ม.บูรพา ฮับไอทีภาคตะวันออก

ม.บูรพา ฮับไอทีภาคตะวันออก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ประกาศตัวเองเป็นฮับหรือศูนย์กลางเครือข่ายการศึกษาของภาคตะวันออก และตั้งเป้าหมายการเป็น e-university มหาวิทยาลัยไซเบอร์เต็มรูปแบบ

ศ.ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า ปัจจุบันทุกอาคารภายในมหาวิทยาลัยเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต ผ่านเคเบิลใยแก้วนำ แสง นิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยจำนวน 32,000 คน สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตกว่า 4,000 เครื่องได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน ไม่ว่าจะอยู่ในหอพัก ศูนย์กิจกรรมนิสิต หรือตามคณะต่าง ๆ และเชื่อมต่อไปยัง วิทยาเขตสระแก้วและปราจีนบุรี

บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย หรือไว-ไฟ ก็มีฮอตสปอตติดตั้งตามจุดต่าง ๆ รวม 255 จุด

ส่วนระบบการเรียนรู้ออนไลน์ หรือ อี-เลิร์นนิ่ง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งภายในมหาวิทยาลัยจะใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่น ซอร์ส ซึ่งเป็นจุดเด่นของมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 281 วิชา และสอนผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังสองวิทยาเขต รวมถึงการประชุมทางไกล สอบวิทยานิพนธ์ การประชุมทางไกลกับสำนักงานคณะกรรมอุดมศึกษา (สกอ.) และมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ

ระบบสารสนเทศ ก็มีระบบลงทะเบียนของนิสิต รับสมัครนิสิตออนไลน์ เงินเดือนบุคลากร การวิจัย เป็นต้น

นายเสรี ชิโนดม ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวถึงการเป็นฮับไอทีทางการศึกษาของภาคตะวันออก ภายในมหาวิทยาลัยจะใช้ระบบไอทีรองรับงานทั้งหมด และส่วนใหญ่จะใช้วิธีพัฒนาซอฟต์แวร์เอง ระบบต่าง ๆ จะเชื่อม ต่อทุกอาคาร แม้กระทั่งการเรียนการสอนทางไกล ก็ใช้งานกันอย่างคุ้มค่าผ่านเครือข่ายยูนิเน็ต (uninet) เช่น การสอบบัณฑิตศึกษาของคณะต่าง ๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาระบบการสอนทางไกลกับประเทศเวียดนาม

ในอนาคตสำนักคอมพิวเตอร์ ม.บูรพา จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเครือข่ายทางการศึกษาในภาคตะวันออก ดูแลสถาบันการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงระดับอุดมศึกษา ขณะนี้มีเครือข่ายแล้วประมาณ 17 แห่ง

แต่การเป็นฮับไอทีการศึกษาในภาคตะวันออกได้นั้น ก็ต้องมีอุปกรณ์มีระบบที่ดี ซึ่ง ม.บูรพา ได้เลือกเดลล์มาทำหน้าที่นี้ โดยนายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ บริเดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เดลล์เข้าไปมีส่วนร่วมทำงานกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งมีอุปกรณ์และมีปริมาณงานหลากหลาย มีการจัดซื้อจัดจ้างหลายวิธี แต่ไม่สามารถนำเครื่องมือที่มีอยู่มารวมเป็นฐานข้อมูลใหญ่ได้

ผู้บริหารเดลล์ ประเทศไทย บอกว่า นิสิต นักศึกษาร้อยละ 80 ใช้ชีวิตอยู่นอกห้องเรียน จึงต้องมียุทธศาสตร์นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ให้ผู้เรียนและบุคลากรสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้ตลอดเวลา และต้องมีความปลอดภัยสูง โดย ม.บูรพา ใช้ซอฟต์แวร์ โอเพ่น ซอร์สเป็นหลัก และใช้โซลูชั่นของเดลล์มาช่วยในการบริหารจัดการระบบภายในมหาวิทยาลัยแห่งนี้.

ปรารถนา ฉายประเสริฐ

prathanac@dailynews.co.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook