ร่วมด้วยช่วยดูแลสุขภาพ ผู้สูงวัยเข้าใจในภาษาเดียวกัน

ร่วมด้วยช่วยดูแลสุขภาพ ผู้สูงวัยเข้าใจในภาษาเดียวกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ถือเป็นดัชนีหนึ่งในการวัดระดับของการพัฒนาประเทศ ด้วยเหตุนี้ภาครัฐและเอกชน จึงร่วมกันหาวิธีการทำให้ประชาชนมีความสามารถในการป้องกัน ดูแล และรักษาสุขภาพอย่างถูกต้อง ซึ่งภาคประชาชนในท้องถิ่นเอง ต้องร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสู่การมีสุขภาพดี โดยเริ่มต้นจากตนเองและคนในชุมชนเป็นอันดับแรก

จากสถานการณ์สุขภาพ ประชาชนใน ต.แม่ทราย อ.ร้องกวาง จ.แพร่ โดยการเก็บข้อมูลของสถานีอนามัย ต.แม่ทราย พบว่าโรคที่พบมาก 6 อันดับ ใน ต.แม่ทราย ได้แก่ โรคปวดกล้ามเนื้อ, ไข้หวัด, ผื่นคัน, ปวดศีรษะ, ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มักพบในผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหาสุขภาพจากโรคเรื้อรังและการเสื่อมสภาพ ของร่างกาย ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวเกิดจากกรรมพันธุ์ พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง และเกิดจากข้อจำกัดให้คำแนะ นำการดูแลสุขภาพ เนื่องจากจำนวนเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยมีไม่ เพียงพอ

จากปัจจัยดังกล่าว ชมรมนักสื่อสารสุขภาพ ต.แม่ทราย จึงร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทราย, สถานีอนามัยตำบลแม่ทราย และชมรมผู้สูงอายุตำบลแม่ทราย โดยการสนับสนุน ของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดทำ โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งภูมิคุ้มกัน สานพลังสร้างนักสื่อสารสุขภาพท้องถิ่นตำบลแม่ทราย เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และสามารถสื่อสารข้อมูลในการดูแลสุขภาพของตนเองและเพื่อนร่วมวัยคนอื่น ๆ ได้

ดังนั้นโครงการฯจึงเน้นจัดตั้งเครือข่ายแกนนำนักสื่อสารสุขภาพตำบลสูงวัยอย่างมีค่าหรือ นสต. โดยใช้หลักคิด เพื่อนดูแลเพื่อน วัยเดียวกัน ภาษาเดียวกัน โดยให้ผู้สูงอายุระดมความคิดร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ด้านสุขภาพในชุมชนของตนเอง แล้วค้นหาผู้สูงอายุที่เป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพมาบอกเล่าวิธีการป้องกันโรคกับคนอื่น ๆ น.ส.ศิริพร กล่าว

หัวหน้าโครงการหนึ่ง ตำบล หนึ่งภูมิคุ้มกันฯ กล่าว อีกว่า จากนั้นโครงการจะพัฒนาศักยภาพ นสต. ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน โดยให้แกนนำหารูปแบบสื่อที่จะทำให้ผู้สูงอายุสนใจ เพื่อสามารถสื่อสารข้อมูลการดูแลรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่าง ทั่วถึง และถูกต้อง ชัดเจน พร้อมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หาวิธีสื่อสาร เช่น การบอกปา่อปาก, เล่าผ่านวิทยุชุมชน หอกระจายข่าว จดหมายข่าว หรือผ่านการละเล่นทางวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น

นายเชาวเลิศ สุทธิสวัสดิ์ ประธานชมรมผู้สูงอายุ ต.แม่ทราย กล่าวว่า หลังเปิดตัวโครงการฯ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีผู้สูงอายุใน ต.แม่ทราย เข้าร่วมโครงการ 80 คน จาก 232 คน ซึ่งผู้สูงอายุในชุมชนมีศักยภาพของตนเองอยู่แล้ว การเปิดโอกาสให้ได้แสดงความสามารถในการดูแลเพื่อนร่วมวัยในชุมชนเดียวกัน นอกจากจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพแล้ว ยังทำให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าใน ตัวเอง สามารถผสมผสานภูมิปัญญาสู่การทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในท้องถิ่น การสื่อสารระหว่างผู้สูงอายุ จะได้รับข้อมูลด้านสุขภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

การให้ผู้สูงอายุที่ดูแลสุขภาพได้ดีเป็นต้นแบบ ด้วยการบอกเล่าประสบการณ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ทำให้ผู้สูงอายุที่ได้รับฟังรู้สึกอยากปฏิบัติตาม เพราะได้รับข้อมูลจากเพื่อนวัยเดียวกัน ด้วยภาษาเดียวกัน อีกทั้งเป็นการเสริมความเข้มแข็งทางใจด้วย เพราะผู้เฒ่า ผู้แก่จะรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ และสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน เรียกได้ว่าเป็นการส่งเสริมทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจให้ผู้สูงวัยไปพร้อม ๆ กัน.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook