กมธ.ตปท.เรียกทหารเข้าชี้แจงข่าวทารุณ โรฮิงญา
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    https://s.isanook.com/ns/0/ud/27/138291/b_337904_001.jpgกมธ.ตปท.เรียกทหารเข้าชี้แจงข่าวทารุณ โรฮิงญา

    กมธ.ตปท.เรียกทหารเข้าชี้แจงข่าวทารุณ โรฮิงญา

    2009-01-21T21:07:37+07:00
    แชร์เรื่องนี้
    กมธ.ตปท.เรียกทหารเข้าชี้แจงข่าวทารุณโรฮิงญา แนะบัวแก้วเปิดเวทีหารือตปท. เชื่อโรฮิงญาหนีออกนอกปท.เพราะพิษศก. (21ม.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการต่างประเทศที่มีนายต่อพงศ์ ไชยสาส์น เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ โดยเชิญพ.อ.มนัส คงแป้น ผู้อำนวยการกองรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 และนายอิทธิพร บุญประคอง รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศมาชี้แจงกรณีที่สำนักข่าวต่างประเทศเสนอข่าวว่าทหารเรือไทย ทารุณกรรมกับชาวโรฮิงญา ภายหลังการประชุมนายดนุพร ปุณณกันต์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ แถลงว่า กมธ.ได้รับทราบข้อมูลว่ามีผู้อพยพเข้ามาในไทยมีตัวเลขสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากต้องการเข้ามาทำงานค้าแรงงาน ซึ่งกมธ.ได้สอบถามว่าทราบอย่างไรว่าชาวโรฮิงญาต้องการเข้ามาค้าแรงงาน ก็ได้รับการชี้แจงว่ากลุ่มที่ถูกจับกุมมีอายุระหว่าง 15-40 ปีและเป็นชายฉกรรจ์ ทั้งหมด ดังนั้นจึงประเมินได้ว่าต้องการเข้ามาทำงานในประเทศไทย และกองทัพได้ดูแลกลุ่มคนดังกล่าวเป็นอย่างดี แต่ภาพที่ออกไปอาจหน้ากลัวเพราะการถอดเสื้อเป็นขั้นตอนของการค้นอาวุธ และเมื่อค้นอาวุธเรียบร้อยก็พาไปเลี้ยงอาหาร และถามถึงจุดประสงค์ว่าจะเดินทางไปที่ใด ซึ่งได้จัดเสบียงให้ไปด้วยเพื่อให้สามารถเดินทางกลับประเทศได้ โดยไม่มีการกระทำทารุณรุนแรง ด้านนางสาวรัชดา ธนาดิเรก ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ โฆษกกรรมาธิการต่างประเทศ กล่าวว่า การเข้ามาของชาวโรฮิงญาคาดว่าน่าจะมาจากสภาพเศรษฐกิจ ดังนั้นหากไม่มีการแก้ไขในอนาคตอาจจะทำให้กลุ่มคนดังกล่าวเข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมาธิการต่างประเทศจึงได้เสนอแนะว่าควรแก้ที่ต้นตอของปัญหาเพราะกรณีชาวโรฮิงญาอาจไม่ได้รับการดูแลและคาดโอกาสการดูแลอย่างเท่าเทียมกับคนในพม่า ซึ่งคนในกระทรวงต่างประเทศจะต้องพบปะพูดคุยกับประเทศที่เกี่ยวข้องว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เพื่อไม่ให้ลี้ภัยจากประเทศพม่ามาประเทศอื่น นอกจากนี้ต้องดูแลแรงงานให้เป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบเข้ามา ขณะเดียวกันกระทรวงการต่างประเทศจะต้องสื่อสารกับองค์กรพัฒนาเอกชน(เอ็นจีโอ) องค์กรสิทธิมนุษยชนต่างชาติว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยไม่เป็นความจริงเหมือนกับที่มีข่าวเกิดขึ้น ผู้สื่อข่าวถามถึงวิธีการผลักดันชาวโรฮินญาออกนอกประเทศไทย นายดนุพร กล่าวว่าเท่าที่ได้สอบถามมี 3 วิธี คือ1.ป้องกัน ซึ่งวิธีนี้ทำได้น้อยเพราะมีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง 2.วิธีให้ความช่วยเหลือ และ3.ประสานให้กลับบ้านเกิด แต่อย่างไรทางกรรมาธิการก็ให้ฝากให้กระทรวงต่างประเทศประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ และรัฐบาลเองก็ต้องเจรจากับประเทศที่เกี่ยวข้อง อาทิ พม่า อินเดีย บังคลาเทศเพื่อแก้ไขปัญหาให้เป็นระบบและหากประชาคมอาเซียนมีความเข้มแข็งมากขึ้นก็น่าจะผลักดันการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้สำเร็จได้