ชวลิตให้ข้อมูลคดีสลายม็อบเสื้อเหลือง 7 ต.ค.51

ชวลิตให้ข้อมูลคดีสลายม็อบเสื้อเหลือง 7 ต.ค.51

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
(14ม.ค.) ที่สำนักงานป.ป.ช. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงในสมัยรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้าพบคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีเหตุสลายม็อบเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 ที่หน้ารัฐสภา กระทั่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว

นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษก ให้สัมภาษณ์ก่อนรับฟังข้อมูล ว่า การที่ พล.อ.ชวลิต เดินทางมาให้ข้อมูลในวันนี้เป็นเพียงการมาในฐานะพยานเท่านั้น ส่วนอนาคต พล.อ.ชวลิต จะกลายเป็นผู้ถูกกล่าวหาด้วยหรือไม่นั้นคงต้องพิจารณาจากข้อมูลหลักฐานก่อน อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการฯจะเร่งรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ได้พิจารณาโดยเร็ว เนื่องจากคดีนี้เป็นที่สนใจของประชาชน

// //

พล.อ.ชวลิต ให้สัมภาษณ์ภายหลังให้ข้อมูลต่อ ป.ป.ช.นานกว่า 3 ชั่วโมง ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้เชิญมาคุยรายละเอียดถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ไม่เคร่งเครียด และ ป.ป.ช.คงไม่มีคิวเชิญตนมาพูดคุยอีก เพราะวันนี้ ป.ป.ช.ได้สอบถามทุกอย่างไปอย่างละเอียดแล้วว่าอะไรเป็นอะไร

เมื่อถามว่าได้มีการถามถึงกรณีการประชุม ครม.นัดพิเศษเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2551 ก่อนที่จะมีการสลายการชุมนุมหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า อย่านำรายละเอียดมาพูดกันตรงนี้ มันไม่ดี ตนเพียงแค่มาทำความเข้าใจให้ ป.ป.ช.ได้เข้าใจถึงสถานการณ์ และทราบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เพื่อให้รู้ขั้นตอนการปฏิบัติการของตำรวจที่มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติอะไร อย่างไร เพื่อให้เข้าใจในความเป็นจริงของทุกๆอย่าง

เมื่อถามว่าวันนี้มาในฐานะผู้ให้ถ้อยคำหรือพยานแล้วเกรงหรือไม่ว่าจะต้องกลายเป็นจำเลยในอนาคต พล.อ.ชวลิต หัวเราะและกล่าวว่า สื่อทำไมถามใจร้ายอย่างนี้ ตนเพียงมาชี้แจงในฐานะผู้ให้ถ้อยคำ เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้เข้าใจความเป็นมาเป็นไป ซึ่งถ้าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องการจะให้ตนให้ข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถบอกมาได้ทันที

เมื่อถามว่ารู้สึกกังวลใจต่อเรื่องดังกล่าวหรือไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า วันนี้ที่ตนกังวลใจมีอยู่เรื่องเดียวคือ เรื่องทรงผมที่ยังไม่สวย ทั้งที่ได้พยายามตัดให้สวยแล้ว

คำมั่นอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องคุ้มครองสื่อให้ปลอดจากอำนาจรัฐ-อำนาจทุน

สำหรับข่าวโทรทัศน์วันนี้ที่มีการคุยข่าวไปเรื่อยๆ เป็นอันตราย แม้ข้อดีคนจะได้มีความเพลิดเพลิน แต่อันตรายของการคุยข่าวคือการชี้นำ เพราะไม่เหมือนกับการอ่านข่าวหรือประกาศข่าวอย่างที่เราเห็นในอดีต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook