เท็กซัส ประกาศภาวะฉุกเฉิน ไวรัสเวสต์ไนล์ ระบาดคร่าชีวิต 14 ราย

เท็กซัส ประกาศภาวะฉุกเฉิน ไวรัสเวสต์ไนล์ ระบาดคร่าชีวิต 14 ราย

เท็กซัส ประกาศภาวะฉุกเฉิน ไวรัสเวสต์ไนล์ ระบาดคร่าชีวิต 14 ราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกเทศมนตรีเมืองดัลลัส เมืองใหญ่อันดับ 9 ประเทศ ในรัฐเท็กซัสของสหรัฐฯ ประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังพบการระบาดของเชื้อไวรัสเวสต์ ไนล์ (West Nile)

สำนักงานสาธารณสุขรัฐเทกซัส ของสหรัฐ เปิดเผยว่า ขณะนี้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสเวสต์ไนล์ ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 14 ราย ซึ่งมีรายงานว่า นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสนี้แล้ว 465 คน ส่วนพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดรุนแรงที่สุด คือเมืองดัลลัส ล่าสุดนายกเทศมนตรีต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่น หลังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อ 128 รายและเสียชีวิตไปแล้ว 9 คน

เว็บไซต์ของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อกล่าวว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา พบรายงานการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา หลังจากได้รับรายงานครั้งแรกในสหรัฐฯเมื่อปี 1999 โดยได้รับรายงานอาการป่วยในมนุษย์แล้วกว่า 693 ราย โดยมากกว่าครึ่งอยู่ในรัฐเท็กซัส และพบผู้เสียชีวิตในรัฐเดียวกันนี้ที่ได้รับการยืนยันแล้ว 14 ราย จาก 26 รายทั่วประเทศ

การประกาศภาวะฉุกเฉินเท่ากับเป็นการเปิดทางให้มีการพ่นสเปรย์ฆ่ายุง ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อในเมืองดัลลัส เช่นเดียวกับที่นครนิวยอร์ก หลังมีการพบผู้ติดเชื้อที่เกาะสตาเทนเมื่อเดือนก่อน รวมถึงเมืองซาคราเมนโต ในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ทั้งนี้ มีรายงานการติดเชื้อในมนุษย์และนก แล้วกว่าใน 42 รัฐ โดยร้อยละ 80 เกิดขึ้นในรัฐเท็กซัส มิสซิสซิปปี้ และโอกลาโฮมา

ในรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการติดเชื้อรุนแรงที่สุด ทางการแนะนำให้ประชาชนทำลายแหล่งน้ำขัง ซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด

อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่กล่าวว่ายังเร็วเกินไปที่จะระบุถึงสาเหตุของการแพร่ระบาดครั้งล่าสุดนี้ แม้ว่าข่าวบางกระแสจะชี้ว่า อาจเป็นเพราะอากาศที่เย็นเล็กน้อย และสภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งเป็นปัจจัยเหมาะสมต่อการเติบโตของยุง
ทั้งนี้ไวรัสเวสต์ไนล์ ถูกพบครั้งแรกที่ยูกันดา เมื่อปี 2480 โดยมียุงเป็นพาหะ นำเชื้อมาจากนก โดยผู้ป่วยขั้นรุนแรงจะมีอาการไข้สูง ตาพร่ามัวและอาจถึงขั้นเป็นอัมพาต

ไวรัสเวสต์ไนล์ มีการค้นพบครั้งแรกที่อูกันด้าเมื่อปี 1937 โดยมีนกเป็นพาหะ และแพร่สู่มนุษย์ผ่านยุง ในรายที่มีการติดเชื้อไม่มากจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นตามผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโต แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปวดศีรษะมาก ไข้สูง คอแข็ง มึนงง เสียการทรงตัว ชัก เป็นอัมพาต อาจถึงตายได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook