'ยิ่งลักษณ์' ข้องใจ! ปปช.เร่งตัดสินคดีทุจริตจำนำข้าว

'ยิ่งลักษณ์' ข้องใจ! ปปช.เร่งตัดสินคดีทุจริตจำนำข้าว

'ยิ่งลักษณ์' ข้องใจ! ปปช.เร่งตัดสินคดีทุจริตจำนำข้าว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ (18 ก.ค.57) เวลา 13.30 น. ที่รร.เอส ซี ปาร์ค น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยทีมทนายความ ออกแถลงการณ์ขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ชี้มูลความผิดโครงการรับจำนำข้าว โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่า ปปช. ไม่เป็นธรรมกรณีชี้มูลความผิดกรณีตั้งข้อสังเกตุ ป.ป.ช. เร่งตัดสินคดีดังกล่าว และเลือกฟังเฉพาะพยานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตน ไม่สอบสวนการลงบันทึกบัญชี

ส่วนกรณีการเดินทางไปต่างประเทศนั้น ยืนยัน เป็นการเดินทางส่วนตัวและมีการกำหนดการชัดเจน ก่อนที่ปปช.จะชี้มูลความผิด

พร้อมกันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ดิฉันเป็นราษฎร์เต็มขั้นก็ควรจะมีเสรีภาพเยี่ยงคนไทยทั่วไปยืนยันไม่ทิ้งพี่น้องคนไทและ พร้อมกลับมาประเทศไทย

"เรียนพี่น้องประชาชนและสื่อมวลชน จากกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด ดิฉันว่า กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว และการระบายข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา ดิฉันนางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขอเรียนว่า

1.กระบวนการยุติธรรมนั้นเป็นไปตามหลักนิติธรรมสากลหรือไม่ เพราะมองว่าเป็นการพิจารณาที่ เร่งรีบ รวบรัด โดยแจ้งข้อกล่าวใช้เวลาเพียง แค่ 21 วัน และหลังจากนั้นก็ชี้มูลความผิดอาญาต่อดิฉัน ภายใน 140 วันซึ่ง ป.ป.ช.ไม่เคยปฏิบัติกับคดีอื่น ๆ ที่ดำเนินการกับนักการเมืองเช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อดิฉัน เมื่อเทียบเคียงกับการดำเนินคดีกับการโครงการประกันราคาข้าว ที่ ป.ป.ช.ใช้เวลาในการดำเนินการนานไม่น้อยกว่า 4 ปี คดี ปรส ที่ล้าช้า . โครงการทุจริตโรงพักทั่วประเทศ ป.ป.ช. กลับไม่มีความคืบหน้า อันถือว่ามิได้มีบรรทัดฐานอย่างเดียวกัน

2. นอกจากนี้ ในการปฏิบัติ ของ ป.ป.ช. เมื่อเทียบกับคดีอื่น ๆ เห็นว่า คดีนี้มีพฤติการณ์ รวบรัด เป็นกรณีพิเศษดังนี้ เลือกรับฟังพยานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตัวดิฉัน ตัดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ในการเสนอพยานบุคคลที่เป็นส่วนสาระสำคัญ ไม่รอผลการพิสูจน์เรื่องสต็อกข้าวให้เป็นที่สิ้นสุด เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องสต็อกข้าว ทั้ง ๆ ที่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ไปร่วมสังเกตการณ์แล้ว ไม่ไต่สวนในข้อเท็จจริง กรณีการลงบันทึกบัญชีที่ข้อแย้งและแตกต่างกันของคณะอนุกรรมการปิดบัญชี และ คณะกรรมการ กขช.ให้เป็นที่สิ้นสุด กรณีไม่พิจารณาการที่ดิฉันคัดค้าน นายวิชา รวม 3 ครั้ง

3.นโยบายรับจำนำข้าว เป็นนโยบายระดับประเทศ นายกรัฐมนตรีในฐานะฝ่ายบริหาร เป็นเพียงผู้กำกับดูแลเท่านั้น ส่วนในระดับปฏิบัติการนั้นเป็นการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆหลายหน่วยงาน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีขั้นตอนและกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจน แต่ในข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. กลับฟังความข้างเดียว ในขณะที่ความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังเห็นไม่ตรงกันในข้อเท็จจริง

4. นอกจากนี้การแถลงข่าวของ ป.ป.ช.ต่อสาธารณะที่ผ่านมา ยืนยันว่า คดีในเรื่องระบายข้าวไม่เกี่ยวข้องกับดิฉัน ทำให้ไม่ได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวมาต่อสู้ และหักล้าง แต่ในข้อวินิจฉัยในการชี้มูลกลับนำ ข้อเท็จจริงในคดีระบายข้าวมาชี้มูลความผิดกับดิฉันด้วย

5. ที่ผ่านมาดิฉันพยายามชี้แจงและร้องขอให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวน และสอบพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวนหนึ่งเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและเป็นธรรม แต่ ป.ป.ช. ปฏิเสธมาโดยตลอด ทั้งที่ข้อเท็จจริงอีกหลายเรื่อง เช่น ข้าวเสื่อมสภาพและข้าวหาย หน่วยงานที่ควบคุมดูแล สต็อกข้าว ทั้งองค์การคลังสินค้า อ.ค.ส. และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร อ.ต.ก.ได้ทำสัญญาต่าง ๆกับเจ้าของคลังสินค้า และบริษัทประกัน รับผิดชอบค่าเสียหาย หากเกิดกรณีข้าวสูญหาย และการเสื่อมสภาพข้าวที่ผิดปกติธรรมชาติ ดังนั้นการกล่าวอ้างเรื่องรัฐ มีความเสียหายจากข้าวหาย และข้าวเสื่อมคุณภาพ จึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมต่อดิฉันในฐานะผู้ถูกกล่าวหา

6. ขอตั้งข้อสังเกตว่า การกล่าวหาและการไต่สวนของ ป.ป.ช. ได้นำพยานหลักฐานและไต่สวนพยานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อดิฉันและเลือกที่จะรับฟังพยานหลักฐานหรือไม่ ในขณะที่ดิฉันได้พยามเสนอพยานหลักฐานต่าง ๆแต่ ป.ป.ช.กลับละเลย และปฏิเสธที่จะไต่สวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง

7. ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า ดิฉันจะเดินทางไปต่างประเทศเพื่อที่จะหนีคดีต่างๆนั้น ขอยืนยันว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นการเดินทางส่วนตัว และมีกำหนดการไปกลับที่ชัดเจนและมีการเตรียมการล่วงหน้า แล้วก่อนที่ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดอย่างเร่งด่วน วันนี้ดิฉันเป็นราษฎรเต็มขั้นแล้วควรจะมีสิทธิเสรีภาพเยี่ยงประชาชนคนไทยทั่วไป ขอยืนยันว่า จะไม่ทิ้งพี่น้องประชาชนคนไทย และพร้อมจะกลับมาสู่ประเทศไทย"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook