สถานะ การเมือง สถานะ ′สุขุมพันธ์′ นำ พงศพัศ ยังเป็นรอง

สถานะ การเมือง สถานะ ′สุขุมพันธ์′ นำ พงศพัศ ยังเป็นรอง

สถานะ การเมือง สถานะ ′สุขุมพันธ์′ นำ พงศพัศ ยังเป็นรอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถูกต้องแล้วที่ นายภูมิธรรม เวชยชัย ออกมายอมรับ "เราเป็นมวยรอง ต้องขอโอกาส และไม่นิ่งนอนใจ ต้องใช้เวลาทำงานหนัก"

เป็นการยอมรับในฐานะ ผู้อำนวยการเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย

ถูกต้องเพราะว่าเพียงเวลาไม่กี่วันจาก วันที่ 21 ถึงวันที่ 25 มกราคม เป็นช่วงสั้นและวูบวาบอย่างยิ่ง

เป็นเพียง "ปรากฏการณ์" ยังมิใช่ "ธาตุแท้"

เพราะว่าธาตุแท้ที่เป็นจริง คือ รากฐานทางการเมืองอันยาวนานของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งฝังอยู่ใน กทม.

ตั้งแต่ยุค นายควง อภัยวงศ์ ทอดยาวมายังยุค นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

พรรค ประชาธิปัตย์ คือ ผู้ยึดครองพื้นที่ กทม.ตัวจริง แม้กระทั่งการปรากฏขึ้นของพรรคประชากรไทยก็เป็น "อวตาร" ของพรรคประชาธิปัตย์ผ่าน นายสมัคร สุนทรเวช

หรือแม้กระทั่งพรรคพลังธรรมก็เป็น "อวตาร" ผ่าน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง

พรรค เพื่อไทยจึงเป็นช่วงสั้นๆ ของ "ปรากฏการณ์" ทางการเมือง เป็นความต่อเนื่องจากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน แต่ยังต้องผ่านการพิสูจน์ด้วยกาลเวลาพอสมควร

พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จึงยังเป็น "รอง"

ใน เมื่อฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยอ่อนด้อยกว่าพรรคประชาธิปัตย์เช่นนี้ จะมีเหตุปัจจัยอันใดทำให้สถานะของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ขึ้นไปอยู่ในฐานะนำ

1 ต้องอิงกับผลงานและความสำเร็จของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

แม้ ว่าผลงานและความสำเร็จของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะดำเนินไปภายใต้ยุทธศาสตร์ "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" แต่ในสถานะแห่งนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เหมาะสมอย่างยิ่งกับสภาพการเมืองหลังรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

เป็นการเมืองที่ "แก้ไข" ไม่ "แก้แค้น"

การอ่อนน้อมเข้าหา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ท่ามกลางการลุ้นอย่างเต็มเรี่ยวแรงโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงเป็นความงาม

เป็นความงามแห่ง "คิดต่าง" มิใช่ "ขัดแย้ง"

เวลา จากเดือนสิงหาคม 2554 มายังเดือนสิงหาคม 2555 และกำลังย่างเข้าสู่เดือนสิงหาคม 2556 จึงเป็นเวลาแห่งการเติบใหญ่ขยายตัวของผลงาน และเพิ่มพูนความนิยมต่อรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ผลสะเทือนจากผลงานของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ย่อมตกถึงพรรคเพื่อไทยและย่อมตกทอดถึง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ

1 ตัวตนของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เอง

พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ก็มีวิถีทางการเมืองเช่นเดียวกับการเสนอตัวเข้ามาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554

1 มิได้เป็นคู่ขัดแย้งกับขบวนการรัฐประหารเดือนกันยายน 2549

ขณะเดียวกัน 1 ต้องการเอาตัวตนและผลงานเพื่อชำระล้างบาดแผลและความขัดแย้งแตกแยกอันดำรงอยู่

จึงมิได้นำเสนอตัวตนอย่างก้าวร้าว หากแต่ดำเนินไปอย่างอ่อนน้อมถ่อมตัว

แม้ กระทั่งเกิดการยิงต่อรถและอาคารของสำนักงานสื่ออันเป็นคู่ขัดแย้งแหลมคมเป็น อย่างมาก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ยังไปปรากฏตัวและอาศัยเงื่อนไขเดิมของการเป็นตำรวจเร่งผลักดันให้หาตัวคน ร้ายมาดำเนินคดี

1 พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ต้องขยันและทำงานอย่างหนักหน่วง

ทำ งานให้หนักยิ่งกว่าคู่ต่อกรทางการเมือง เป็นการทำงานเพื่อเสนอตัวต่อคน กทม. เป็นการทำงานเพื่ออธิบายและสร้างความกระจ่างในแนวทางนโยบาย

ต้องยืนระยะความขยันไปจนถึงวันที่ 2 มีนาคมให้จงได้

มีแต่ทำเช่นนี้เท่านั้นจึงจะเป็นโอกาสให้กับ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ มีแต่ทำเช่นนี้เท่านั้นจึงจะอยู่ในกระบวนการการเลือกของคน กทม.

ที่สำคัญ ต้องตระหนักในสถานะอันเป็น "รอง" ของตนให้จงหนัก

ไม่ว่าเอแบคโพลล์ ไม่ว่าสวนดุสิตโพล ไม่ว่ากรุงเทพโพล จะนำเสนอภาพการสัประยุทธ์อย่างไร

แต่ ความเป็นจริงที่เป็นจริงอยู่คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ยังโดดเด่นในฐานะ "นำ" ขณะที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ มีความโดดเด่นแต่ก็เป็นความโดดเด่นอันยังเป็น "รอง"

สถานะนี้จะดำรงอยู่จนถึงวันที่ 3 มีนาคม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook