กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเผยอุ้มบุญทั่วปท.45แห่ง

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเผยอุ้มบุญทั่วปท.45แห่ง

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเผยอุ้มบุญทั่วปท.45แห่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แถลง มีคลินิกรับทำอุ้มบุญ ใน กทม. 12 แห่ง ทั้งประเทศรวม 45 แห่ง สอในส่วนของแพทย์ที่กระทำผิดนั้น ได้ชงเรื่องไปยังแพทยสภาเพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายและเอาผิดแล้ว

นาวาตรีบุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แถลงสถานการณ์การรับจ้างอุ้มบุญ ในประเทศไทยขณะนี้ว่าจากการตรวจสอบพบว่ามีคลินิกที่รับทำอุ้มบุญในกรุงเทพมหานครแล้ว จำนวน 12 แห่ง รวมทั้งประเทศ 45 แห่ง ซึ่งเป็นสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน

ส่วนกรณีของน้องแกรมมี่นั้น พบเป็นคลินิก ชื่อ s.a.r.t ตั้งอยู่ที่ อาคารวานิช 2 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ที่เป็นผู้รับทำ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีใบอนุญาตถูกต้อง แต่แพทย์ไม่กระทำการตามมาตรฐานของแพทยสภาจึงเข้าข่ายระทำะความผิด ทั้งนี้ ยังพบว่ามีแพทย์อีกกว่า 20 คนหมุนเวียนกันเข้ามาทำในคลินิคดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบและคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน หากพบว่ามีความผิดก็สามารถถอดใบประกอบวิชาชีพได้

พร้อมกันนี้ นาวาตรีบุญเรือง ยืนยันว่า การรับทำเด็กนั้นจะต้องเป็นเครือญาติ ไม่มีค่าใช้จ่าย จึงไม่ถือว่าเป็นความผิด แต่หากพบว่ามีการบังคับขู่เข็ญหรือทำให้ได้รับบาดเจ็บ มีสินจ้าง ก็จะเข้าข่ายผิดกฏหมายและการค้ามนุษย์ทันที ส่วนกรณีของเด็ก 9 คนในพื้นที่ลาดพร้าวนั้น  ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างสืบสวน ส่วนผู้ที่ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแพทย์ที่กระทำผิดนั้น ได้นำเสนอเรื่องไปยังแพทยสภาเพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายและเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดต่อไป

 

"บุญเรือง"เผย อุ้มบุญยังผิดกฎหมาย มี4มาตรการแก้ไข

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดเผยถึงการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการอุ้มบุญ ว่า ทางกระทรวงสาธารณสุข มีมาตรการใน 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ 1.ทางกระทรวงสาธารสุข ได้ชี้แจงไปแล้วว่า การใช้เทคนิคการช่วยเจริญพันธุ์ หรือการอุ้มบุญนั้นยังผิดกฎหมายอยู่ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ แต่จะสามารถทำได้ในกรณีของผู้ที่มีปัญหาการมีบุตรยาก มีความเกี่ยวข้องเป็นญาติ และไม่มีค่าตอบแทนเท่านั้นถึงจะสามารถทำได้ 2.ได้ทำความเข้าใจกับคลินิก ว่าการดำเนินการต้องถูกต้องมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่า จะไม่ใช้เป็นช่องทางในการหาผลประโยชน์ 3.เจ้าหน้าที่มีการออกตรวจสถานพยาบาลตามมาตรา 45 ในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และ 4.มีช่องทางให้ผู้ที่พบเห็นแจ้งและรายงาน

ส่วนกรณีการอุ้มบุญบางกรณีที่เมื่ออายุครรภ์ครบ 7 เดือน จะผ่าคลอดเด็กก่อนกำหนด เพื่อต้องการดูดเอาไขสันหลัง หรือสเตมเซลส์ นำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมความงาม นั้น น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวว่า ในเบื้องต้นนั้นการใช้สเตมเซลส์ได้จะต้องมีเซลส์ที่ตรงกัน หรือเป็นเครือญาติสายเลือดเดียว ซึ่งในเรื่องนี้ยังถือว่ามีความยากมาก ส่วนหากมีการสบคบกับเอเย่นต์ดำเนินการเป็นขบวนการนั้นก็จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบและดำเนินคดีต่อไป

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :::


แพทยสภาปัดฝุ่นกม.อุ้มบุญ-ฟันผิดหมอปมน้องแกรมมี่
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=557075


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook