พบ "พะยูนแฝด" คู่แรก ว่ายเคียงคู่แม่ ที่ทะเลกระบี่

พบ "พะยูนแฝด" คู่แรก ว่ายเคียงคู่แม่ ที่ทะเลกระบี่

พบ "พะยูนแฝด" คู่แรก ว่ายเคียงคู่แม่ ที่ทะเลกระบี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

  นายปิยะวัฒน์ พรหมรักษา หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำศูนย์วิทยบริการ ม.เกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ กล่าวว่า ที่ผ่านมาเมื่อปี 2555 ทาง ม.เกษตรศาสตร์ ได้ทำวิจัย ขึ้นบินสำรวจพะยูนในทะเลกระบี่ บริเวณตำบลเกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลมีพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ซึ่งจากการบินสำรวจเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2555 ได้ค้นพบพะยูนเพศเมีย และมีลูกแฝด 2 ตัวว่ายน้ำเคียงข้างกัน ซึ่งถือเป็นตัวแรกของพะยูนที่ออกลูกแฝดและได้ค้นพบในทะเลกระบี่เป็นครั้งแรก เพราะตามธรรมชาติแล้วพะยูนจะมีลูกครั้งละ 1 ตัวเท่านั้น ทั้งนี้ บริเวณเกาะศรีบอยา ซึ่งมีเกาะน้อยใหญ่หลายเกาะ เป็นที่อยู่ของพะยูน ที่เป็นสัตว์สงวนที่สำคัญ โดยจากการบินสำรวจนั้นได้พบพะยูนทั้งสิ้น 16 ตัว ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนๆ ที่จะพบแค่ 4 - 5 ตัวเท่านั้น บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลกระบี่ ซึ่งหลังจากนี้ทางม.เกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ ก็จะเดินหน้าในการอนุรักษ์พะยูน โดยจะดึงชุมชน เยาวชน รวมถึงชาวประมงพื้นบ้านในการปลูกหญ้าทะเล ใบมะกรูด ตามโครงการบ้านปลา เพื่อเพิ่มพื้นที่ของแหล่งหญ้าทะเลให้มากขึ้น ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้

  หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำศูนย์วิทยบริการ ม.เกษตรศาสตร์ จ.กระบี่ กล่าวต่อไปอีกว่า จังหวัดกระบี่ มีแหล่งหญ้าทะเลประมาณ 10,000 ไร่ ขณะที่ จ.ตรัง ซึ่งมีพื้นที่ติดกันมีแหล่งหญ้าทะเลอยู่ถึง 2 หมื่นกว่าไร่ และมีพะยูนกว่า 200 ตัว ดังนั้นหากได้มีการเพิ่มพื้นที่แหล่งหากินของพะยูนก็จะทำให้มีพะยูนเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญอย่างมาก คือจิตสำนึกของชาวประมง เพราะขณะนี้มีสาเหตุที่ทำให้พะยูนลดจำนวนลง หรือความเสี่ยงต่อพะยูนก็คือเครื่องมือประมง เช่น อวน และเบ็ดราไว หรือเบ็ดที่มีความคมและมีขนาดใหญ่ ก็จะทำให้พะยูนตายได้ หากทุกฝ่ายร่วมมือกันอนุรักษ์ ก็เชื่อว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดนี้ก็จะอยู่คู่กระบี่ต่อไป และประการสำคัญอีกประการหนึ่ง การขุดลอกร่องร่องน้ำ เพื่อให้เรือขนาดใหญ่เข้าเทียบท่าก็จะเป็นทำลายหญ้าทะเล และเป็นการรพกวนถิ่นที่อยู่อาศัยของพะยูนได้ สิ่งเหล่านี้ทางภาครัฐ และชุมชนมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น ที่ ที่อื่นไม่มี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook