รู้ก่อนแชร์ การปฏิวัติ กับ รัฐประหาร แตกต่างกันอย่างไร

รู้ก่อนแชร์ การปฏิวัติ กับ รัฐประหาร แตกต่างกันอย่างไร

รู้ก่อนแชร์ การปฏิวัติ กับ รัฐประหาร  แตกต่างกันอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนคงยังสับสนกับสถาณการณ์การเมืองในปัจจุบันในขณะนี้ หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ได้ออกแถลงการณ์การเข้าควบคุมอำนาจรัฐ หลังจากที่ประกาศกฎอัยการศึกมาก่อนหน้านี้ โดยการออกแถลงการณ์ในครั้งนี้ใช้คำว่า เข้าควบคุมอำนาจรัฐ ทำให้ประชาชนหลายคนสงสัยว่านี่เป็นการรัฐประหารจริงหรือและยังมีอีกหลายคนได้แชร์ข้อความว่าทหารได้ปฎิวัติการปกครองเรียบร้อยแล้ว ทำให้หลายคนยิ่งสับสนกันไปกันใหญ่ว่าแถลงการณ์ในขณะนี้เรียกว่า การรัฐประหาร หรือ การปฎิวัติ กันแน่

ก่อนที่เราจะแชร์ข้อความผิดๆลองมาดูความหมายของคำว่า ปฏิวัติ หรือ รัฐประหาร ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรและมีการใช้ในลักษณะใดบ้าง

ปฏิวัติ (revoluton)
หมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบหรือระบอบการปกครองประเทศ จากรูปแบบหนึ่ง ไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง อย่างสิ้นเชิง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส (เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ)หรือ ในประเทศไทย ก็คือสมัย ร๗ ที่เปลี่ยนจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ) ซึ่งเกิดได้ยากกว่าการรัฐประหาร

รัฐประหาร(coup de ta)
หมายถึง การล้มล้างรัฐบาลผู้บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือทั้งรัฐ และไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง หรือเกิดเหตุนองเลือดเสมอไป
เช่น การรัฐประหารสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ สมัย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งจะเห็นว่า เปลี่ยนแปลงเฉพาะคณะรัฐบาลเท่านั้น โดยที่ประเทศไทยยังคงระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขเช่นเดิม ทั้งนี้ หากความพยายามในการก่อรัฐประหาร ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ก่อการมักถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ

เมื่อรู้เช่นนี้แล้วก็ควรใช้ให้ถูกต้องว่าสถานการณ์บ้านเมืองเช่นนี้เรียกว่าอย่างไร หากเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดไป อาจทำให้ความหมายของสถานการณ์นั้นเปลี่ยนแปลงไปและอาจสร้างความตระหนกแตกตื่นให้กับผู้รับข่าวสารนั้นไปด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook