วิชา ชี้เศรษฐศาสตร์มีส่วนช่วยชี้มูลคดี ยิ่งลักษณ์

วิชา ชี้เศรษฐศาสตร์มีส่วนช่วยชี้มูลคดี ยิ่งลักษณ์

วิชา ชี้เศรษฐศาสตร์มีส่วนช่วยชี้มูลคดี ยิ่งลักษณ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บรรยายตอนหนึ่ง ในหัวข้อ "ปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทย บทบาทของนักกฎหมายและนักเศรษฐศาสตร์" ระหว่างการอบรมหลักสูตรนิติเศรษฐศาสตร์ระยะสั้น แก่เจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. รุ่นที่ 1 ว่า นโยบายสาธารณะเป็นเศรษฐศาสตร์การเมือง ถ้ารัฐบาลมุ่งประสงค์หารายได้ โดยไม่คำนึงถึงความเจ็บปวดของประชาชน หรือสาธารณะ นั่นคือความพินาศ หรือความตายของทุกรัฐบาล

"เจตนารมณ์ของกฎหมายที่สำคัญสูงสุด คือความยุติธรรม ความเป็นธรรม แต่ถ้าคิดว่ากฎหมายไม่เป็นธรรม จะเหมือนกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่บอกว่า ป.ป.ช.ไม่ให้ความเป็นธรรม ในคดีโครงการรับจำนำข้าว" นายวิชา มหาคุณ กล่าว

นายวิชา มหาคุณ กล่าวว่า คดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถ้าไม่มีการริเริ่มของผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐศาสตร์ เช่น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) ศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวและการแสวงหาคำตอบของนายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาเกียรติคุณทีดีอาร์ไอ ที่ได้วิเคราะห์ วิจัยไว้ ขอฟันธงว่า ป.ป.ช.ก็ไม่สามารถที่จะชี้มูลความผิดกับรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ ดังนั้น มิติทางเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญมาก

"การทำงานของ ป.ป.ช.ต่อจากนี้ จะใช้สหสาขาวิชาศาสตร์คือ การผนึกกำลังระหว่างนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้เกิดผลมากยิ่งขึ้น" นายวิชา มหาคุณ กล่าว

นายวิชา มหาคุณ กล่าวว่า การออกกฎหมายโดยไม่ได้มองรอบด้าน อาจจะมีผลสะท้อนก่อให้เกิดความรุนแรงเกินกว่าที่คิด เพราะอาจมีการตีความแบบศรีธนญชัย อีกทั้งหลักแห่งความเป็นธรรม เป็นหลักอยู่เหนือกฎหมาย ต้องเกิดขึ้นด้วยเหตุและผล กฎหมายต้องตอบสนองความยุติธรรมและความเป็นธรรมคนในสังคมให้เท่าถึงกัน.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook