พบยีนผ่าเหล่าเหตุคนเอเชียใต้เป็นโรคหัวใจตอนแก่

พบยีนผ่าเหล่าเหตุคนเอเชียใต้เป็นโรคหัวใจตอนแก่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน เมื่อวันที่ 18 ม.ค.ถึงผลการศึกษาที่จัดทำโดยคณะนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ 25 คนจาก 4 ประเทศ ภายใต้การนำของกุมารรัศมี ทันการาช แห่งศูนย์ชีวะวิทยาเกี่ยวกับเซลล์และโมเลกุล ในเมืองไฮเดอราบัตของอินเดีย โดยนำออกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันอาทิตย์ ระบุว่า มียีนกลายพันธุ์เพียงตัวเดียว ที่ทำให้ร้อยละ 4 หรือประชากรประมาณ 60 ล้านคนในแถบอนุทวีปของอินเดีย มีแนวโน้มจะเป็นโรคหัวใจ

ทั้งนี้ ปัญหาเกิดจากการผ่าเหล่าของยีนชื่อ MYBPC3 ที่พบเกือบจะเฉพาะแต่ในประชากรรวมมากกว่า1,500 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเอเชียใต้ หรือมาจากเอเชียใต้ และเป็นยีนตัวที่แทบจะแน่นอนว่า จะทำให้เกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างในช่วงบั้นปลายชีวิต การผ่าเหล่าทำให้เกิดการก่อตัวของโปรตีนผิดปกติ ร่างกายของผู้ที่ยังหนุ่มสาวสามารถควบคุมโปรตีนตัวนี้ได้ ทำให้ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย แต่เมื่อแก่ตัวลงจะมีการสะสมของโปรตีน และในที่สุดก็เกิดอาการป่วย

นอกจากนี้ ผลศึกษานี้ช่วยยืนยันสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยมานานแล้วว่า อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และอาจรวมถึงบังคลาเทศด้วย มีสัดส่วนคนเป็นโรคหัวใจสูงผิดปกติกว่าชาวโลกชาติอื่นๆ ขณะที่ผลศึกษารายการหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ คาดการณ์ว่าภายในสิ้นปีนี้ เฉพาะอินเดียชาติเดียวมีคนเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจร้อยละ 60 ของทั้งหมด ซึ่งอาจเกิดจากยีนหรือสไตล์การใช้ชีวิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook