"อภิรักษ์-ยุรนันท์" ประเมิน ศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ

"อภิรักษ์-ยุรนันท์" ประเมิน ศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ

"อภิรักษ์-ยุรนันท์" ประเมิน ศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผ่านสัปดาห์ที่สองของการ เดินหน้าชูนโยบายเพื่อแปลงเป็นคะแนนเสียงให้มาสนับสนุนผู้สมัครจากสองพรรค ใหญ่ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กับ "พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ" ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (พท.)

กลยุทธ์ การช่วงชิงคะแนนของผู้สมัครจากทั้งสองพรรคใหญ่นับจากนี้ไปจนถึงช่วงโค้งสุด ท้ายก่อนวันเลือกตั้งจะยิ่งเพิ่มความเข้มข้นยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน จากนี้คือมุมมองของผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ที่พลิกบทบาทมาเป็นทีมยุทธศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ของทั้ง ปชป.และ พท.

 

 


นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน

รองหัวหน้า ปชป. และประธานยุทธศาสตร์ศูนย์การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ปชป.

ถ้าจะให้ประเมินการหาเสียงของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ทุกครั้งที่ลงพื้นที่กระแสตอบรับดีมาก ส่วนหนึ่งด้วยประสบการณ์จากการทำงานมา 4 ปี และนโยบายหลายเรื่องได้ทำไปแล้ว เช่น นโยบายด้านความปลอดภัย การติดตั้งกล้องซีซีทีวี และยังมีนโยบายต่อยอด เชื่อมโยงไปที่สำนักงานเขต 50 เขต หากได้กลับเข้ามาบริหารงานต่อจะสามารถดำเนินการต่อยอดในเรื่องต่าง รวมทั้งการแก้ปัญหาการจราจรจะเชื่อมโยงด้วยระบบโมโนเรลและไรท์เรล อีก 5 เส้นทาง และเชื่อมโยงระบบอื่นๆ

ส่วนยุทธศาสตร์เชิงรุกในพื้่นที่ที่ ปชป.ยังมีคะแนนเสียงเป็นรองคู่แข่งขั้น นายอภิรักษ์อธิบายว่า ที่ทราบมาเป็นพื้นที่ด้านกรุงเทพฯเหนือ และกรุงเทพฯตะวันออก เพราะเป็นพื้นที่ที่ไม่มี ส.ส.ด้วย ประมาณ 10 เขตพื้นที่ แต่บางพื้นที่ยังมี ส.ก.และ ส.ข.อยู่ในพื้นที่ ส่วนกลยุทธ์ที่ดึงคะแนนในส่วนนี้นั้นจะใช้เครือข่ายที่ทำงานในพื้นที่อยู่ แล้ว และนอกจาก ส.ก. ส.ข.ใน กทม. และ ส.ส.ทั้งในส่วนของ 23 คน ที่เป็น ส.ส.เขต บวกกับบัญชีรายชื่อ ที่เคยเป็น ส.ส.เขตมาก่อนจะมีการแบ่งความรับผิดชอบเป็นกลุ่มโซน กอปรส่วนที่สองจะมี ส.ส.ปชป.ทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน ใต้ ก็จะแบ่งกลุ่มพื้นที่มาช่วยรณรงค์ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านเดินหาเสียงกับ ประชาชน ส่วนในฐานเสียงเดิมของ ปชป. เชื่อว่าในส่วนของผู้ให้การสนับสนุนของพรรคยังมีความไว้วางใจ

หากจะ ให้ประเมินคะแนนเสียงคร่าวๆ ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะได้รับในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประธานยุทธศาสตร์ศูนย์การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ปชป. ประเมินว่า การแข่งขันครั้งนี้ค่อนข้างเข้มข้น สูสีมาก ถ้าจะดูจากผลโพลตอนนี้คนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกใครอาจจะลดลงมาเหลือ 40 เปอร์เซ็นต์ หรือตัดสินใจแล้วแต่ยังไม่บอก และจะมีกลุ่มที่เป็นฐานเสียงหรือคนที่ให้การสนับสนุนพรรคมาตลอด ยังหวังว่าเป็นกลุ่มหลักบวกกับกลุ่มคนที่อาจรอฟังนโยบาย รอดูว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเรื่องไหน ที่จะทำให้รู้สึกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์และ ปชป.พร้อมที่จะนำประสบการณ์ความรู้ ความสามารถมาเร่งผลักดันกรุงเทพฯให้เดินหน้าต่อได้ทันที

"ปชป.ได้ ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาสังคม ที่เห็นว่าวันนี้ปัญหาประเทศ และปัญหาการเมืองก็ยังเป็นจุดหลักที่ทำให้คนมองไม่เห็นทางออกของประเทศ มาร่วมผลักดันพิมพ์เขียวประเทศไทย ที่จะพูดถึงเป้าหมายในอนาคตว่าจะมีการพัฒนาอย่างก้าวหน้าและยั่งยืนลดช่อง ว่างในเรื่องของโอกาสและความเหลื่อมล้ำต่างๆ หวังว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ หากประชาชนไว้วางใจให้ ปชป.กลับมาเป็นผู้ว่าฯกทม.อีก จะนำความคิดใน 3 เรื่อง 1.โครงสร้างเศรษฐกิจ 2.โครงสร้างการศึกษา 3.การบริหารจัดการภาครัฐ ในเรื่องความโปร่งใส่นำมาบริหารจัดการกรุงเทพฯ"

 



นายยุรนันท์ ภมรมนตรี

ส.ส.บัญชีรายชื่อ พท. อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ปี 2552 ในฐานะคณะทำงานด้านการรณรงค์หาเสียงผู้ว่าฯกทม. พท.

ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย (พท.) นั้น การหาเสียงและปราศรัยของพรรค แล้วแต่บริบทของพื้นที่ทั้ง 50 เขต บางพื้นที่อาจจะต้องมีเวทีปราศรัยอยู่ที่ตลาด บางพื้นที่ก็ต้องอยู่ในเคหะ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลาด้วย หากบ้านมีรั้วก็มีวิธีอีกอย่าง ส่วนชุมชนเคหะก็มีวิธีอีกอย่าง ดังนั้น ทีมหาเสียงจะเซตจากส่วนกลางเป็นโมเดลเดียวกันทั้งหมด 50 เขตคงไม่ได้ เพราะแต่ละพื้นที่ต่างกันมาก บางทีก็ต้องมีการหาเสียงโดยการลงเรือ การหาเสียงในแต่ละเขตก็จะมีทั้งพื้นราบและเวทีเคลื่อนที่ ซึ่งจะใช้แกนนำของพรรคลงไปช่วยทั้งในเรื่องของการปูพรม ในการเดินลงพื้นที่ทำความเข้าใจเรื่องนโยบายในพื้นราบ โดยจะต้องอบรมเรื่องนโยบาย เพราะนโยบายของผู้ว่าฯกทม.ของ พท. เป็นนโยบายที่ต้องการการอธิบาย โดยผมจะดูทั้งหมด 50 เขตร่วมกับนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ส่วนการจัดทีมรัฐมนตรีถือ ว่าเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกในเชิงนโยบาย เขตไหนพร้อมลงหาเสียงและปราศรัยได้เลยจะไปให้ทั่วเท่าที่ไปได้ ยุทธศาสตร์เดินคู่กันบ้างในฐานะสมาชิกพรรค ทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในฐานะสมาชิก พท. กับ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครของพรรค โดยการเดินไปด้วยกัน จะเหมือนกับการทำงานอย่างไร้รอยต่อ ที่กำหนดรัฐมนตรีและ ส.ส.ลงพื้นที่นั้น เป็นการเสริมจุดดีให้ดีขึ้นและจุดไหนที่อ่อนต้องกล้าที่จะยอมรับและพัฒนาจุด อ่อนให้ดีขึ้นแต่ไม่ใช่ทิ้งจุดอ่อน

ถ้ารัฐมนตรีสามารถพูดได้ถึงรอย ต่อของรัฐกับ กทม.ในการทำให้พื้นที่นั้นๆ ได้รับผลบวกจากนโยบายจะยิ่งเป็นผลมากขึ้น เป้าหมายหลักคือการวางรัฐมนตรีที่เป็นผู้ใหญ่ที่จะเชื่อมโยงได้ เวลาเดียวกันสามารถเอกซเรย์ได้ว่า ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคน กทม.ชั้นในที่กังวลเรื่องการค้าขายก็จะเป็นเรื่องของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์จะทำให้คนฟังมีความสนใจมากขึ้นต้องวางรัฐมนตรีให้ตรงกับพื้นที่ที่ สุด

"พท.จะลงไปเจาะฐานเสียงของ ปชป.ทั้งในเขต กทม.ชั้นในหรือไม่นั้น ต้องเรียกว่าลงไปทำความเข้าใจดีกว่า เพราะ พท.ครั้งนี้เน้นนโยบายมากเป็นพิเศษ ปัญหาที่ พท.เห็นคือการทำงานยาก กทม.ที่มันไม่โตเพราะมันมีเรื่องของรอยต่อที่เห็นได้ชัด มันไม่มีคำว่าของเราสักที รัฐบาลทำของรัฐบาล ท้องถิ่นทำของท้องถิ่น มันไม่มีการบูรณาการกันอย่างชัดเจน ผิดกับต่างจังหวัดที่รัฐบาลกับท้องถิ่นค่อนข้างไปด้วยกันได้ดี"

สำหรับ คน กทม.อีกกว่าร้อยละ 50 ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจนั้น จากการสอบถามมา คน กทม.อยากเห็นนโยบายที่หยิบจับได้เป็นรูปธรรม โดยส่วยตัวมองว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ไม่ได้มีข้อเสียอะไรให้เห็นชัดเจน ถ้ามองแบบคนกลางๆ ไม่ได้ทำอะไรที่เลวร้ายถึงขึ้นโรงขึ้นศาล ขณะเดียวกันก็ไม่เห็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอันที่เอามาเป็นแต้มบวกให้น่าชื่นใจ คน กทม.หลายคนคิดอย่างนี้ ทำให้ออกไปเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะไม่รู้ว่าจะเลือกไปทำไม จากการสอบถามคน กทม.มาว่าอยากได้อะไรจากผู้ว่าฯกทม. เชื่อไหมสิ่งที่คน กทม.ขอมาไม่ใช่หน้าที่ของผู้ว่าฯกทม. ทำให้รู้ว่าคนเลือกยังไม่รู้เลยว่ามีผู้ว่าฯกทม.ไปทำอะไร

เมื่อถามว่า ประเมินว่าวันนี้ 611,669 แสนคะแนนที่เคยลงคะแนนให้ พท.ยังอยู่หรือไม่ "ยุรนันท์" ตอบว่า "ผมยังเชื่อว่าอยู่"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook