พงศ์เทพเผยครม.ไม่ได้หารือพ.ร.บ.นิรโทษฯอุกฤษ

พงศ์เทพเผยครม.ไม่ได้หารือพ.ร.บ.นิรโทษฯอุกฤษ

พงศ์เทพเผยครม.ไม่ได้หารือพ.ร.บ.นิรโทษฯอุกฤษ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่ได้มีการหยิบยกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ของ นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระ ว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ หรือ  คอ.นธ. มาหารือในที่ประชุม ส่วนความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนของการให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปศึกษาตามกรอบระยะเวลา 60 วัน ซึ่งต้องรอให้ทั้ง 3 สถาบันการศึกษา ทำการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบ เนื่องจากทางคณะทำงานศึกษาแนวทางการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้ขอคำชี้แนะไปในหลายประเด็น ซึ่งก็ต้องให้เวลาในการทำสรุปผลก่อนส่งกลับมาพิจารณาอีกครั้งด้าน นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การประชุม ครม. วันนี้ ไม่ได้มีการนำ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของ นายอุกฤษ เข้ามาหารือ เพราะเรื่องแบบนี้จะไม่นำมาพูดกันในวาระ ครม. แต่อาจมีการคุยกันในกลุ่มเล็ก ๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่คาดว่า เมื่อ นายกรัฐมนตรี รับข้อเสนอของนายอุกฤษแล้ว ตามกระบวนการก็ต้องนำส่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปศึกษาตีความทางข้อกฎหมายต่อไป 'อุกฤษ'ยื่นนายกออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแล้ว-จี้วาระเร่งด่วน ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระ ว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้แถลงถึงแนวทางการนิรโทษกรรมที่จะได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ผ่านคณะรัฐมนตรีในวันนี้ว่า ตามที่มีคณะบุคคลต่าง ๆ ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมความคิดเห็นจากการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมานั้น โดยเฉพาะการตราพระราชกำหนดนิรโทษกรรม หรือ การเสนอร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการนิรโทษกรรมของกลุ่มนิติราษฎร์ หรือ นปช. เห็นว่า ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมนั้น ถือว่าเป็นการหักดิบ และปิดหูปิดตาสมาชิกรัฐสภามากเกินไป และจะทำให้เกิดการร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุติได้ ส่วนพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมของคณะนิติราษฎร์นั้น เห็นว่าจะสำเร็จได้ยาก เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขณะนี้ ยังคงค้างการพิจารณาในวาระ 3 จึงได้เสนอ พ.ร.บ.ตามแนวทางของ คอ.นธ. ที่เป็นไปตามหลักสากล และอยู่ภายใต้ฝ่ายนิติบัญญัติ เปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภา ได้มีการถกเถียงตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย โดยยืนยันไม่มีการแก้ไขในมาตรา 291 และ 112สำหรับร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในการชุมนุมทางการเมือง ของคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ หรือ คอ.นธ. ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีในวันนี้ โดย ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานนั้น ได้ครอบคลุมไปถึงผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมือง ระหว่างวันที่ 9 กันยายน 2549 - 4 พฤษภาคม 2554 ตามมาตรา 1 ของพระราชบัญญัติ โดยระบุในมาตรา 3 ให้บรรดาผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองนั้น พ้นจากการกระทำความผิด และความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง แต่ไม่รวมถึงการกระทำของผู้มีอำนาจ ในการสั่งการในการเคลื่อนไหว ในห้วงเวลาดังกล่าว และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการใช้อำนาจตามกฎหมาย ในการรักษาความสงบ โดย ศ.ดร.อุกฤษ กล่าวเชื่อมั่นว่า การพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนี้ จะสามารถกระทำได้โดยเร็ว เมื่อทุกฝ่ายยอมรับ และเห็นด้วยกับเนื้อหาแล้ว การนำเข้าพิจารณาในวาระ 2 ทั้งของสภาผู้แทนราษฎรแ ละของสมาชิกวุฒิสภานั้น อาจทำได้โดยคณะกรรมาธิการเต็มสภา หรือให้พิจารณา 3 วาระรวด โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 30 - 45 วัน และจะนำมาออกประกาศใช้ทันในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ในช่วงเดือนเมษายนนี้  'ณัฐวุฒิ'ดีใจนายกฯรับฟังพ.ร.ก.นิรโทษปัดแดงแตกรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ก่อนการเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ส่วนตัวรู้สึกดีใจที่ นายกรัฐมนตรี รับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายเรื่องของกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งในส่วนของ พ.ร.ก.นิรโทษกรรม นั้น ขณะนี้ นายกรัฐมนตรี ให้กฤษฎีกาตรวจสอบอยู่ ซึ่งส่วนตัวคาดว่าคงใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากในอดีตมีการนิรโทษกรรมกันหลายครั้งให้เปรียบเทียบ ทั้งนี้ นายณัฐวุฒิ ยืนยันว่า รัฐบาลและกลุ่ม นปช. ไม่มีความขัดแย้งกันในประเด็นดังกล่าวแต่อย่างใด และส่วนตัวยังเห็นว่า เรื่องนี้ควรเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนระดับประเทศ เพื่อนำไปสู่ความสร้างความปรองดองในสังคม 'โคทม'หนุนออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเว้น'ทักษิณ' นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า กรณีที่มีการเรียกร้องให้ออกกฎหมายนิรโทษกรรม อาจไม่เกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนตัว เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะก่อนหน้านี้ ในเดือนพฤษภาคม 2535 เคยมีการออก พ.ร.ก. แต่ไม่ผ่านรัฐสภา เพราะมีผู้คัดค้าน อีกทั้ง การนิรโทษกรรม ควรย้อนไปตั้งแต่ที่มีการทำรัฐประหาร และต้องนิรโทษให้กับบุคคลที่อยู่ในข่ายรับโทษทางการเมืองแล้ว รวมถึง ทหาร และตำรวจ ที่ทำตามหน้าที่ ส่วนผู้ออกคำสั่ง ต้องรอเวลาที่เหมาะสมในการนิรโทษกรรมให้ และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ไม่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรม เพราะอยู่ต่างประเทศนอกจากนี้ นายโคทม ยังกล่าวว่า บรรยากาศขณะนี้ เหมาะสมแก่การปรองดองเป็นอย่างยิ่ง เพราะการทำรัฐประหารมีมานานแล้ว อีกทั้ง ฝ่ายค้านยังเห็นด้วยกับการปรองดอง พร้อมมองว่า การนิรโทษกรรม เป็นเพียงอีกด้าน ที่ทำให้บ้านเมืองสงบเท่านั้น     
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook