มรสุมพฤษภา ถล่ม ยิ่งลักษณ์ 2 คดี ชี้ชะตานายกฯอยู่หรือไป

มรสุมพฤษภา ถล่ม ยิ่งลักษณ์ 2 คดี ชี้ชะตานายกฯอยู่หรือไป

มรสุมพฤษภา ถล่ม ยิ่งลักษณ์ 2 คดี ชี้ชะตานายกฯอยู่หรือไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความเคลื่อนไหวของมนุษย์การเมืองในยามนี้น่าจับตามองอย่างยิ่งทั้งความเคลื่อน ไหวของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่เซตอีเวนต์การเมือง เดินสายเคลียร์ความขัดแย้งกับศัตรู-ผู้เกี่ยวข้อง หารือเพื่อให้บ้านเมืองพ้นสภาพ Deadlock กรุยทางไปสู่โหมดเลือกตั้ง พ่วงการปฏิรูปทั้งความเคลื่อนไหว "พล.อ.สายหยุด เกิดผล" ในฐานะประธานคณะรัฐบุคคล เตรียมยื่นร่างพระบรมราชโองการแก้ไขวิกฤตการเมือง โดยมี "พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" ประธานองคมนตรี เป็นผู้กราบบังคมทูล

ทั้งความเคลื่อนไหว "ชัยเกษม นิติสิริ" รมว.ยุติธรรม ยืนยันหลายครั้งหลายหนว่าจะใช้มาตรา 7 เสนอให้นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ขอให้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยสถานะของรัฐบาลว่าจะควรอยู่-ควรไป อันเป็นไปตามโบราณราชประเพณี เมื่อราษฎรที่มีเรื่องร้องทุกข์ร้อนสามารถร้องทุกข์ต่อพระมหากษัตริย์ หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเกินขอบเขต ให้รัฐบาลมีอันต้องพ้นกระดานไปทั้งคณะ จากกรณีคดีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี

ทั้งความเคลื่อนไหวของ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" เลขาธิการกลุ่ม กปปส. เตรียมประกาศแนวทางการชุมนุมใหญ่อีกรอบ 30 เม.ย.นี้ หลังชุมนุมจนครบ 6 เดือนเต็ม

และความเคลื่อนไหวของตัว ต้นเรื่อง 1 ในคู่ขัดแย้งหลักคือ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ ก็ปรากฏตัวถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านสื่อกระแสหลัก และสื่อในเครือข่าย กระทั่งโลกโซเชียลมีเดีย หลังก่อนหน้านี้มีข่าวว่าเขาและครอบครัวพร้อมเลิกเล่นการเมืองหากคืนความ ยุติธรรมให้ประเทศ

ทุกอากัปกิริยา ทุกย่างก้าว ทุกลมหายใจของมนุษย์การเมืองแฝงด้วยนัยสำคัญ มีผลต่อสถานการณ์การเมืองในอนาคตอันใกล้ทั้งสิ้น

ประการ หนึ่ง ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์หลังบอยคอตเลือกตั้งมาแล้ว 1 รอบ เมื่อสัญญาณเลือกตั้งครั้งใหม่เริ่มดังขึ้น พรรคเก่าแก่ภายใต้การนำของ "อภิสิทธิ์" ก็ยิ่งถูกตั้งคำถามไล่หลังว่า จะบอยคอตรอบ 2 หรือยอมลงเลือกตั้ง

เพราะหลังจาก ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยกพรรค และบอยคอตเลือกตั้ง ภาพลักษณ์ความเป็นอนุรักษนิยม+ยึดมั่นกลไกรัฐสภา ก็ถูกกัดกร่อนลงไปทุกขณะก้าวถูกพรรคเพื่อไทยขั้วตรงข้ามการเมืองใช้ปมบอยคอตดิสเครดิตทุกวี่วัน ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์จึงต้องดิ้นประคองตัวหาทางรอด เซตวาระการเมือง เดินสายหารือขั้วขัดแย้ง เพื่อหนีกับดักคำว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะบอยคอตเลือกตั้ง

ประการหนึ่ง ฝ่ายเครือข่ายอำมาตย์และฝ่าย กปปส. ที่ตั้งธงล้ม "ยิ่งลักษณ์" ก็ต้องดิ้นหาทางลง-ทางรอด เพราะนับวันมวลชนยิ่งลดน้อยถอยลง ข้อเสนอต่าง ๆ แบบสุดซอย ก็ถูกกระแสตีกลับ ถูกตั้งคำถามถึงการทำได้-ไม่ได้ เป็นประชาธิปไตย-ไม่เป็นประชาธิปไตยอีกประการหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์-พรรคเพื่อไทย และองคาพยพ ก็ต้องดิ้นเพื่อกอดอำนาจที่มีอยู่น้อยนิด ไม่ให้ถูกศัตรูกระชากออกจากอ้อมแขนไปอย่างดื้อ ๆ เช่นกัน

เมื่อชะตา กรรมในบรรทัดสุดท้ายของคนการเมืองทั้งหมด ถูกผูกโยงเข้ากับคำวินิจฉัยขององค์กรอิสระที่ "ยิ่งลักษณ์" ตกเป็นจำเลยอันดับ 1 ไม่ว่าคดีในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือศาลรัฐธรรมนูญ

ความเป็นความตายของ "ยิ่งลักษณ์" และเครือข่าย จึงขึ้นอยู่กับใน 2 ข้อกล่าวหา 2 ปัจจัยสำคัญ

1.ต้อง ลุ้นว่า "ยิ่งลักษณ์" จะรอดพ้นจากการถูก ป.ป.ช.ชี้มูลกรณีละเลยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายโครงการจำนำข้าวหรือไม่ ต้องรอคำตอบไม่เกินต้นเดือน พ.ค. หากถูก ป.ป.ช.ชี้มูล "ยิ่งลักษณ์" ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ แล้วให้รองนายกฯขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการนายกฯแทน

2.ต้อง ลุ้นคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กรณีแทรกแซงโยกย้าย "ถวิล" มีผลทำให้สถานะความเป็นนายกฯของ "ยิ่งลักษณ์" ต้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว หรือเกี่ยวพันกับ ครม.ทั้งคณะ จนต้องพ้นตำแหน่งทั้งองคาพยพ โดยคาดการณ์กันว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาในช่วงต้นเดือน พ.ค. ไล่เลี่ยกับการชี้มูลของ ป.ป.ช.

กลายเป็น 2 มรสุมหน้าร้อนที่รุมกระหน่ำเข้าใส่ "ยิ่งลักษณ์" ในเดือน พ.ค.เป็นไฟต์บังคับที่ต้องดิ้นเอาตัวรอดฝ่าฟันไปให้ได้ หาไม่องคาพยพชินวัตรอาจพังพินาศทั้งกระดาน

ไม่แปลกที่แกนนำเสื้อแดง ประเมินสถานการณ์ว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ และ ครม.ทั้งคณะต้องสิ้นสภาพ เสื้อแดงก็จะออกมาเคลื่อนไหว ไม่ยอมรับคำวินิจฉัย และทหารจะออกมา 2 ทาง คือ 1.รัฐประหาร 2.ประกาศ
กฎอัยการศึก เพื่อเคลียร์คนเสื้อแดง และนำไปสู่การนองเลือด

เป็นไปตามการวิเคราะห์จากที่ประชุมพรรคเพื่อไทย ในวาระประเมินสถานการณ์การเมือง โดยแกนนำพรรคในสายเสื้อแดงบางคน อ้างถึงคำพูดของ "แหล่งข่าว" ส่วนตัวที่เชื่อถือได้มาบอกต่อกับ ส.ส. ภายพรรควันหนึ่งว่า "สงครามครั้งนี้ฝ่ายอำมาตย์อนุญาตให้มีคนตายได้นับร้อยคน"

เช่นเดียว กับแกนนำระดับสูงของ กปปส.ประเมินว่า การเสนอนายกฯตามมาตรา 7 ไม่มีทางสำเร็จ ไม่ว่าแนวทางของ กปปส. หรือฝ่าย ส.ว.สรรหา แต่ปัจจัยชี้วัดว่าใครเป็นฝ่ายชนะ อยู่ที่การเคลื่อนไหวของ "กองทัพ" จะเลือกอยู่ข้างไหน

สอดคล้องกับแหล่งข่าวด้านความมั่นคงที่คาดการณ์ ว่า หากเกิดภาวะสุญญากาศจากคำวินิจฉัยขององค์กรอิสระขึ้นจริง และสถานการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย ทหารก็จะออกมาอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ออกมาโดยการรัฐประหารในลักษณะเป็นผู้ร้าย หากใช้วิธีเป็นพระเอกขี่ม้าขาวด้วยการประกาศใช้กฎอัยการศึกเข้ารักษาความสงบ เรียบร้อยของบ้านเมือง เพราะตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก 2457 ในมาตรา 4 ระบุว่า "เมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใด ให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้น ซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้ แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด"

แปลตรงตัวว่าทหารมีอำนาจในการประกาศกฎอัยการศึกอยู่ในมือแต่ก่อนที่สถานการณ์จะมาสู่จุดนี้ต้องลุ้นว่า ชะตากรรมการเมืองของ "ยิ่งลักษณ์" จะขาดลงเพราะผลคำวินิจฉัยขององค์กรอิสระหรือไม่

เมื่อทุกฝ่ายอยู่ในสภาพต้อง "ดิ้น" เอาตัวรอดทางการเมือง โดยเฉพาะ "ยิ่งลักษณ์"

หากต้องจบชีวิตทางการเมือง บ้านเมืองจะเป็นอย่างไรต่อจากนี้... ไม่นานจะมีคำตอบเป็นที่ประจักษ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook