กระตุกศึกษานิเทศหนุนครูเผชิญ-เผด็จปัญหา ลดเด็กแหย

กระตุกศึกษานิเทศหนุนครูเผชิญ-เผด็จปัญหา ลดเด็กแหย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
วันที่ 26 มกราคม 2552 ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) จัดสัมมนาเรื่อง โครงการศึกษาสภาพการนิเทศการศึกษาในปัจจุบัน โดยศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่าบทบาทของศึกษานิเทศถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาการศึกษาชาติ และถ้าเมื่อไหร่ที่เรายังละเลยไม่สนใจการทำงานของศึกษานิเทศและทำให้การทำงานของศึกษานิเทศอ่อนแอ ครูไทยก็จะอ่อนไปด้วย และจะทำพาไปสู่การศึกษาที่อ่อนและอย่าหวังว่าประเทศชาติจะพัฒนาไปได้ มศว รุกขึ้นมาให้ความสนใจการปฏิรูปการศึกษา และเน้นไปที่ครูประจำการ ศึกษานิเทศ นิสิตที่เรียนครู เพราะเราเชื่อว่าปัญหาการศึกษาไม่สามารถพัฒนาไปได้หากให้นักการเมือง รัฐบาลทำงานเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งตอนนี้รัฐบาลเน้นแต่นยบายแจก มากกว่าจะเน้นสาระของการศึกษา

ด้านศาสตรจารย์กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ ราชบัณฑิตทางด้านสังคมศาสตร์ กล่าวว่าสังคมไทยเผชิญภาวะวิกฤติทางความคิด ความเชื่อ ความศรัทธา และมีการทำลายซึมลึกในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นกาทำลายซึมลึกทางด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การเมือง สื่อมวลชน สังคม และมีช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้การศึกษาในระบบก็มีความอ่อนล้า ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา

"ถึงเวลาแล้วที่กลุ่มคนที่ทำงานด้านการศึกษาต้องจริงจริงกับการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะบทบาทของศึกษานิเทศ ต้องรู้จักที่จะส่งเสริม และทำหน้าที่ช่วยเหลือครู ช่วยแก้ปัญหาให้กับครูอย่างเป็นกัลยาณมิตร มากกว่าจะทำหน้าที่ออกไปจับผิดครูหรือมุ่งแต่จะกรอบแบบฟอร์มเพื่อให้คะแนนครูเพียงอย่างเดียว แต่ศึกษานิเทศต้องช่วยออกแบบวิธีการสอน เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้แก่ครู ต้องช่วยครูคิด เหตุที่ต้องช่วยครูเพราะครูทำงานและรับผิดชอบงานมากมาย บางเรื่องครูอาจจะคิดเนื้อหาต่างๆ ได้ไม่เชื่อมโยงและครอบคลุม ศึกษานิเทศต้องเข้าไปช่วยเหลือ เราต้องช่วยกันเปลี่ยนความคิดที่ว่าศึกษานิเทศกับผู้ถุกนิเทศเป็นปกปักษ์หรืออยู่คนละข้าง เพราะถ้าคิดเหล่านั้นกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ และการชวยเหลือครูไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ขอให้ศึกษานิเทศเลิกทำงานในลักษณะชิงอำนาจ เพราะการทำงานในลักษระเชิงอำนาจไม่ได้ทำให้การศึกษาไทยพัฒนาไปได้เลย ทำอย่างไรให้ศึกษานิเทศช่วยครูให้สามารถดึงความสามารถของศิษย์ออกมาให้ได้ และดึงความเขลาในตัวเด็กออกไปให้ได้ ศึกษานิเทศต้องสนับสนุนให้ครูรู้จักเผชิญ ผจญ ผสมผสาน และเผด็จปัญหาเพื่อแก้ปัญหาไม่ให้เด็กไทยเป็นคนแหย ท้อแท้ เฉยๆ คิดอะไรไม่ออกก็ฆ่าตัวตาย และเฉื่อยชา

"แนวทางที่ศึกษานิเทศต้องปรับนั้น อยากให้ยึดแนวทางกัลยาณมิตร ที่ช่วยแนะนำครู สนับสนุน ส่งเสริมแบบเพื่อนช่วยเพื่อน และที่สำคัญต้องสร้างให้ครูเกิดศรัทธา ไว้วางใจกันและกัน รู้จักให้ใจ รวมใจ ตั้งใจและเปิดใจถ้าศึกษานิเทศพื้นที่ใดสามารถทำได้อย่างนี้ จะเกิดมิติใหม่และเป็นความหวังของสังคมไทยเพื่อเข้าสู่การปฎิรูปการศึกษาต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook