คณะแพทย์ มช.คิดค้นคัดตัวอ่อนอัลฟ่าธาลัสซีเมียสำเร็จครั้งแรกของปท.

คณะแพทย์ มช.คิดค้นคัดตัวอ่อนอัลฟ่าธาลัสซีเมียสำเร็จครั้งแรกของปท.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 14 ม.ค.52 ที่ห้องประชุม2 อาคารเฉลิมพระบารมี โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) และผู้บริหารโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ นำโดยรศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ ผอ.โรงพยาบาลมหาราชฯ รศ.นพ.ชัยรัตน์ คุณาวิกติคุณ รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์พร้อมด้วยหัวหน้าโครงการวิจัยการคัดตัวอ่อนสำหรับโรคอัลฟาธาลัสซีเมีย คือ รศ.ดร.นพ.วีรวิทย์ ปิยะมงคลและรศ.นพ.ธีระพร วุฒยวนิช จากภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้ร่วมกันแถลงข่าวความสำเร็จในการคิดค้นการคัดตัวอ่อนสำหรับโรคอัลฟาธาลัสซีเมียได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และถือเป็นครั้งที่สองของโลก หลังจากประเทศจีนเคยทำสำเร็จ โดยนำดช.ปกรณ์วิชญ์ คันธามารัตน์ หรือน้องเปรม อายุ 3 เดือนซึ่งเป็นทารกรายแรกที่เกิดจากเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งคิดค้นขึ้นมาดังกล่าวมาโชว์ตัวพร้อมกับพ่อและแม่ของเด็กด้วย

รศ.นพ.วัฒนา นาวาเจริญ ผอ.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัญหาการป่วยเป็นธาลัสซีมียถือเป็นปัญหาที่สะสมของประเทศไทย เด็กที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียจะเจ็บป่วยง่ายและเติบโตช้า แต่ขณะนี้ทีมแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ประสบความสำเร็จในการคิดค้นการคัดตัวอ่อนสำหรับโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมีย ซึ่งถือเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย หลังจากที่ผ่านมาพบว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องประสบกับปัญหาการตั้งครรภ์บุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียเป็นจำนวนมาก

ในส่วนของประเทศไทยนั้นภาคเหนือตอนบนถือเป็นพื้นที่ที่พบประชากรมียีนแฝงธาลัสซีเมีย หรือตรวจพบว่าบุคคลเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียที่สูงสุดในประเทศ จากการตรวจ 1,000 ราย พบว่ามีชายหญิงที่มียีนแฝงเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียในตัวอยู่ถึง 250 รายคิดเป็น 1ใน 4 ของผู้เข้ามารับการตรวจ ซึ่งเมื่อฝ่ายชาย หรือหญิงมียีนแฝงธาลัส ซีเมียมาแต่งงานกันกระทั่งฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ลูกขึ้นมา ทารกก็มีโอกาสที่จะได้รับการถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมีย ทำให้เป็นโรคธาลัสซีเมียระหว่างอยู่ในครรภ์และหลังคลอดได้ ซึ่งอาจรุนแรงหรือไม่แล้วแต่ราย

// //

รศ.นพ.วัฒนา กล่าวว่า สำหรับทารกที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง หรืออัลต่างมียีนแฝงธาลัสซีเมียทั้งคู่ เมื่อแม่ตั้งครรภ์ทารกจะมีอาการตัวซีดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หัวใจวาย บวมทั้งตัวและเสียชีวิตในครรภ์ก่อนคลอด ในส่วนของมารดาที่ตั้งครรภ์ยังเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้คลอดยาก ตกเลือดและครรภ์เป็นพิษอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ที่ผ่านมาการแก้ปัญหานั้นหลังตรวจพบว่าเด็กทารกที่ตั้งครรภ์เป็นโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมียนั้นสิ่งที่ทำได้คือการให้แม่ทำแท้ง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับแม่ แต่หลังการคิดค้นการคัดตัวอ่อนสำหรับโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมียได้สำเร็จนี้ แม่และพ่อของเด็กมีโอกาสที่จะได้บุตรที่คลอดออกมาปกติปลอดจากโรคธาลัสซีเมียได้ถึง 99% ด้วยการตั้งครรภ์ และคลอดภายใต้การใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่คณะแพทย์ มช.ได้คิดค้นขึ้นมาดังกล่าว

รศ.ดร.นพ.วีรวิทย์ ปิยะมงคล หนึ่งในหัวหน้าโครงการวิจัย จากภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มช. กล่าวว่า ขั้นตอนของการดำเนินการคือแพทย์จะฉีดยากระตุ้นฮอร์โมนให้แม่เพื่อให้ได้ไข่ 10-20ฟอง เมื่อได้ออกมาแล้วจะใช้กรรมวิธีการผสมเทียมเด็กแบบหลอดแก้วโดยนำไข่แต่ละฟองที่ได้นำมาฉีดอสุจิเข้าไปฟองละ 1 ตัว เลี้ยงไว้ 3 วันจะได้ตัวอ่อน 8-10เซล จากนั้นจะดูดแต่ละเซลออกมาทำการตรวจดีเอ็นเอ เพื่อดูคุณภาพของตัวอ่อนว่าเป็นเซลที่ปกติ เป็นโรค หรือมียีนแฝงธาลัสซีเมียหรือไม่ ซึ่งช่วงนี้เซลจะมีชีวิตอยู่ 24-48 ชั่วโมงก่อนตัวอ่อนตาย

เมื่อคัดเลือกจนได้เซลตัวอ่อนที่ปกติออกมาแล้วจึงนำไปใส่กลับในโพรงมดลูกของมารดาเพื่อให้ตั้งท้องและคลอดบุตรที่ปลอดธาลัสซีเมีย ซึ่งวิธีการคัดเลือกตัวอ่อนที่ค้นพบนี้พบว่ามีความแม่นยำถึง99% ซึ่งให้ผลแม่นยำกว่าที่จีนเคยทำสำเร็จ กรรมวิธีการตรวจดีเอ็นเอของตัวอ่อนนี้ใช้เครื่องมือลูกโซ่เรืองแสง ซึ่งเป็นเครื่องที่มีราคาสูง 10 กว่าล้านบาทสามารถคัดกรองตัวอ่อนของอัลฟ่าธาลัสซีเมีย จนนำไปสู่การทดลองกับนางอัญชลี คันธามารัตน์ ข้าราชการจาก อ.หางดง จ.เชียงใหม่ซึ่งเป็นภรรยาของนายชานน คันธามารัตน์ โดยทั้งคู่มียีนแฝงธาลัสซีเมีย แต่ฝ่ายภรรยาสามารถตั้งท้องโดยเทคโนโลยีดังกล่าวและสามารถคลอดทารกชายคือดช.ปกรณ์วิชญ์ คันธามารัตน์หรือน้องเปรม ปัจจุบันอายุ 3 เดือนออกมาได้โดยปลอดโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมียและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงเป็นอ /> ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการแถลงข่าวพ่อและแม่ของเด็กทารกดังกล่าวได้มีสีหน้าที่ยินดีพร้อมกล่าวขอบคุณทีมแพทย์ที่ทำให้ได้บุตรออกมามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงไว้เป็นทายาทสืบสกุล ส่วนประชาชนที่ทราบว่าตนเองมียีนแฝงธาลัสซีเมียและต้องการมีบุตรหากจะมารับบริการตั้งครรภ์และคลอดบุตรด้วยเทคโนโลยีการคัดแยกตัวอ่อนนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายขั้นต่ำถึง 2 แสนบาทซึ่งหากคัดเลือกตัวอ่อนไปฝังที่โพรงมดลูกแล้วไม่ติด แพทย์ก็จะต้องทำซ้ำซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีก เฉพาะในส่วนของการผสมเทียมทำเด็กหลอดแก้วก็มีค่าใช้จ่ายที่ 50,000 บาทแล้ว

นอกจากนี้ การเข้ารับบริการตั้งครรภ์และคลอดด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของบริการ 30 บาทรักษาทุกโรค ไม่ได้อยู่ในบริการประกันสังคมและข้าราชการไม่สามารถที่จะเบิกจ่ายในส่วนนี้ได้ เนื่องจากถือว่าไม่ได้เป็นการรักษาโรคและเครื่องมือในการตรวจดีเอ็นเอมีต้นทุนที่สูงเครื่องละ 20 ล้านบาท ส่วนเครื่องทำเด็กในหลอดแก้วมีมูลค่า 20 ล้านบาทเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีครอบครัวที่สนใจเข้าคิวร่วมโครงการตั้งครรภ์ และเตรียมคลอดด้วยวิธีดังกล่าวกับทีมแพทย์ มช.แล้วถึง 20 ครอบครัว ก่อนหน้านี้ 3 ปีคณะแพทย์ทีมเดียวกันนี้ได้ประสบผลสำเร็จจากการคัดเลือกตัวอ่อนเบต้าธาลัสซีเมียซึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดที่ไม่รุนแรงเหมือนอัลฟ่าธาลัสซีเมีย จนทำให้มารดา 1 รายสามารถคลอดบุตรมาได้แล้วครั้งหนึ่งซึ่งเด็กก็มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงดีเช่นกัน

ภูมิใจไทย:ก้าวสำคัญของเนวิน

การเมืองแบบไทยๆ อะไรๆ ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ฟัดกันแทบจะตายกันไปข้าง วันหนึ่งก็อ้าขาผวาปีกเข้าหากันได้อย่างไม่เคอะเขิน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook