คืบหน้า ร.ต.อ.เฉลิมฯ อาการทรงตัวไม่พบเลือดออกในสมอง

คืบหน้า ร.ต.อ.เฉลิมฯ อาการทรงตัวไม่พบเลือดออกในสมอง

คืบหน้า ร.ต.อ.เฉลิมฯ อาการทรงตัวไม่พบเลือดออกในสมอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ก่อนหน้านี้ ร.ต.อ.เฉลิม ซึ่งเข้ารับการผ่าตัดอาการเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองที่โรงพยาบาลรามาธิบดี และพักฟื้น กระทั่งกลับเข้าทำงานที่กระทรวงได้ประมาณ 1 สัปดาห์ มีอาการทรุดลงอีก โดยเมื่อเวลาประมาณ 13.45 น.วันที่ 21 ต.ค. ระหว่าง ร.ต.อ.เฉลิมนั่งหารือกับ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ถึงการจัดประชุมแนวทางป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ห้องทำงานชั้น 6 กระทรวงแรงงาน ร.ต.อ.เฉลิมได้มีอาการชักและเกร็งที่ลำตัว แขนด้านซ้ายและปากเบี้ยวไปทางด้านซ้ายและกัดฟัน ผู้อยู่ในเหตุการณ์ได้ใช้ช้อนใส่ปากป้องกันไม่ให้เป็นอันตราย จากนั้นช่วยกันหามขึ้นรถส่งโรงพยาบาลรามาฯ

รายงานข่าวแจ้งว่า ทางแพทย์ได้ทำสแกนเอ็มอาร์ไอ พบว่าเลือดที่ออกในสมองจากอาการป่วยคราวก่อนยังไม่แห้ง โดยเฉพาะที่ด้านขวา ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าที่ส่งผลต่อร่างกายด้านซ้าย สาเหตุคาดว่าเกิดจากอาการป่วยที่ยังไม่หายดี อาการเครียด และมีอาการนอนไม่หลับสะสมมาตั้งแต่การป่วยครั้งที่แล้ว โดยแพทย์แนะนำให้ ร.ต.อ.เฉลิมพักยาว เพื่อให้ฟื้นตัว และให้อาการเลือดออกในสมองหายมากกว่านี้

บรรยากาศที่ รพ.รามาธิบดี บริเวณชั้น 5 อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ เต็มไปด้วยญาติ ทีมงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน อาทิ นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งไปเฝ้าติดตามอาการ

นายประวิทย์กล่าวว่า อาการไม่น่าเป็นห่วง ยังสามารถสั่งงานได้ตามปกติ สาเหตุที่เกิดอาการข้างต้น เนื่องจาก ร.ต.อ.เฉลิมลืมกินยา โดยแพทย์เตรียมสั่งงดเยี่ยม เพื่อให้คนไข้ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
ขณะที่ รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า ร.ต.อ.เฉลิมเข้ามารับการรักษาด้วยอาการเกร็งที่นิ้วมือซ้าย ซึ่งสามารถเดินลงจากรถได้ตามปกติ สามารถสวัสดีทักทายได้ตามปกติ และรู้สติดี อีกทั้งแพทย์ได้นัด ร.ต.อ.เฉลิมไปตรวจอาการตามปกติ ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง และไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการตรวจเอกซเรย์สมองว่ามีเลือดออกใต้เหยื่อหุ้มสมองอีกหรือไม่ แพทย์เจ้าของไข้ให้นอนพักที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการก่อน 1-2 วัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook