"เบื่อ-อยากเปลี่ยน" อารมณ์ของ"กทม." สะท้อนผ่าน"ศึกผู้ว่าฯ"

"เบื่อ-อยากเปลี่ยน" อารมณ์ของ"กทม." สะท้อนผ่าน"ศึกผู้ว่าฯ"

"เบื่อ-อยากเปลี่ยน" อารมณ์ของ"กทม." สะท้อนผ่าน"ศึกผู้ว่าฯ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คล้อยหลัง โพลสวนดุสิต ที่ระบุเมื่อวันที่ 1 ก.พ.ว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เบอร์ 9 พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนิยมนำ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เบอร์ 16

วันที่ 3 ก.พ. เอแบคโพลล์ เสนอผลสำรวจโค้งที่สอง ระหว่าง 31 ม.ค.-2 ก.พ.

ระบุ ว่า พล.ต.อ.พงศพัศ มีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 43.1 หรือนำห่างออกไป 10 จุด จาก ม.ร.ว.สุขุมพันธฺ์ ที่คะแนนนิยมลดลง มาอยู่ที่ 33.1%

ที่ น่าสนใจก็คือ เอแบคโพลล์ระบุว่า ข่าวความขัดแย้งระหว่าง นปช. กับรัฐบาลเกี่ยวกับ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การแก้ไขรัฐธรรมนูญและเขาพระวิหาร ที่มีความพยายามโหมกระพือผ่านทางสื่อบริวาร

ไม่ส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

ที่ ส่งผลกระทบ ได้แก่ ข่าวที่ข้าราชการ กทม. ไม่ยอมให้ พล.ต.อ.พงศพัศ เข้าไปหาเสียงในสำนักงานอนามัย อันหน่วยงานของ กทม. แต่จะอนุญาตให้ "นายเก่า" เข้าไปได้

เป็นข่าวที่ส่งผลดีต่อ พล.ต.อ.พงศพัศ

แน่นอนว่า พรรคประชาธิปัตย์ย่อมมั่นใจใน "ฐานคะแนน" และ "ไม้ตาย" ของตน จึงไม่ได้แสดงท่าทีห่วงกังวลต่อผลการสำรวจหรือโพลต่างๆนัก

ความมั่นใจส่วนหนึ่ง อาจจะมาจากการเลือกตั้งทั่วไปปี 2554 ที่โพลระบุว่า พรรคเพื่อไทยจะได้ที่นั่งมากกว่าพรรคประชาธิปัตย์ในกรุงเทพฯ

สุดท้าย พรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ

เป็นประเด็นคาใจพรรคเพื่อไทยมาจนทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความมั่นใจเต็มเปี่ยม แต่ไม่ควรมองข้ามความเห็นจากประชาชน

หลายประเด็น จากผลสำรวจ หากนำไปใช้ประโยชน์ อาจช่วยกำจัดจุดอ่อน ยกระดับคะแนนนิยมทางการเมืองได้

ต้องยอมรับว่า การสำรวจของเอแบคโพล ทำให้เห็นถึงทัศนคติของประชาชนแห่งกรุงเทพมหานคร

เป็น ทัศนคติของวิญญูชน ที่แสดงออกว่า รู้ทันการเมือง และจะไม่นำเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ มาเป็นปัจจัยพิจารณาผู้สมัคร

ขณะเดียวกัน มีใจเป็นธรรม พอจะเห็นว่า กรณีของหน่วยงาน กทม. เปิดรับ "นายเก่า" แต่ไม่ต้อนรับพรรคอื่นนั้นไม่ถูกต้อง

สุดท้าย ท่าที 2 มาตรฐาน ที่หวังดีต่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กลับกลายเป็นผลร้าย และทำให้ พล.ต.อ.พงศพัศได้คะแนนเห็นใจไป

และนี่คือ ปฏิกิริยายินดียินร้ายและมีเหตุมีผลของประชาชน ต่อการกระทำต่างๆของพรรคการเมือง ของผู้สมัคร

ไม่ใช่ว่าส่งเสาไฟฟ้าลงสมัคร ก็จะเข้าคูหาลงคะแนนให้

การสำรวจความเห็น การสัมภาษณ์เจาะลึกของโพลเอแบค ยังพบเหตุผลที่ทำให้ พล.ต.อ.พงศพัศ มีคะแนนนำ

คำตอบในการสำรวจระบุว่า ประชาชน อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือ Change ในทิศทางที่ดีขึ้นของกรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ ยังระบุว่า "เบื่อความขัดแย้ง" และยังต้องการให้โอกาสกับผู้สมัครคนใหม่อีกด้วย

2 ประเด็นสำคัญของคนกรุงเทพฯ คือ "ความเปลี่ยนแปลง" และอารมณ์ "เบื่อความขัดแย้ง" ของคนกรุงเทพฯ

ชวน ให้รำลึกถึงการเมืองที่เน้นด่าทอ จับผิดจุกจิก ใช้วาทะโวหารทำงานอย่างไร้วุฒิภาวะ สร้างความขัดแย้งโดยไม่จำเป็นและอย่างไม่รู้จบสิ้น

การเมืองของการสร้างกำแพงกั้นระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นของมหานครอย่างกรุงเทพ กับรัฐบาลกลาง

และนั่นคือ "การเมือง" ที่ทำให้คนกรุงเทพฯเสียประโยชน์

ปัญหาคือ พรรคไหนคือ "เจ้าภาพ" ของการเมืองแนวดังกล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook