เฉลิมเผย20โจรคุยเข้าพรบ.ม.21คาดพบมหาเธร์28มี.ค.

เฉลิมเผย20โจรคุยเข้าพรบ.ม.21คาดพบมหาเธร์28มี.ค.

เฉลิมเผย20โจรคุยเข้าพรบ.ม.21คาดพบมหาเธร์28มี.ค.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำกับคณะโครงการ 4 ประสาน 56 ที่มาเข้าพบว่า การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จะไม่ใช้ความรุนแรง และจะต้องแก้ไขปัญหาด้วยความเข้าใจ เพราะพื้นที่ภาคใต้มีประวัติศาสตร์มายาวนาน รวมถึงคนในพื้นที่สนใจประเด็นทางการเมือง ซึ่งส่วนตัวย้ำจะผลักดันการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงมาตราที่ 21 ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งในขณะนี้ การแก้ปัญหานั้นพบว่ามีกลุ่มก่อความไม่สงบที่เป็นบุคคลสำคัญกว่า 20 คน กำลังพูดคุยกับแม่ทัพภาคที่ 4 และจะพิจารณาให้เข้าสู่การใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง มาตราที่ 21 และให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เข้ามาดูแลในเรื่องนี้นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ในฐานะผู้ดูแลด้านพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน มาเลเซีย และ ไทย จะเดินทางมายังเกาะลังกาวี ในวันที่ 28 มี.ค.นี้ ดังนั้นคาดว่า จะเข้าหารือกับ นายมหาธีร์ ในวันดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในการเข้าพบต้องรอหนังสือตอบรับอย่างเป็นทางการก่อน ทั้งนี้คาดว่าหลังจากพบ นาย มหาธเร์ แล้วจะลงพื้นที่พบปะประชาชนต่อไป เฉลิมเผยอยากให้ปชป.เข้าร่วมถกแก้ปัญหาใต้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยระหว่างการพูดคุยกับ คณะโครงการ 4 ประสาน 56 ที่มาเข้าพบกว่า 50 คน ว่าอยากให้ พรรคประชาธิปัตย์ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยตนเองจะไม่อาย หากพรรคประชาธิปัตย์ สามารถแก้ไขปัญหาได้ แต่ล่าสุดถึงแม้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ จะปฏิเสธไม่มาให้ข้อมูลในการประชุมวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ ในวันนี้  ตนเองก็ยังคงเดินหน้าประชุมไปยัง ตำรวจใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในเวลา 14.00 น.นี้ ต่อไปทั้งนี้ ระหว่างพูดคุยตัวแทน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หัวหน้าส่วนราชการ ได้เสนอแนะการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ โดยให้ผู้บริหารประเทศลงพื้นที่ เพื่อรับทราบปัญหาโดยตรงจากประชาชน ทำผลสำรวจความต้องการในทุกครัวเรือน อีกทั้ง ยังเห็นด้วยที่ทางรัฐบาล ไม่ใช้ความรุนแรง และเริ่มต้นการพูดคุยกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ ในการนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ได้แจกเบอร์โทรศัพท์ให้กับคณะที่เข้าพบ เพื่อให้สามารถโทรสายตรงพูดคุยปัญหาในพื้นที่ได้ทันที อย่างไรก็ตาม ภายหลังจบการพูดคุย ร.ต.อ.เฉลิม ระบุ ยังต้องคงรอดูต่อไปว่า จะทำเช่นใด กรณีที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ จะกลับมาเข้ารับราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะตอนนี้ยังไม่ทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป  สุกำพลยังไม่ถกBRN หน2-ปัดคุยทักษิณปมนครปัตตานี พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ก่อนการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจตรวจเยี่ยม กองทัพเรือ ภาคที่ 3 และเดินทางไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายประเทศพม่าว่า เหตุการณ์เผายางรถยนต์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอกพื้นที่ชุมชน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เตรียมการรักษาความสงบอย่างรัดคุม ขณะเดียวกัน ความคืบหน้าในการพูดคุยกับแกนนำกลุ่ม บีอาร์เอ็น รอบที่ 2 ในเดือนมีนาคมนั้น ขณะนี้ ยังไม่เริ่ม เพราะจะให้มีความคืบหน้าทุกวัน คงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งการพูดคุยนั้นก็ดำเนินการกันต่อไป ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบในพื้นที่ ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปฏิเสธว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีการเสนอแนวคิดนครปัตตานีแก่ทางฝ่ายรัฐ และไม่เคยพูดคุยกันในเรื่องนี้แต่อย่างใด กอ.รมน.ยันกลุ่มป่วนยะลาไม่เกี่ยวลงนามBRN พล.ท.ดิฏฐพร ศศะสมิต โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน. เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า เหตุการณ์ป่วนเมืองยะลา เจ้าหน้าที่พอทราบแล้วว่าเป็นกลุ่มใด แต่ไม่อาจระบุได้ เพราะเกรงว่าจะส่งผลต่อการติดตามร่องรอยของการเกิดเหตุ ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก็เป็นเพียงการสร้างสถานการณ์เล็กๆ ที่ควบคุมได้จึงไม่ถือว่าเป็นการก่อเหตุที่รุนแรง รวมถึงการก่อเหตุครั้งนี้ ก็ไม่เกี่ยวกับการลงนามร่วมกับ กลุ่ม BRN เพราะยังคงมีกลุ่มเยาวชนเปอร์มูดอ บารู ที่มาทดแทนบุคคลที่ถูกจับกุมและเสียชีวิต ส่วนมาตรการป้องกันนั้นเจ้าหน้าที่ก็มีระบบดูแลเหตุการณ์ในแต่ละระดับอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสั่งการให้ปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติม อีกทั้งการก่อเหตุรายวันนั้น ก็ไม่กระทบกับการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง เพราะมีเกณฑ์ในการพิจารณาอยู่แล้ว ส่วนจะประกาศใช้ในพื้นที่ใดบ้าง ก็จะต้องดูท่าทีหลังจากการเซ็นสัญญา นอกจากนี้ พล.ท.ดิฏฐพร ยังกล่าวว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ก่อนหน้านี้ ก็พบว่าประสบความสำเร็จ เพราะพบการก่อเหตุลดลง และทำให้ผู้ก่อการร้ายเข้าสู่มาตรา 21 ง่ายขึ้น ส่วน 5 อำเภอ ที่จะทำการประกาศนั้น ยืนยันมีหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือในการพิจารณาอย่างแน่นอน ผบ.ทบ.เผยพรบ.มั่นคงเป็นไปตามยุทธศาสตร์พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเป็นประธาน ในพิธีวันสถาปนาหน่วยป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก ถึงเรื่องปัญหาความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า การพูดคุยกับกลุ่มก่อความไม่สงบนั้น เป็นหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ส่วนตนเองจะคอยติดตามผลและให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ส่วนในเรื่องกรอบการพูดคุยนั้น คงจะมีการกำหนดคร่าวๆ เช่น ระยะเวลา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากใช้การพูดคุยไม่ได้ผล ก็ต้องแสวงหาทางอื่นกันต่อไป ส่วนเรื่องแนวทางการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่มีการกำหนดไว้ และปฏิบัติตามกฎหมายเป็นหลัก ซึ่งได้สั่งการให้ทางแม่ทัพภาคที่ 4 ทำความเข้าใจกับประชาชน รวมถึงแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ ว่า พ.ร.บ.ความมั่นคง มาตรา 21 ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้บุคคลที่มีความผิดรุนแรงได้ ภราดรแจงกมธ.มั่นคง28มีค.หารือBRNที่มาเลย์ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการพิจารณาศึกษาการบังคับใช้พระราชบัญญัติความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 21 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ชี้แจงถึงการลงนามกับผู้นำขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (BRN) ว่าเป็นการเปิดเวทีให้ฝ่ายที่เห็นต่างได้แสดงความเห็น เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาลดสถานการณ์ความรุนแรงก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และในวันที่ 28 มี.ค.นี้ จะเดินทางไปพบและพูดคุยกับกลุ่ม BRN ที่ประเทศมาเลเซีย ในหัวข้อ การลดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ รวมถึงจะเชิญกลุ่มอื่น ๆ มาร่วมหารือด้วย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลส่วน พล.ต.ต.จํารูญ คชาสิทธิ์ ตัวแทนศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นด้วยกับการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 21 แต่ต้องเน้นการประชาสัมพันธ์ข่าวสารถึงประชาชนให้เข้าใจต่อแนวทาง ขณะที่ คณะกรรมาธิการ ได้แสดงความเป็นห่วงอย่างมากต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล โดยต้องการให้เร่งหาสาเหตุที่แท้จริงของผู้ก่อความไม่สงบและสืบทราบให้ได้ว่า ใครเป็นผู้สั่งการเพราะความรุนแรงได้เกิดมาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว  
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook