ผลแล็บสธ.ยันเด็ก2ปีตายมือเท้าปากพบป่วย14,000ราย

ผลแล็บสธ.ยันเด็ก2ปีตายมือเท้าปากพบป่วย14,000ราย

ผลแล็บสธ.ยันเด็ก2ปีตายมือเท้าปากพบป่วย14,000ราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

น.พ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ตัวเลขผู้ป่วยล่าสุด ที่ทางสำนักระบาดวิทยา รวบรวมในรอบที่ 56 ณ วันที่ 23 ก.ค. ปรากฏว่า มีตัวเลขพุ่งจากเดิมมาเป็นกว่า 14,000 คนแล้ว โดยส่วนหนึ่ง มีอาการของโรคอื่นแทรกซ้อนด้วย ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะอาการจะหนักกว่าปกติ ซึ่งตัวเลขดังกล่าว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าสูงกว่าปกติ ส่วนกรณีเด็ก 2 ขวบครึ่ง เสียชีวิตที่ ร.พ.นพรัตนราชธานี นั้น ผลแล็บของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ออกมาแล้ว แต่ยังเป็นที่ถกเถียงว่า เสียชีวิตจากสาเหตุโรคเมือ เท้า ปาก ใช้หรือไม่ เพราะมีความคลาดเคลื่อนในการตรวจครั้งแรกกับครั้งที่ 2 แต่ตนเองเชื่อว่าเด็กคนดังกล่าวเสียชีวิตจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส แน่นอน โดยในวันพรุ่งนี้ ทางคณะกรรมการโรคมือเท้าปาก จะมีการประชุม สรุปสถานการณ์ของโรคอีกครั้ง และมีวาระผลแลบของเด็ก 2 ขวบด้วย  สาธิตจุฬาฯประถมเปิดเรียนวันแรกหลังมือเท้าปากระบาด รายงานข่าวจากฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงเรียนสาธิตแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ว่า ในวันนี้ (23 ก.ค.) ทาง ร.ร. ได้เปิดทำการเรียนการสอนตามปกติแล้ว หลังจากที่ปิดมาตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา หลังจากพบมีเด็กป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ทั้งนี้ ก็พื่อเป็นการสกัดกั้นการแพร่เชื้อ และทำความสะอาดห่องเรียน อุปกรณ์ และอื่นๆ ที่อาจเป็นพาหะให้เด็กป่วยได้ และในเช้าวันนี้ ทางแพทย์ของ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ได้เดินทางตรวจสุขภาพของเด็ก อีกครั้งหนึ่งด้วย และยืนยัน ขณะนี้ เด็กนักเรียนของ ร.ร. ไม่มีใครป่วยเป็นโรคเมือ เท้า ปากแล้ว อย่างไรก็ตาม จะต้องเฝ้าระวังต่อไปจนกว่าสถานการณ์โรคนี้จะคลี่คลาย กรมควบคุมโรคย้ำมือเท้าปากไม่แรงปิดร.ร.หมดไม่ได้ น.พ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ยืนยัน สายพันธุ์เชื้อโรคเอนเทอเรไวรัส ต้นเหตุของโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ไม่รุนแรง มีมานานกว่า 50 ปีแล้ว แต่คนตื่นตระหนกเพราะเรื่องการระบาดที่กัมพูชา สธ. ก็สั่งเฝ้าระวังเต็มที่ โดยเฉพาะในโรงเรียน ถือว่าตอนนี้ ได้ผลมากขึ้น เพราะได้รับความร่วมมือดีขึ้น เพื่อเป็นการตัดวงจรการแพร่เชื้อโรค ส่วนกรณีที่ว่า จะประสานปิดฌรงเรียนไปเลย แม้ยังไม่มีเด็กป่วยนั้น คงทำไม่ได้ เพราะจะกระทบหลายด้าน แต่ยืนยันว่า มาตรการที่ทำอยู่ทุกวันนี้ดีอยู่แล้ว ซึ่งการระบาดในช่วงนี้ถือว่าเป็นธรรมชาติของโรคนี้ ห้ามไม่ให้ระบาดทำไม่ได้แน่ แต่จะทำอย่างไรให้ป่วยน้อยที่สุด  อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ส่วนอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้มีแค่ 2 ต่อ 10,000 คน เท่านั้น และยืนยันว่า หากนำตัวมารักษาแต่เนิ่นๆ โอกาสที่จะเสียชีวิต น้อยมาก ร.พ.กาฬสินธุ์บิ๊กคลีนนิ่งป้องกันมือเท้าปาก นายแพทย์สมอาจ ตั้งเจริญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ นำแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ซึ่งเป็นการทำความสะอาดสถานที่ต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลครั้งใหญ่ ตามโครงการสะอาด ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง นำคู่มือออกแจกจ่ายและแนะนำวิธีการดูแลบุตรหลาน ป้องกันโรคมือ เท้า ปาก หลังจากพบเด็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง ปัจจุบันทั่วทั้งในจังหวัดกาฬสินธุ์แล้ว 135 รายผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ กล่าวว่า กิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ครั้งนี้ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์จัดขึ้น เพื่อให้สถานที่ต่าง ๆ ในโรงพยาบาล มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด สวยงาม ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายนอกให้เป็นตัวอย่างแก่ชุมชน และที่สำคัญยังเป็นการป้องกัน ยับยั้งเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ซึ่งประเทศไทยพบเด็กป่วยแล้วในหลายพื้นที่ แต่สำหรับในโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ล่าสุด ยังไม่พบผู้ป่วย ทั้งนี้ จากข้อมูลทั่วทั้งจังหวัดมีผู้ป่วยแล้ว 135 ราย ดังนั้น โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จึงต้องร่วมกันทำให้สถานที่สะอาด ปลอดเชื้อโรคทุกชนิด กทม.เผยคนกรุงป่วยมือเท้าปากเฉียด3พันคน นายวสันต์ มีวงษ์ โฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ถึงสถานการณ์โรคมือเท้าปากในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า ข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 23 กรกฎาคมนี้ พบผู้ป่วยสะสมแล้ว จำนวน 2,979 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 53.49 ต่อประชากร 1 แสนคน ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยเขตที่มีอัตราป่วยมากที่สุดคือ เขตหลักสี่ รองลงมาคือ เขตทวีวัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 4 ปี ซึ่งกรุงเทพมหานคร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโรคมือเท้าปากกรุงเทพมหานคร โดยมี แพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ เป็นประธาน พร้อมทั้งการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคมือเท้าปาก และจัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามสถานการณ์ แนวทางการปฏิบัติ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรค ด้วยการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่เสี่ยง การแยกผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยว่าเป็นโรค การดูแลรักษาความสะอาด และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบ คาดว่า สถานการณ์โรคดังกล่าวจะเริ่มคลี่คลายหลังเดือนสิงหาคม เป็นต้นไป พิษณุโลกพบเด็กป่วยเชื้อเอนเทอโรไวรัส3ราย สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ใน จังหวัดพิษณุโลก ขณะนี้ยังพบผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ได้ทำการตั้งวอร์รูม เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จากข้อมูลการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก พบว่า มีรายงานผู้ป่วยสะสมรวมทั้งสิ้น 287 ราย พื้นที่ ที่พบผู้ป่วยมากที่สุด ยังคงเป็น อำเภอเมือง ที่มียอดผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น 134 ราย ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 122 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ กลุ่มอายุ ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงอายุ 4 ปี นอกจากนี้ ยังมีรายงานเพิ่มเติมว่า ที่ อำเภอชาติตระการ มีการตรวจพบยืนยันเชื้อ จากการส่งตัวอย่างไปตรวจหาเชื้อที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่าเป็นผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 จำนวน 3 ราย ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต อย่างไรก็ตาม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ ได้ออกให้ความรู้ และทำความเข้าใจ กับโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ที่มีเด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากๆ ให้ทางเจ้าหน้าที่และบุคลากร รับทราบถึงสถานการณ์การระบาดของโรค รวมถึงแนวทางการป้องกัน และควบคุมโรคในโรงเรียนแล้ว สธ. ออกประกาศ เรื่องโรคมือเท้าปาก ฉ.1 ตามที่มีรายงานเรื่อง โรคมือ เท้า ปาก ระบาด กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จึงออกมาตรการเพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค รัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ให้ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เน้นการรักษาความสะอาดและสุขอนามัย โดยเฉพาะในศูนย์เด็กเล็ก สถานศึกษาและชุมชน โดยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก และการป้องกันโรคแก่ประชาชน โรคมือ เท้า ปาก มักเกิดในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี พบได้น้อยในเด็กโต หรือ ผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด ในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส ลักษณะอาการป่วย คือ จะมีไข้ มีจุด หรือ ผื่นแดงในปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้มและเกิดผื่นแดง ซึ่งต่อมาจะเกิดเป็นตุ่มพองใส บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และที่ก้น บางรายอาจไม่มีตุ่มพอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง ใน 7-10 วัน โรคนี้จะรักษาตามอาการ ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-2 อาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น มีอาการทางสมอง หรือ อาการในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่วนใหญ่รักษาหายได้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต ซึ่งมักเกิดจากเชื้อไวรัสบางตัว เช่น เชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 เชื้อโรคมือ เท้า ปาก อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากตุ่มพอง และแผลในปากของผู้ป่วย เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางปาก โดยติดมากับมือ หรือ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หรือ ติดจากการไอ จามรดกัน จึงอาจติดต่อกันได้ง่ายในสถานที่ ที่มีเด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล กระทรวงสาธารณสุข จึงแนะนำให้ทำความสะอาดอย่างละเอียด ทั้งสถานที่ ภาชนะที่ใช้ร่วมกัน และควรตรวจคัดกรองเด็กทุกวัน หากพบเด็กมีไข้ หรือ มีอาการน่าสงสัยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรให้เด็กหยุดเรียน หากสังเกตว่าเด็กมีอาการมากขึ้น เช่น มีไข้สูง เป็นแผลในปาก ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น หอบเหนื่อย อาเจียน ชัก ให้รีบนำไปพบแพทย์ ทั้งนี้ หากมีเด็กป่วยเพิ่มขึ้น ให้พิจารณาปิดสถานศึกษา เพื่อทำความสะอาดและป้องกันการระบาด ตามแนวทางที่สาธารณสุขแนะนำ สำหรับประชาชนทั่วไป ควรรักษาความสะอาด ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย สังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบว่าดังมีอาการตามที่กล่าวมา แม้จะไม่มีผื่นขึ้นก็ตาม ควรรีบนำไปพบแพทย์ หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปอยู่ในที่ชุมชนสาธารณะ หรือที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค ขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยกันควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข  
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook