เปิดสำนวนป.ช.เชือดยกพวง ทิพาวดีผิดวินัยร้ายแรง-ฟันอาญาสมใจนึก-อดีตรมช.-ปลัดคลังตั้งซี9ไม่ชอบ (คลิกอ

เปิดสำนวนป.ช.เชือดยกพวง ทิพาวดีผิดวินัยร้ายแรง-ฟันอาญาสมใจนึก-อดีตรมช.-ปลัดคลังตั้งซี9ไม่ชอบ (คลิกอ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คณะกรรมการ ป.ป.ช.ลงมติไม่เอกฉันท์เชือด 6 บิ๊ก ขรก.ยกพวง เชือดคุณหญิง ทิพาวดีผิดวินัยร้ายแรง ทำให้ความเสียหายให้แก่ระบบราชการ ส่วนสมใจนึก -อดีตรมช.คลัง-ปลัดคลังโดนฟันทางอาญาด้วย ศุภรัตน์ ควัฒน์กุลฐานทุจริตต่อหน้าที่ ต้องถูกไล่ออกจากราชการ

นายกล้านรงค์ จันทิก โฆษกและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)แถลงเมื่อวันที่ 14 มกราคมถึงผลการประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 13 มกราคมว่า คณะกรรมการป.ป.ช.มีมติว่า คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน( ก.พ. ) มีความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรี(ครม.)หรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 85 วรรคสอง กรณีการแต่งตั้งแต่งตั้งรองอธิบดีกรมสรรพากร 4 คนไม่ชอบด้วยกฎหมาย

นอกจากนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังมีมติว่า คณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร(นักบริหาร 9 ) ประกอบด้วย นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง ขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการ นายสมหมาย ภาษี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รองปลัดกระทรวงการคลังขณะนั้น นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล อธิบดีกรมสรรพากร ขณะนั้น(ปัจจุบันเป็นปลัดกระทรวงการคลัง) นายวีระ ไชยธรรม ที่ปรึกษาระบบราชการสำนักงาน ก.พ. มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83

ส่วน นายเมธี ภมรานนท์ ผู้แทน ก.พ. ใน อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง ซึ่งในขณะกระทำผิดได้พ้นจากราชการไปแล้ว ไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน มีมูลเป็นความผิด ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86

นอกจากนี้นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ยังมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการด้วย

คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัย และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าว ในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และมาตรา 97 แล้วแต่กรณี ต่อไป

อย่างไรก็ตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช.ครั้งนี้ไม่เป็นเอกฉันท์ เสียงส่วนใหญ่ 5 ต่อ 4 เห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดทางอาญา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดข้าราชการว่าผิดวินัยร้ายแรง อ.ก.พ.กระทรวงต้องมีมติให้ไล่ออกหรือปลดออกจากราชการภายใน 30 วันนับแต่ได้รับเรื่องและแจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบภายใน 15 วัน(มาตรา 93) และ ถ้าเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ต้องถูกไล่ออกสถานเดียวตามมติคณะรัฐมนตรี

นายกล้านรงค์กล่าวว่า เรื่องดังกล่าสืบเนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหา คุณหญิงทิพาวดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ก.พ. ว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีมีหนังสือสำนักงาน ก.พ. แจ้งเวียนไปยังส่วนราชการโดยปรับปรุงหลักเกณฑ์วิธีการและขั้นตอนการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญที่จะแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 และกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้ารับการคัดเลือกไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และกล่าวหา นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง กับพวก ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) ดำเนินการคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรโดยมิชอบ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550มี นายภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว ปรากฏร/> 1.กรณีกล่าวหา คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ก.พ. ว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ก.พ. ได้นำเสนอเรื่องระบบนักบริหารระดับสูงต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขอความเห็นชอบและอนุมัติให้นำระบบดังกล่าวมาใช้ในราชการพลเรือนไทย โดยสำนักงาน ก.พ. จะจัดทำบัญชีของผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 1 (นักบริหาร 9) จากผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมนักบริหารระดับสูง และผ่านการประเมินสมรรถนะของนักบริหาร โดยผู้ที่ผ่านการประเมินจะมีชื่ออยู่ในบัญชีนักบริหาร และบัญชีจะมีอายุ 2 ปี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 มีมติเห็นชอบให้สำนักงาน ก.พ. นำระบบนักบริหารระดับสูงดังกล่าวมาใช้ในราชการพลเรือน โดยในระยะแรกให้ใช้บัญชีเพื่อการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544

ต่อมาคุณหญิงทิพาวดี ได้ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เวียนแจ้งส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 เพิ่มเติม นอกเหนือจากหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และจากหลักเกณฑ์ตามหนังสือเวียน ว.9 ดังกล่าวทำให้มีผู้ที่ได้รับความเสียหาย( นายไพรัช สหเมธาพัฒน์ อดีตข้าราชการกรมสรรพากร) ได้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง

จนในที่สุดศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษาว่า การที่สำนักงาน ก.พ. กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมให้ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่ ก.พ. รับรอง รวมทั้งให้ส่วนราชการที่มีตำแหน่งว่างสามารถเสนอชื่อข้าราชการให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนักบริหารระดับสูง (ผู้บริหาร 9) ได้ด้วยนั้น เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกสรรผู้บริหารระดับสูง กลุ่มที่ 1 (นักบริหาร 9) ไม่ชอบด้วยมติคณะรัฐมนตรี และการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมดังกล่าว ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหาร ดังนั้น หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญดังกล่าวตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 0701/ว9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลจากการกระทำของคุณหญิงทิพาวดีเมฆสวรรค์ ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว ได้สร้างความเสียหายแก่คณะรัฐมนตรี และระบบราชการในด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคลอย่างร้ายแรง ส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงในด้านข้อกฎหมาย ทำให้เกิดการยกเลิกเพิกถอนหลักเกณฑ์ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ.ว.9 และคำสั่งทางการปกครอง (คำสั่งกระทรวงการคลัง) ที่ออก โดยอาศัยหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทำให้สถานภาพความเป็นข้าราชการและการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งของผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความกระทบกระเทือนอย่างร้ายแรง

การกระทำของ คุณหญิงทิพาวดี จึงเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 มาตรา 85 วรรคสอง

2.กรณีกล่าวหา คณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) ว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต

ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า คณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) ประกอบด้วย นายสมใจนึก เองตระกูล นายสมหมาย ภาษี นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล นายวีระ ไชยธรรม และนายเมธี ภมรานนท์ ผู้แทน ก.พ. ใน อ.ก.พ.กระทรวงการคลัง

กรรมการชุดดังกล่าว ได้ดำเนินการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 (กระทรวงการคลัง) และพิจารณาคัดเลือกข้าราชการฯ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร จำนวน 4 อัตรา โดยมีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก จำนวน 10 ราย มีคุณสมบัติครบถ้วน 9 ราย ซึ่งกรมสรรพากร ได้เสนอรายชื่อ 5 ราย

และสมัครด้วยตนเอง 4 ราย

คพิจารณาแล้ว มีมติเห็นสมควรให้แต่งตั้งผู้สมัครที่กรมสรรพากรเสนอ จำนวน 4 ราย ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร โดยมิได้ปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 ที่กำหนดให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมสำหรับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 3 ชื่อต่อ 1 ตำแหน่ง พร้อมทั้งระบุเหตุผลของความเหมาะสมของบุคคลในแต่ละตำแหน่งเพื่อเสนอให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 พิจารณา และต่อมากระทรวงการคลัง ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร ตามที่เสนอ

ในเรื่องนี้ได้มีผู้สมัครที่ได้รับความเสียหายจากการพิจารณาคัดเลือกดังกล่าว ฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ซึ่งต่อมาศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำพิพากษา โดยเห็นว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ ดำเนินการคัดเลือกไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 ทั้งไม่เป็นไปตามกระบวนการเลือกสรรนักบริหารเพื่อการแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี

นอกจากนี้ มีการกระทำในลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้สมัครจนได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร จากพฤติการณ์ของคณะกรรมการคัดเลือกดังกล่าว เชื่อว่าการดำเนินการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากร (นักบริหาร 9 ) ครั้งนี้ ได้มีการกำหนดตัวบุคคลที่สมควรแต่งตั้งไว้เป็นการล่วงหน้าแล้ว อันไม่เป็นธรรแก่ผู้ฟ้องคดีและผู้สมัครด้วยตนเองรายอื่น จึงทำให้คำสั่งแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของ นายสมใจนึก เองตระกูล นายสมหมาย ภาษี นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล และนายวีระ ไชยธรรม มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 83

ส่วนนายเมธี ภมรานนท์ ซึ่งในขณะกระทำผิดได้พ้นจากราชการไปแล้ว ไม่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน มีมูลเป็นความผิด ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบมาตรา 86

นอกจากนี้นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ยังมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง ฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการด้วย

คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงมีมติให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชา เพื่อพิจารณาโทษทางวินัย และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ถูกกล่าวหาดังกล่าว ในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และมาตรา 97 แล้วแต่กรณี ต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook