โรงเรียน I see U มติชน 30 ปี

โรงเรียน I see U มติชน 30 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ปิดฉากโรงเรียน I see U มติชน 30 ปี ส่งท้ายปีหนู ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนโครงการจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พา 100 โรงเรียนในโครงการพ้นวิกฤตกลับมีแรงต่อสู้อีกครั้ง โครงการ โรงเรียน I see U มติชน 30 ปี ปิดฉากส่งท้ายปีหนู ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนโครงการจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พา 100 โรงเรียนในโครงการพ้นวิกฤตกลับมีแรงต่อสู้อีกครั้ง

การให้ความช่วยเหลือโรงเรียนในโครงการเป็นเพียงแค่การนำร่องและริเริ่มโครงการดีๆลงไปสู่โรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐษนและกำลังจะปิดตัวลงอย่างน่าเสียดาย โครงการนี้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าหลังจากปิดโครงการไปแล้วจะได้เห็นสังคมหันมาให้ความสนใจและร่วมสนับสนุนการศึกษาไทย เพียงแค่ทุกคนหันไปมองรอบๆกายแล้วจะพบว่าน้ำใจเพียงน้อยนิดจะช่วยต่อชีวิตการศึกษาไทยได้

ดังตัวอย่างบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่ติดต่อทางโครงการฯให้ช่วยเหลือ โรงเรียนบ้านหนองบัวคำต.ท่าเดื่อ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ เข้าร่วมในโครงการโรงเรียน I see U มติชน 30 ปี แม้ว่ะดำเนินโครงการเสร็จสิ้นไปแล้ว 100 แห่ง ในโอกาสที่ มติชน ดำเนินกิจการเข้าปีที่ 30 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 มติชน ได้ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ และ มูลนิธิบรรจง พงศ์ศาสตร์

ในการนี้โรงเรียนบ้านหนองบัวคำ เป็นโรงเรียน I see U เฉพาะกิจที่ถูกดึงเข้ามาอยู่ร่วมในโครงการฯด้วยความอนุเคราะห์ของเอกชนที่อยากจะช่วยพัฒนาโรงเรียนบนดอย ซึ่งจัดว่าอยู่ในกลุ่มของโรงเรียนที่ห่างไกลความเจริญหรือที่เรียกว่า ถิ่นทุรกันดาร ซ่อนตัวอยู่กลางน้ำซึ่งมีทะเลสาบดอยเต่าล้อมรอบ มีครูแค่ 1 คน คนเดียวเท่านั้นที่สอนนักเรียนทั้งโรงเรียนซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 15 คน

ทางโครงการฯจึงสำรวจความต้องการของโรงเรียนบ้านหนองบัวคำ โดยมีบริษัทเอกชนเป็นผู้ให้การสนับสนุนในเรื่องงบประมาณแปลงโฉมโรงเรียนดอยให้ทัยสมัยและมีคุณภาพที่ดีขึ้น เริ่มจากการดับตะเกียงติดตั้งไฟฟ้าให้โรงเรียนด้วยแผงโซล่าเซล เพื่อให้นักเรียนได้มีดูโทรทัศน์และเรียนคอมพิวเตอร์ มีจานดาวเทียม รับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอก

มีหนังสือเล่มใหม่ไว้อ่านมากมาย มีอุปกรณ์กีฬาหลายชนิไว้เล่นนอกเหนือจากการวิ่งไล่จับกันในสนามกีฬาโรงเรียนที่แสนกว้างขวางพอๆกับสนามฟุตบอล และนี่ก็เป็นเพียงแค่ไม่กี่ตัวอย่างที่โครงการฯจัดสรรให้กับโรงเรียนแห่งนี้ได้มีชีวิตชีวาสร้างขวัญและกำลังใจให้พ่อเฒ่าแม่เฒ่าทั้งหลายว่าลูกๆหลานๆจะได้รับการศึกษาไม่แพ้เด็กในเมือง รวมทั้งครูหนุ่ม จตุรงค์ คำมะนาง ครูคนเดียวของโรงเรียนให้มีแรงสู้และไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว

โรงเรียนบ้านหนองบัวคำ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆและหวังว่าจะขยายสู่สังคมใหญ่ให้ทุกคนได้ตื่นตัวในการช่วยเหลือ เก็บตกโรงเรียนอื่นๆ ที่อาจตกสำรวจอีกหลายแห่งรอมือผู้ใจดีหยิบยื่นความช่วยเหลือไม่ว่าโรงเรียนแห่งนั้นจะซุกซ่อนอยู่ที่ใดและห่างไกลเพียงใด

นี่เป็นความภาคภูมิใจและอิ่มเอมใจที่คนไทยมอบให้แก่กันอย่างไม่มีวันหมด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook