ย้อนกาลเวลา ณ อนุสรณ์สถาน ไปรสนียาคาร

ย้อนกาลเวลา ณ อนุสรณ์สถาน ไปรสนียาคาร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หรือสมเด็จวังบูรพา และฉลองครบ 125 ปีของการดำเนินกิจการ ไปรษณีย์ไทยชวนย้อนอดีตสู่ยุคแรกของการไปรษณีย์แห่งสยามประเทศ พร้อมเผยโฉม ไปรสนียาคาร อนุสรณ์สถานแห่งกาลเวลา ให้ร่วมเข้าชมและศึกษาความเป็นมาของพัฒนาการการสื่อสารไทย โดยมี สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี มาร่วมงานบริเวณสะพานพระปกเกล้า เมื่อวันก่อน

ไปรสนียาคาร ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2426 ตั้งอยู่ปากคลองโอ่งอ่าง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร เพื่อเป็นสถานที่ผลิตพนักงานไปรษณีย์ให้บริการประชาชน ต่อมาได้เป็นกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเข้าด้วยกัน และเปิดให้บริการทั้งไปรษณีย์และกรมโทรเลขเข้าด้วยกัน แม้วันวานแห่งความรุ่งเรืองของไปรสนียาคารจะผ่านไปตามกาลเวลา หรือแม้อาคารหลังนี้จะถูกทุบทำลายลง เพื่อเปิดทางให้การสร้างสะพานพระปกเกล้า แต่อาคารที่ทำการไปรษณีย์แห่งแรกของประเทศไทยยังคงอยู่และเป็นอนุสรณ์สถานที่จารึกประวัติศาสตร์สำคัญบทหนึ่งของไทยตลอดไป

ภายในงานจึงเต็มไปด้วยเรื่องราวในอดีตที่เกี่ยวข้องกับไปรษณีย์ไทย ทั้งตราไปรษณียากรชุดแรก ไปรษณียบัตรใบแรก แสตมป์ที่ระลึกเพื่อการสะสมต่างๆ พร้อมทั้งประวัติการดำเนินการของกิจการไปรษณีย์ไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมทั้งยังมีซุ้มจำหน่ายของที่ระลึกเพื่อนักสะสมอีกด้วย แม้กระทั่ง โปสแมน หรือบุรุษไปรษณีย์รุ่นแรกๆ มาเล่าเรื่องราวการทำงานในสมัยนั้นว่า สมัยก่อนเวลาส่งจดหมายจะใช้วิธีเดินส่งตามบ้าน หรือขี่จักรยานส่งจดหมายตามซอกตามซอยต่างๆ โดยมีการแบ่งระยะการเดินกัน มีบุรุษไปรษณีย์ประมาณ 100 คน ใช้เวลาส่งจดหมายประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน

// //

พิพิธภัณฑ์ ไปรสนียาคาร เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชมจนถึงวันที่ 18 มกราคมนี้ ที่อาคารไปรสนียาคาร (บริเวณเชิงสะพานพระปกเกล้า) ตั้งแต่เวลา 11.00 - 21.00 น.

ภูมิใจไทย:ก้าวสำคัญของเนวิน

การเมืองแบบไทยๆ อะไรๆ ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ฟัดกันแทบจะตายกันไปข้าง วันหนึ่งก็อ้าขาผวาปีกเข้าหากันได้อย่างไม่เคอะเขิน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook