รายเล็ก-ร้านริมทางต้องปรับตัว

รายเล็ก-ร้านริมทางต้องปรับตัว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ทำให้ผู้ประกอบการจะต้องมีความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย โดยไม่คำนึงว่าความเสียหายนั้น เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องรับผิดต่อการพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้านั้น โดยบังคับใช้กับสินค้าสังหาริมทรัพย์ทุกชนิดที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อขาย รวมทั้งผลิตผลทางการเกษตรที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการ หรือสินค้าเกษตรปฐมภูมิ ด้วย

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ถือได้ว่าเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยของไทยเพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่มาตรฐานและความปลอดภัยสูงขึ้น

จากการพิจารณาผลกระทบในแต่ละกลุ่มของอุตสาหกรรมอาหาร พบว่า ผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดหรือผู้ที่ไม่ต้องปรับตัวมากนักต่อ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ ผู้บริโภค เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก ส่วน ผู้ผลิตรายใหญ่ ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมมากที่สุด เพราะให้ความสนใจในการผลิตสินค้าอาหารที่ปลอดภัยเพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศอยู่แล้ว โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายแบบเดียวกันนี้มาเป็นเวลานานแล้ว

// //

กิจการการค้าสมัยใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต และไฮเปอร์มาร์เก็ต ถือเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความพร้อมในการจำหน่ายสินค้าที่มีความปลอดภัย โดยคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่มีแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งกิจการการค้าสมัยใหม่มีความพร้อมอยู่แล้วจึงทำให้ได้เปรียบ

ขณะที่ ภัตตาคารหรือร้านอาหารที่มีชื่อเสียงนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เจ้าของต้องมีความพิถีพิถันในการจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ที่มีแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานหรือจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้มากขึ้น และธุรกิจประกันภัย จะมีช่องทางด้านการประกันภัยความรับผิดจากสินค้า ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อีกมากในอนาคต เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถป้องกันความเสี่ยงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้นได้ ด้วยการทำประกันภัยความรับผิดจากสินค้าได้

สำหรับผู้ที่ต้องเร่งปรับตัวรับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังมีเกษตรกร ร้านขายอาหารริมทางหรือบาทวิถี และหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งผลของกฎหมายฉบับนี้จะทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เกษตรกร ร้านขายอาหารริมทางหรือบาทวิถี ต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือการปรุงอาหารให้มีมาตรฐานความปลอดภัยและความสะอาดสูงขึ้น รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ดูแลการบังคับใช้ตามกฎระเบียบและการรับรองระบบต้องมีการเฝ้าระวัง การติดตาม การวิเคราะห์ สินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดอย่างเป็นระบบและจริงจังมากขึ้น

ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารในประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกับสินค้าที่ส่งออกนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลและมีบทบาทต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย

อาถรรพณ์นรกซานติก้า ที่ดินนี้มีตำนาน...เลือด!!!

จากที่ดินทำเลทองย่านเอกมัย เพียงชั่วข้ามคืนของวันแรกที่ย่างเข้าสู่ศักราชใหม่ปี 2552 กลับกลายเป็นสุสานของเหยื่อเพลิงนรก นำมาสู่การผูกโยงถึงความเชื่อของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับ สุสานซานติก้าผับ ด้วยความหวาดผวา และบอกเล่าถึงเรื่องราวอาถรรพณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงลางร้ายบอกเหตุที่อาจจะเป็นสาเหตุที่นำมาสู่โศกนาฏกรรมครั้งนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook