล้ว เรื่องมลภาวะก็เป็นเรื่องสำคัญในอนาคต

ระดมสมองประเมินแนวโน้ม

การระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญของเชลล์ทั่วโลก ทำให้เกิดแนวทางรองรับที่เรียกว่า เชลล์ เอ็นเนอร์ยี่ ซีนาริโอ (Shell Energy Scenarios) โดยใช้ปี ค.ศ. 2050 หรือปี พ.ศ. 2593 ประมาณอีก 42 ปีข้างหน้ามาเป็นเกณฑ์หลัก เพื่อประเมินสถานการณ์ และใช้กับการวางแผน ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นรหัสผ่านตัวเลข 3-2-1-6-5

รหัสแรกเลข 3 มาจาก 3 ข้อเท็จจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่

1.ความต้องการใช้พลังงานมากขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นบนโลกใบนี้ โดยเชลล์ประเมินว่าในปี ค.ศ. 2050 ประชากรจะอยู่ที่ 9 พันล้านคน และการพัฒนาของเทคโนโลยีจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตขึ้น ซึ่งทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มเป็น 2 เท่าจากที่ในปีนี้ความต้องการใช้อยู่ที่วันละ 160 ล้านบาร์เรล จะเพิ่มขึ้นเป็น 320 ล้านบาร์เรลต่อวัน

2.แหล่งและปริมาณของพลังงานมีไม่เพียงพอกับความต้องการ แม้ว่าจะมีความพยายามใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ดังนั้น การหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่จะทำให้ปริมาณพลังงานมีเพียงพอ แต่คงต้องหันไปดูที่การบริหารความต้องการใช้ให้มีประสิทธิภาพ และควบคุมไม่ให้เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ขณะที่การมองหาแห่งพลังงานใหม่ก็มีต้นทุนสูงมากขึ้นด้วย

3.มลพิษที่จะชี้นำว่าพลังงานในอนาคตจะเป็นอย่างไร ซึ่จากอดีตถึงปัจจุบันทั้งโลกมีการปล่อยมลพิษเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ผลวิเคราะห์จากข้อเท็จจริงทั้ง 3 ด้าน ได้นำไปสู่รหัสเลข 2 นั่นก็คือเกิด 2 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกแรกเรียกว่า สแกรมเบิล (Scramble) คือ การที่ทุกประเทศทั่วโลกพยายามแย่งชิงแหล่งพลังงานมาไว้ในครอบครอง ทั้งการสนับสนุนการขุดเจาะในประเทศ หรือการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อนำปิโตรเลียมมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการพัฒนาพลังงานทางเลือกต่างๆ เช่น ถ่านหิน หรือเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เพราะทุกคนกลัวว่าพลังงานจะไม่เพียงพอ และเศรษฐกิจตกต่ำ

โชคดีที่มีวิกฤติตอนนี้ ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีใครพูดถึงการเพิ่มศักยภาพในการใช้พลังงานให้เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ไม่มีการบริหารความต้องการใช้ให้ลดลง มองแค่ว่าจะให้ราคาน้ำมันถูกลง ความต้องการก็เพิ่มขึ้น ทุกคนจะดูทางด้านแหล่งที่มากันหมด ต้องรอจนมีพลังงานไม่พอแล้วค่อยมาดูถึงการบริหารจัดการว่าจะลดความต้องการใช้อย่างไร เร่งออกกฎเกณฑ์มาบางทีไม่ได้คิดให้รอบคอบ ในระยะยาวจึงอาจมีปัญหา

ส่วนทางเลือกที่สอง คือ บลูพรินท์ (Blueprints) เป็นแผนงานที่เน้นการลดความต้องการใช้พลังงานมากกว่าการมุ่งหาแหล่งพลังงาน ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ และการสนับสนุนระบบขนส่งมวลชน ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งในเชิงของการค้าขายคาร์บอนไดออกไซด์ และการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อนำคาร์บอนไดออกไซด์ที่ออกมาไปเก็บใต้ดิน เพื่อที่จะทำให้คนสามารถอยู่ในโลกที่สมดุลได้ ซึ่งเป็นความหมายว่า เป็นโลกที่ผู้คนรู้เรื่องเกี่ยวกับพลังงานจึงได้มีแผนร่วมกันที่จะพยายามผนึกทางเลือกร่วมกันช่วยกันทำ

มุ่งหาพลังงานไม่ใช่ทางเลือกยั่งยืน

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเชลล์ ที่ตัดสินใจเลือกเดินทางใดทางหนึ่ง นั่นเป็นเพราะวิเคราะห์แล้วว่าการมุ่งแต่จัดหากำลังการผลิตใหม่ เพื่อรองรับความต้องการใช้อย่างเดียว ไม่ใช้ทางเลือกที่ยั่งยืนอีกต่อไป นี่คือความหมายของเลข 1

สำหรับรหัส 6 เกิดจากการเลือกบลูพรินท์ (Blueprints) โดยเน้นการปฏิวัติการใช้พลังงาน ควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางเลือกนี้คงต้องเดินไปพร้อมกับการสนับสนุนจากระดับนโยบายและหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล แนวทางดังกล่าวประกอบด้วย

1.การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

2.นำระบบค้าขายคาร์บอนไดออกไซด์และการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้ให้มากขึ้น

3.วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการใช้พลังงาน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ต้นทาง

4.เร่งผลิตพลังงานทดแทน โดยเฉพาะเชื้อเพลิงชีวภาพ

5.วิจัย และพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ

6.การสร้างแรงจูงใจให้การดำเนินการต่างๆ ประสบความสำเร็จ

กรอบดำเนินงาน 5 ปีข้างหน้า

ขณะที่รหัสตัวสุดท้าย 5 หมายถึง กรอบของเชลล์ที่จะทำใน 5 ปีข้างหน้า ประกอบด้วย

1.ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในทุกวิถีทาง ที่ผ่านมาเชลล์ทั่วโลกได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 1990 โดยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 20% และมุ่งหวังว่าในปี 2050 จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ถึง 90%

2.ลงทุนในระบบค้าขายคาร์บอนไดออกไซด์และการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศต่างๆ

3.ผลักดันพลังงานหมุนเวียนให้มากที่สุด ทั้งไฮโดรเจน พลังงานแสงอาทิตย์ ลมและเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยในต่างประเทศ เพื่อนำพืชที่ไม่ได้ใช้บริโภคมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง เช่น การนำเอนไซม์จากฟางข้าวมาผลิตเป็นเอทานอล นำสาหร่ายทะเลมาผลิตเป็นน้ำมัน หรือการวิจัยและพัฒนาไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง นอกจากนี้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้มีต้นทุนต่ำลง

4.เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้มีการผลิตรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงให้มากขึ้น เพราะสัดส่วนการใช้พลังงานทั่วโลก 27% อยู่ในภาคขนส่ง

5.ร่วมรณรงค์ให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยใช้พลังงานให้น้อยลง

ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนของประเทศต้องร่วมมือกันในการวาง Energy Scenarios เพราะเชื่อว่าการมีเส้นทางเดินที่ชัดเจน จะทำให้ประเทศในภาพรวมมีความพร้อม ขณะเดียวกันยังเป็นการตัดหนทางของปัญหาวิกฤติพลังงานที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าอีก นายธีรพจน์ กล่าวทิ้งท้าย

อาถรรพณ์นรกซานติก้า ที่ดินนี้มีตำนาน...เลือด!!!

จากที่ดินทำเลทองย่านเอกมัย เพียงชั่วข้ามคืนของวันแรกที่ย่างเข้าสู่ศักราชใหม่ปี 2552 กลับกลายเป็นสุสานของเหยื่อเพลิงนรก นำมาสู่การผูกโยงถึงความเชื่อของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับ สุสานซานติก้าผับ ด้วยความหวาดผวา และบอกเล่าถึงเรื่องราวอาถรรพณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงลางร้ายบอกเหตุที่อาจจะเป็นสาเหตุที่นำมาสู่โศกนาฏกรรมครั้งนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook