คสช. ยัน ไทยยังมีเสถียรภาพ-ความมั่นคงในทุกมิติ

คสช. ยัน ไทยยังมีเสถียรภาพ-ความมั่นคงในทุกมิติ

คสช. ยัน ไทยยังมีเสถียรภาพ-ความมั่นคงในทุกมิติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปลัด ก.อุตฯ แถลง หน.คสช. ยืนยัน ผู้ค้าน้ำตาล ไทยยังมีเสถียรภาพ - ความมั่นคงในทุกมิติ เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนส่ง จัดตั้งเขต ศก. ชายแดน

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม แถลงภายหลังนำคณะผู้นำองค์การน้ำตาลของประเทศในกลุ่มอาเซียนและเอเชีย ตลอดจนกลุ่มผู้นำธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจากทั่วโลกเข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ว่า หัวหน้า คสช. ได้ยืนยันต่อกลุ่มธุรกิจผู้ค้าน้ำตาลว่าประเทศไทยยังคงมีเสถียรภาพและความมั่นคงในทุกมิติ และไทยกำลังพัฒนามาตรฐานการผลิตให้มีการเจริญเติบโตอย่างเพียงพอต่อความต้องการในตลาดการค้าน้ำตาลโลก

พร้อมกันนี้ ยังเน้นย้ำนโยบายอ้อยและน้ำตาลจะขยายพื้นที่ปลูกอ้อยให้เหมาะสมในลักษณะการโซนนิ่งพื้นที่ปลูก แต่ปริมาณผลผลิตน้ำตาลจะยังคงพอเพียงต่อความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังมีนโยบายให้มีการกระจายโรงงานขนาดเล็กเข้าไปในพื้นที่เพาะปลูกอ้อยโดยจะต้องไม่ก่อมลพิษต่อสภาพแวดล้อม ในโอกาสเดียวกันนี้ หน.คสช. ได้เชิญชวนให้กลุ่มธุรกิจผู้ค้าน้ำตาลมาร่วมลงทุนในประเทศไทยด้วยเนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านการขนส่ง รวมทั้งจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ 5 พื้นที่ตามแนวชายแดน


หัวหน้า คสช. มอบนโยบายดูแลอุตฯอ้อยและน้ำตาล

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมคณะผู้บริหารระดับสูงของบริษัทคู่ค้าน้ำตาลรายใหญ่ของโลก และนักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าน้ำตาลของโลก ซึ่งมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. นำคณะเข้าพบ ว่า หัวหน้า คสช. มีความเห็นว่า การค้าน้ำตาลจำเป็นที่จะต้องบูรณาการ 3 ส่วน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ซื้อในต่างประเทศ ผู้ผลิตในประเทศ รวมไปถึงนโยบายของภาครัฐ พร้อมได้ให้นโยบายอ้อยและน้ำตาลทรายในฤดูการผลิต 2557/2558 ที่กำลังจะมาถึง 3 ด้าน ได้แก่ นโยบายด้านการเพาะปลูกอ้อย ที่ต้องมีการจัดโซนการเพาะปลูกให้มีความชัดเจน ครอบคลุมปริมาณน้ำตาลที่เพียงพอต่อทั้งการบริโภคในประเทศและส่งออก โดยไม่กระทบราคา 2. กระจายโรงงานผลิตน้ำตาลขนาดเล็กไปยังชุมชนที่ปลูกอ้อย แต่ต้องไม่ให้โรงงานนั้นๆ สร้างผลกระทบเช่นสร้างผลพิษสู่ชุมชน 3. นโยบายการเพาะปลูกอ้อยที่ควรลดการใช้ปุ๋ยเคมีหันมาปลูกแบบอินทรีย์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ซึ่ง คสช. จะให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เพราะเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศด้วยอันดับการส่งออกอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล โดยปี 2557 ประเทศไทย จะมีการผลิตน้ำตาลทราย 11.29 ล้านตัน โดยแบ่งเป็นโควตาเพื่อบริโภคในประเทศ 2.5 ล้านตัน และส่งออก 8.79 ล้านตัน  

นอกจากนี้ คสช. พร้อมให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมดังกล่าว และการเร่งนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดย คสช. จะรับฟังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการค้าที่ยั่งยืน โดยผู้ที่มีข้อเสนอสามารถยื่นข้อเสนอผ่านกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอกับ คสช.

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook