คมเคียวคมปากกา - สวัสดีปีฉลูลำเค็ญ

คมเคียวคมปากกา - สวัสดีปีฉลูลำเค็ญ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อาการป่วยไข้ทางเศรษฐกิจในปี 2552 ต่างจากปี 2540 เนื่องจากครั้งโน้นมันเกิดจากเศรษฐกิจฟองสบู่ไทยแตก หรือ โรคต้มยำกุ้ง จึงมีความรุนแรงเฉพาะไทยและชาติใกล้เคียง

ผิดกับครั้งนี้ มันเกิดที่สหรัฐ หัวใจโลกทุนนิยม จึงส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง โรคแฮมเบอร์เกอร์ จึงหนักกว่าโรคต้มยำกุ้งเป็นร้อยๆ เท่า

// //

สำหรับคนลูกทุ่ง วิกฤติเศรษฐกิจ 2540 กลายเป็น โอกาสทอง ของค่ายเพลงใหญ่น้อย โดยเฉพาะค่ายแกรมมี่โกลด์ ที่เปิดตลาด ลูกทุ่งอีสาน ด้วยเพลงปริญญาใจ ของ ศิริพร อำไพพงษ์

และยังมีอีกหลายค่ายเพลงที่ถูกหวย เพลงเดียวดัง เรียกว่าตอนนั้นตลาดลูกทุ่งคึกคักสุดๆ สวนทางกระแสเศรษฐกิจฟองสบู่แตก

ตรงกันข้ามกับปี 2552 ที่มีแนวโน้มจะเป็นปีเศร้าของชาวลูกทุ่ง เพราะได้ข่าวว่าค่ายเพลงใหญ่ๆ เตรียมโละนักร้องที่ ไม่ขาย ออกจากค่าย

เฉพาะปี 2551 ก็มีนักร้องระดับกลางๆ ต้องหิ้วกระเป๋าออกจากค่ายเก่าแก่มาเป็นนักร้องข้างถนนแล้วหลายสิบชีวิต

โอกาสที่ค่ายเพลงใหญ่จะเปลี่ยนวิธีผลิตเพลง จากทำเป็นอัลบั้ม ชุดละ 10 เพลง ก็เปลี่ยนมาขายทีละเพลงผ่านระบบออนไลน์ ก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะมีการทดลองทำกันบ้างแล้วในกลุ่มเพลงสตริง

ลมหายใจที่เหลืออยู่ของค่ายเพลงยุคเถ้าแก่คือ นำเอาเพลงเก่ามาแปรรูปเป็นซีดี และวีซีดี ลงทุนไม่มากแต่ก็กำไรน้อย เหมือนน้ำซึมบ่อทรายที่ขายได้เรื่อยๆ

ลมหายใจที่เหลืออยู่ของนักร้องไร้ค่ายคือ ทำเองขายเอง หากโชคดีมีคนนิยมก็ได้อานิสงส์รับงานโชว์ตัว เหมือนที่ ธันวา ราศีธนู, พจน์ สุวรรณพันธ์ และอีกหลายๆ คน ประสบความสำเร็จในปีนี้

ลมหายใจที่เหลืออยู่ของนักร้องบ้านนอก คือ การเดินสายประกวดร้องเพลง ถ้ามีคนเห็นหน่วยก้านก็อาจลงทุนทำแผ่นให้ และฝากเชียร์ผ่านสถานีวิทยุชุมชน

โชคดีมีบุญวาสนา เกิดเพลงดังขึ้นมา ค่ายใหญ่อาจซื้อมาสเตอร์มาทำใหม่

รำพึงรำพันมาก็ด้วยรักและห่วงใยวงการลูกทุ่ง แต่ในใจลึกๆ ยังเชื่อมั่นว่า ยังไงตลาดเพลงลูกทุ่งก็ไม่มีวันตกต่ำย่ำแย่ไปกว่านี้

ตราบเท่าที่มหาชนทุกชั้นชนยังไม่หันหลังให้เพลงลูกทุ่ง!

บรรณวัชร

ตะลุยข่าว - 388 ศพสึนามิ...ยังไม่ได้กลับบ้าน

แม้พิบัติภัยสึนามิจะผ่านพ้นไปแล้ว 4 ปี ทว่าภาพความเสียหาย การล้มตาย และสูญหายไปของคนอันเป็นที่รัก ยังคงติดตรึงอยู่ในใจเหมือนภาพฝันร้ายในคืนที่แสนยุ่งเหยิง หลายครอบครัวยังทำใจไม่ได้กับมหันตภัยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และธุรกิจ เสียงหวีดร้องโหยหวนและร่ำไห้เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ยังคงก้องอยู่ในมโนสำนึก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook