ยาเสพติดแบบใหม่ ระบาดในวัยรุ่นมีฤทธิ์ถึงตาย

ยาเสพติดแบบใหม่ ระบาดในวัยรุ่นมีฤทธิ์ถึงตาย

ยาเสพติดแบบใหม่ ระบาดในวัยรุ่นมีฤทธิ์ถึงตาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(ภาพประกอบข่าวเท่านั้น) 

จากกรณีที่มีการขาย "ลูกโป่งหัวเราะ" ซึ่งกำลังระบาดหนักในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จนตำรวจมีการกวาดล้างและจับกุมพ่อค้า แม่ค้าหลายราย ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าเจ้าลูกโป่งหัวเราะนี้มีความอันตรายอย่างไร

ลูกโป่งแก๊สหัวเราะ เป็นลูกโป่งที่บรรจุ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ หรือ ก๊าซหัวเราะ ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้ผู้ที่สูดดมเข้าไปมีอาการเคลิบเคลิ้ม แต่จะออกฤทธิ์ในระยะสั้นเพียง 5 นาที และไม่มีอันตรายต่อร่างกาย แต่หากสูดดมเข้าไปในระดับที่เข้มข้นและเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดอันตราย เพราะก๊าซดังกล่าวจะเข้าไปแย่งออกซิเจนในเลือดถึงขั้นเสียชีวิตได้

ทางการแพทย์เมื่อหลายปีก่อนใช้เป็นยาสลบในการทำฟัน แต่พบข้อด้อยหลายอย่างจึงเลิกใช้ ปัจจุบันนิยมใช้บรรจุในเครื่องทำวิปปิ้งครีมหรือเป็นส่วนผสมหรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเพิ่มความเร็วรถ

สำหรับผู้ที่นำก๊าซไนตรัสออกไซด์ออกมาจำหน่ายหรือนำมาบรรจุในลูกโป่งนั้น ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา ในข้อหาจำหน่ายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต

ยาเสพติดที่ยังคงระบาดต่อเนื่องและยังปราบปรามไม่จบสิ้นนอกเหนือจากยาบ้าแล้วยังมียาเสพติดประเภท 4 คูณ 100 ใบกระท่อมผสมยาแก้ไอน้ำดำ ยากันยุงและน้ำอัดลม ซึ่งผู้เสพจะมีอาการเคลิ้ม มึน งง กล้าพูดกล้าทำ ทำให้มีอาการประสาทหลอน เมื่อดื่มไปนาน ๆ จะทำให้สมองเสื่อมและเสียชีวิตลงในที่สุด

ล่าสุด มียาเสพติดแนวใหม่ที่ระบาดในหมู่นักเรียน เป็นพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ใช้ยารักษาโรคไปในทางลบ ที่กลายเป็นเรื่องเล่าและถูกพูดถึงในโลกโซเชียลมีเดีย กรณีเด็ก ม.2 มีพฤติกรรมตกเป็นธาตุของยาแก้ปวดผสมน้ำอัดลมนอนหมดสติอยู่ในห้องนอน น้ำลายฟูมปาก มีอาการมึนเมาไม่ได้สติ จนกระทั่งแม่ของเด็กไปพบก่อนจะเกิดเหตุร้าย ต่อจากนั้นผู้ปกครองได้ไปแจ้งกับฝ่ายปกครองของโรงเรียนว่ามีเด็กตกเป็นของยาแก้ปวดผสมน้ำอัดลมหลายรายด้วยกัน หวั่นเป็นอันตรายถึงชีวิตและให้ทางโรงเรียนเข้มงวดกวดขันอย่างจริงจัง 

ยาแก้ปวดผสมน้ำอัดลม ความจริงเรื่องนี้เคยได้ยินมาได้สักระยะหนึ่งแล้วแต่เพิ่งจะถูกเปิดโปงจากปากของคนเป็นแม่ที่ลูกต้องตกเป็นทาสของยาแก้ปวด 

ซึ่งยาแก้ปวดชนิดนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง โครงสร้างทางเคมีคล้ายยาเสพติดประเภทมอร์ฟีน มักใช้ในผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง เช่น อาการปวดประจำเดือน ปวดตามข้อ เป็นต้น

ยาดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา แต่ต้องขายและควบคุมการใช้โดยเภสัชกรเท่านั้น 

อย่างไรก็ตาม ต้องขอความร่วมมือกับร้านขายยาทั่วไปด้วยห้ามจำหน่ายให้กับเด็กที่มีพฤติกรรมนำยาดังกล่าวไปใช้ผิดประเภท เนื่องจากพบว่ามีรายงานการเสียชีวิตแล้วในต่างประเทศ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook