สถานการณ์ข่มขืนเอเชีย-แปซิฟิกรุนแรง ผู้ชาย 1 ใน 4 ยอมรับเคยข่มขืน

สถานการณ์ข่มขืนเอเชีย-แปซิฟิกรุนแรง ผู้ชาย 1 ใน 4 ยอมรับเคยข่มขืน

สถานการณ์ข่มขืนเอเชีย-แปซิฟิกรุนแรง ผู้ชาย 1 ใน 4 ยอมรับเคยข่มขืน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กว่า 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจเพศชายในบางประเทศของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยอมรับว่าเคยข่มขืนผู้อื่นอย่างน้อย 1 ครั้ง

ในรายงานด้านความรุนแรงต่อสตรีของสหประชาติ (ยูเอ็น) เพื่อสำรวจการแพร่กระจายและสาเหตุของความรุนแรงที่มีต่อสตรี ระบุว่า การข่มขืนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นระหว่างสามีและภรรยา อย่างไรก็ตาม ผู้ชาย 1 ใน 10 คนยอมรับว่า เคยข่มขืนผู้หญิงคนอื่นที่ไม่ใช่คู่รักของตัวเอง

ทีมวิจัยได้สำรวจความคิดเห็นผู้ชายกว่า 10,000 คน ใน 6 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ จีน ปาปัวนิวกินี กัมพูชา ศรีลังกา และอินโดนีเซีย พบว่าร้อยละ 11 เคยข่มขืนผู้หญิงที่ไม่ใช่คู่แต่งงานหรือคนรักของตน และเมื่อลองสัมภาษณ์คู่รักของพวกเขาปรากฏว่า สถิติการถูกข่มขืนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 24 นอกจากนี้ เมื่อสัมภาษณ์ชายผู้ที่เคยข่มขืนผู้หญิงมาก่อนพบว่า ราวร้อยละ 45 เคยข่มขืนผู้หญิงมากกว่า 1 คน

ในปาปัวนิวกีนี ผู้ชายมากกว่า 6 ใน 10 คน ยอมรับว่าเคยบังคับขืนใจให้ผู้หญิงคนอื่นมีเพศสัมพันธ์ด้วย อย่างไรก็ตาม พบว่าการกระทำเช่นนี้ พบได้ต่ำกว่า 1 ใน 10 คน ในพื้นที่เมืองของบังกลาเทศ และมากกว่า 1 ใน 10 คนเพียงเล็กน้อย ในศรีลังกา ส่วนในกัมพูชา จีน และอินโดนีเซีย มีจำนวนตั้งแต่ 1 ใน 5 กระทั่งครึ่งหนึ่ง

โดยในรายงานส่วนหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Global Health ระบุว่า ข้อมูลครั้งนี้ ไม่สามารถนำมาสรุปรวมสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้ แต่มีประโยชน์ต่อข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ในประเทศที่ทำการศึกษา

คำถามที่ใช้ในแบบสอบถาม อาทิ "คุณเคยมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักเมื่อคุณรู้ว่าเธอไม่ต้องการ แต่คุณคิดว่าเธอควรยินยอม เนื่องจากเธอเป็นคู่รักหรือภรรยาของคุณหรือไม่?" หรือ "คุณเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่อยู่ในอาการเมา โดยไม่รู้ว่าเธอต้องการจะมีเพศสัมพันธ์กับคุณหรือไม่ ?" โดยทีมวิจัยได้บันทึกคำตอบผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพา ขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์เดินออกจากห้อง

กว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เคยข่มขืน กล่าวว่าที่พวกเขาทำเช่นนั้นก็เพราะคิดว่าตนมีสิทธิโดยชอบธรรมทางเพศ ดอกเตอร์ เอ็มมา ฟูลู ผู้เขียนรายงานเปิดเผยว่า คนเหล่านั้นเชื่อว่าตัวเองมีสิทธิในการมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง โดยไม่สนใจว่าพวกเธอจะยินยอมหรือไม่ และแรงจูงใจที่เป็นสาเหตุของการข่มขืนในลำดับที่สองคือการข่มขืนในรูปแบบของความบันเทิง และเพื่อความสนุก เนื่องจากรู้สึกเบื่อหน่าย และตามมาด้วยการข่มขืนในรูปแบบของการลงโทษ หรือเนื่องจากพวกเขากำลังรู้สึกโกรธ

นางเรเชล จิวเกส หัวหน้าคณะนักวิจัยในปาปัวนิวกีนี ระบุว่า เกาะบูเกนวัลล์ ประเทศปาปัวนิวกินี มีสถิติการข่มขืนคนที่ไม่ใช่คนรักของตนมากที่สุด คือร้อยละ 27 ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวมีประวัติการเกิดเหตุความรุนแรงเป็นระยะๆ จากเหตุสงครามกลางเมืองที่ดำเนินมาตั้งแต่ยุค 1980 กระทั่งปี 2005

อย่างไรก็ตาม สถิติดังกล่าว ไม่ได้บ่งชี้ถึงสถานการณ์การข่มขืนของ 6 ประเทศเอเชียที่มีการสำรวจ เพียงแต่ระบุเป็นสถานการณ์คร่าวๆ และสาเหตุของการลงมือกระทำการดังกล่าว ในมุมมองของผู้ชายเท่านั้น เพราะงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้ มักเป็นความเห็นของผู้หญิงฝ่ายเดียว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook