มาร์ค ถกสมช.เคลียร์โรฮิงญา สั่งจัดการจนท. ร่วมค้ามนุษย์

มาร์ค ถกสมช.เคลียร์โรฮิงญา สั่งจัดการจนท. ร่วมค้ามนุษย์

มาร์ค ถกสมช.เคลียร์โรฮิงญา สั่งจัดการจนท. ร่วมค้ามนุษย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประชุมสมช.นัดแรก เร่งเคลียร์ปัญหา โรฮิงญา เล็งตั้ง coast guard เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยชายฝั่ง กร้าวจัดการเด็ดขาด จนท.ร่วมขบวนการค้ามนุษย์ เผย เน้นใช้แนวทางการพัฒนาดับปัญหาไฟใต้ (22ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธานการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ครั้งแรก โดยมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายกร จาติกวาณิช รมว.คลัง นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาฯ สมช. นายอดุลน์ กอวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.และผู้แทนจากกองทัพ เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 2 ชั่วโมง นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม ว่า การประชุมไม่มีอะไรพิเศษเป็นเรื่องที่มาดูถึงปัญหาความมั่นคงในหลายๆ ส่วน ซึ่งมีเรื่องของภาคใต้ที่ได้มีการทำความเข้าใจตรงกันของนโยบายรัฐบาล รวมทั้งเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสื่อมวชนและประชาชนคือเรื่องของโรฮิงยา ทั้งนี้ ในส่วนของปัญหากลุ่มผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายโรฮิงยานั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือการชี้แจงข้อเท็จจริงซึ่งจะมีการประสานงานให้กระชับมากขึ้น หน่วยงานที่มีข้อมูลก็จะต้องส่งให้กับกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ชี้แจง ในส่วนที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) มีความสนใจก็จะดำเนินการพูดคุยเพราะเราเองก็ต้องการให้ทางยูเอ็นเอชซีอาร์ดูแลจากต้นทาง ซึ่งความเป็นจริงเขาก็ต้องดูแลเรื่องเหล่านี้ตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งถ้ามีการดูแลตั้งแต่ต้นทางปัญหาต่างๆที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับเราก็จะลดลงไป ซึ่งเราก็จะขอให้ยูเอ็นเอชซีอาร์ดูแลเรื่องนี้ด้วย เพราะเราเองก็พยายามที่จะร่วมมือกับประเทศต่างๆที่จะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เมื่อถามว่าเราจะอนุญาตให้ทางยูเอ็นเอชซีอาร์พบกับทางกลุ่มโรฮิงยาหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะให้คุยผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งคิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนที่สองคือปัญหาที่คนของเราเองอาจจะไปเกี่ยวข้องกการค้ามนุษย์ ก็ได้กำชับว่าจะต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัด ซึ่งทางตำรวจและสำนักข่าวกรองฯ ก็จะเดินหน้าต่อในการตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ ส่วนที่สาม ในแง่การปฏิบัติ การทางทะเลทั้งหมด ก็ให้เร่งศึกษาการมีหน่วยงานที่เรียกว่า POST GUARD เหมือนกับเป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยชายฝั่ง ตนอยากให้มีการบูรณาการหลายหน่วยงานที่ทำงานในขณะนี้ ทั้งกองทัพเรือ ตำรวจน้ำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันเหมือนอย่างที่หลายประเทศทำอยู่ก็น่าจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ว่าหน่วยงานดังกล่าวควรจะเป็นรูปแบบใด เพราะในต่างประเทศก็มีรูปแบบที่หลากหลาย การพูดคุยวันนี้ผมก็ได้พูดชัดเจนว่ากลุ่มโรฮิงยาเป็นคนที่หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายซึ่งต้องดำเนินการไม่ให้เกิดขึ้น ขณะนี้ก็กำลังดำเนินการประสานกับทางประเทศพม่าในกรอบของบีมส์เท็กซ์ ซึ่งการที่ยูเอ็นเอชซีอาร์จะเข้ามาก็เป็นเรื่องดีเพราะเขาเองก็เป็นคนที่รับตรงนี้ไปยังบังคลาเทศ ก็ควรต้องดูแลด้วย การพูดคุยหลายๆทางน่าจะเป็นเรื่องดีในการประสานความเข้าใจร่วมกัน นายกรัฐมนตรี กล่าว เมื่อถามว่าข้อมูลที่ได้รับรายงานจากหน่วยงานความมั่นคงมีกลุ่มโรฮิงยาอยู่ในประเทศไทยมากเท่าไหร่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เข้ามาจำนวนมากถึงขั้นมีการตั้งชมรมต่างๆขึ้นมา วันนี้การตรวจสอบต้องดูในเรื่องของความถูกต้องและกวดขันในเรื่องของกระบวนการที่อำนวยความสะดวกให้คนเหล่านี้เข้ามา แล้วก็มาหาผลประโยชน์ในเรื่องการจัดแรงงานที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งยอมรับว่าน่าจะมีกระบวนการค้ามนุษย์อยู่ซึ่งได้กำชับไปแล้วว่าต้องรีบจัดการซึ่งมีกฎหมายเรื่องการค้ามนุษย์ดูแลอยู่ก็ต้องใช้ให้มีประสิทธิภาพ ต่อข้อถามว่ากระบวนการเหล่านี้มักมีเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ต้องจัดการเจ้าหน้าที่คนใดเข้าไปเกี่ยวข้องก็ต้องจัดการเพราะถือว่ามีความผิดเรื่องนี้ต้องเอาจริง เพราะถ้าไม่ทำก็จะลุกลามทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความมั่นคง อีกทั้งกระทบกระเทือนต่อโอกาสของแรงงานไทย เมื่อถามว่ามีกระบวนการจากนอกประเทศเกี่ยวข้องหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรารับผิดชอบในประเทศของเราก่อนว่ามีคนของเราเข้าไปอำนวยความสะดวกอย่างผิดกฎหมายหรือเป็นนายหน้าการค้าแรงงานก็ต้องจัดการ ผู้สื่อข่าวถามว่ามาตรการที่จะดำเนินการเป็นเรื่องการผลักดันกับพม่าหรือส่งไปประเทศที่สาม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ต้องผลักดันออกไปและทำควบคู่ไปกับการแก้ปัยหาที่ต้นตอ คิดว่าขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศก็มีท่าทีที่ชัดเจนในการดำเนินการ และได้มีการเชิญทูตที่เกี่ยวข้องเข้ามาพูดคุยและเตรียมที่จะหารือในที่ประชุมบีมส์เท็กซ์ด้วย อย่างไรก็ตามกลุ่มโรฮิงยาไม่เกี่ยวกับการก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการหารือเกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานนั้น รัฐบาลชุดนี้จะเน้นในเรื่องของการพัฒนาโดยเร่งดำเนินการให้มีความชัดเจนมากาขึ้น ส่วนรายละเอียดการปฏิบัติก็มีการซักซ้อมทำความเข้าใจกันแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร ในส่วนของการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่หรือการลดปริมาณของเหตุการณ์ร้ายในพื้นที่ ช่วง 1-2 ปีก็มีความคืบหน้า แต่ยังเป็นการใช้กำลังและทรัพยากรค่อนข้างมาก ดังนั้นขั้นตอนต่อไปต้องทำให้สถานการณ์ดีขึ้นหรือไม่ให้เลวลงโดยการใช้ทรัพยากรน้อยลง และใช้กระบวนการพัฒนาเข้าไปดำเนินอย่างบจริงจัง เมื่อถามว่าจนถึงเวลานี้รู้ถึงกลุ่มคนที่อยู่เบื้องหลังการก่อความไม่สงบในภาคใต้หรือยัง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็มีข้อมุลที่ทาง สมช.ทราบอยู่แต่มีความหลากหลายของกลุ่มที่เคลื่อนไหงวและอ้างว่ามีส่วนในการเคลื่อนไหวบ้าง นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ในการประชุม สมช.วันนี้ไม่มีการหารือหรือพิจาณาความเคลื่อนไหวการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มเสื้อแดงในวันที่ 31 ม.ค.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook