ปปง.ไร้ผลงานตลอดปี′51 ยึดทรัพย์"ผู้ต้องสงสัยฟอกเงิน"ไม่ได้เลย แม้แต่บาทเดียว

ปปง.ไร้ผลงานตลอดปี′51 ยึดทรัพย์"ผู้ต้องสงสัยฟอกเงิน"ไม่ได้เลย แม้แต่บาทเดียว

ปปง.ไร้ผลงานตลอดปี′51 ยึดทรัพย์"ผู้ต้องสงสัยฟอกเงิน"ไม่ได้เลย แม้แต่บาทเดียว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตลอดปี2551 ปปง.ไม่มีผลงาน เผยไม่เคยอายัดทรัพย์ผู้ต้องสงสัยส่อฟอกเงินได้แม้แต่รายเดียว เหตุไร้คณะกรรมการธุรกรรม แหล่งข่าวเผยรัฐบาลพปช.อ้างเหตุผลการเมือง ดองเรื่องไว้ หวั่นเป็นหนามยอดอกในอนาคต

รายงานข่าวจาก สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แจ้งว่า ในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา คณะกรรมการ ปปง.ไม่สามารถยึดอายัดทรัพย์ผู้ต้องสงสัยกระทำความผิดเข้าข่ายฟอกเงินได้แม้แต่รายเดียว เนื่องจากไม่มีคณะกรรมการธุรกรรม เพราะอยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการธุรกรรมชุดใหม่ ทำให้เลขาธิการคณะกรรมการ ปปง.ไม่สามารถส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณาเพื่อยื่นคำร้องของให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 49 ของ พ.ร.บ.ปราบปรามการฟอกเงินได้ อย่างไรก็ดี เลขาธิการ ปปง.ยังสามารถใช้อำนาจตามมาตรา 48 วรรค พิจารณายึดอายัดทรัพย์สิน กรณีที่เห็นว่าอาจมีการโอนยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สิน แต่ต้องเป็นวาระเร่งด่วนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ข่าวแจ้งว่า สาเหตุที่ยังแต่งตั้งกรรมการธุรกรรมใหม่ไม่ได้มาจาก 2 สาเหตุ คือ 1.เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 สำนักงาน ปปง.ได้สอบถามคณะกรรมการกฤษฎีกาถึงอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการ ปปง.ในการยึดอายัดทรัพย์สิน อำนาจหน้าที่คณะกรรมการธุรกรรม และอำนาจของคณะกรรมการ ปปง.ชุดเดิมจะปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 (แก้ไขสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2551 ได้กำหนดที่มาและคุณสมบัติคณะกรรมการใหม่ ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2551 กฤษฎีกาแจ้งคำวินิจฉัยกลับมาว่า คณะกรรมการ ปปง. คณะกรรมการธุรกรรมชุดเดิมไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ 2.หลังกฤษฎีกาตีความแล้ว ปปง.ยังต้องรอให้กรรมการ 2 ชุดเดิมหมดวาระในเดือนตุลาคม 2551 เสียก่อน พอหมดวาระก็มาเจอปัญหาการเมืองวุ่นวาย เรื่องจึงค้างอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ข่าวแจ้งด้วยว่า สรุปแล้วในปี 2551 ปปง.ไม่สามารถยึดอายัดทรัพย์สินได้แม้แต่รายเดียว เมื่อเทียบกับปี 2550 ช่วงวันที่ 27 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2550 สามารถยึดอายัดทรัพย์สินได้ถึง 696 คดี มูลค่าทรัพย์สิน รวม 4,125,047,962 บาท แยกเป็นคดีที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน 404 คดี มูลค่า 1,804,285,442 บาท ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง 16 คดี มูลค่า 347,556,033 บาท ในจำนวนคดีทั้งหมดที่ศาลสั่งยึดทรัพย์แล้ว แยกเป็นคดียาเสพติด 386 คดี มูลค่า 1,395,598,202 บาท สำหรับ พ.ร.บ.ปปง.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของคณะกรรมการธุรกรรม กำหนดให้มี 5 คน ประกอบด้วย ผู้ได้รับการเสนอชื่อจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม, คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการอัยการ คณะละ 1 คน และเลขาธิการ ปปง. เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง เมื่อได้ครบแล้วให้ประชุมเลือกกรรมการ 1 คน เป็นประธาน มีเลขาธิการ ปปง.ทำหน้าที่เลขานุการ แตกต่างจากกฎหมายฉบับเดิมกำหนดให้เลขาธิการ ปปง. เป็นประธานคณะกรรมการธุรกรรม ไม่มีคนนอกหน่วยงานเข้ามาคานอำนาจ แหล่งข่าวจาก ปปง.เปิดเผยว่า สาเหตุสำคัญที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคพลังประชาชนที่ผ่านมา ไม่ยอมเร่งรัดแต่งตั้งคณะกรรมการธุรกรรมตลอดปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากวิตกกังวลว่าคณะกรรมการธุรกรรมชุดใหม่มีที่มาจากองค์กรฝ่ายตรงข้ามกับระบอบทักษิณ และขั้วอำนาจเก่า เกรงว่าคณะกรรมการธุรกรรมจะกลายเป็นหนามยอกอกตัวเองในอนาคต จึงอ้างเหตุผลทางการเมืองไม่เร่งรัดแต่งตั้งตามกฎหมาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook