มาร์คยอมรับการบังคับใช้กฎหมายมีปัญหา

มาร์คยอมรับการบังคับใช้กฎหมายมีปัญหา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
แต่ยืนยันจะแก้ปัญหาด้วยหลักนิติธรรมและนิติรัฐ ลั่น เร่งดำเนินคดีกับทุกกลุ่ม เผยคดี พธม.บางคดีเสร็จแล้ว

เมื่อเวลา 14.20 น. ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จังหวัดนนทบุรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวบรรยายพิเศษตอนหนึ่งในหัวข้อเรื่อง ธรรมนูญ หลักนิติธรรมและการบริ หารประเทศในภาวะวิกฤติ ให้กับผู้บริหาร คณาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันพระปกเกล้าฯ ว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ตนเข้ามาสู่แวดวงการเมืองตั้งแต่ 2535 ตนก็ตั้งใจว่าจะข้ามาการเมืองที่มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ แต่ตลอดเวลาก็เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายมีปัญหามาโดยตลอด แม้แต่รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ทุกคนหวังว่าจะทำให้การเมืองเปลี่ยนแปลงซึ่งแรกๆก็ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพพอสมควร แต่ต่อมาควาสมดุลสูญเสียไป กลไกที่ต้องมำงานตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะองค์กรอิสระก็เกือบจะทำงานไม่ได้ เกิดการเผชิญหน้าจนนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อปี 2549

ส่วนตัวเมื่อทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ยืนยันว่าหลักนิติธรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเพราะไม่ว่าเราจะมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง ปรับปรุง ปฏิรูประบอบประชาธิปไตย แต่หลักนิติธรรมเราจะทิ้งไม่ได้ แม้ที่ผ่านมาเราเกือบจะล้มเหลวมาตลอดในการรักษาหลักนิติธรรม เพราะการใช้อำนาจของกฎหมายมีปัญหามาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่เรื่องเล็กๆ จนถึงเรื่องสำคัญๆ ดังนั้นก็ต้องแก้ไขปัญหาส่วนนี้ให้ได้ เพราะในอนาคตเราจะต้องประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่รุนแรง ซึ่งถ้าเรามีหลักนิติธรรมก็จะเป็นจุดสำคัญ?จะเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนประเทศได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าว

-นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า บทเรียนที่จะต้องพยายามทำความเข้าใจคือปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ใช่ว่าเมื่อเขียนกฎหมายออกมาแล้วจะป้องกันได้ทุกอย่าง อย่างการเขียนรัฐธรรมนูญก็จะมีการเขียนเพิ่มทุกครั้งเมื่อเกิดปัญหา หรือบางครั้งต้องเขียนหลายอย่างแบบสุดโต่งทำห้มีปัญหาปฏิกิริยาสะท้อนกลับ อย่างกรณี กฎหมายการยุบพรรคการเมือง ในฐานะที่ตนเป็นผู้บริหารพรรคการเมืองยอมรับว่าหวาดเสียวตลอดเวลา เราเข้าใจถึงที่มาของมาตราที่เกี่ยวข้องและเข้าใจว่าคนที่ต่อต้านมีเหตุผลอะไร เพราะเรื่องอของการทุจริตการเลือกตั้งและการขายเสียงมีการซับซ้อนมากขึ้น เป็นเงื่อนไขที่บ่อนทำลายธรรมาภิบาลและการเมือง ซึ่งโทษที่ได้รับนั้นเกือบจะทุกคดีที่เกี่ยวข้องผู้กระทำผิดมักไม่ถูกลงโทษ เพราะแค่ศาลชั้นแรกยังไม่ทันพิพากษาก็เกิดการยุบสภา หรือครบวาระไปก่อนจึงไม่รู้จะว่าไปต่อสู้คดีไปทำไม คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ไม่รู้จะฟ้องทำไมเพราะกว่ากระทบวนการจะเสร็จสิ้นก็สายไปเสียแล้ว จึงมีการถกเถียงกันตลอดว่าในหลักนิติธรรม คนที่เขียนกำหมายก็เหมือนกำลังจะหมดความอดทน เพราะทำอย่างไรก็ไม่สำเร็จจึงพยายามเขียนกฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันคนที่ไม่ได้ทำความผิดแต่อยู่ในโครงสร้างหรือองค์กรก็ต้องรับผิดไปด้วย ปัญหาดังกล่าวจึงมองได้ 2 มุม

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคการเมืองเมื่อปี 2550 แต่ปัยหาก็ยังไม่จบยังคงเรื้อรังมาจนถึงปีที่ผ่านมา เพราะนักการเมืองค้างคาใจว่าไม่เป็นธรรม จึงเกิดประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่ความขัดแย้งบานปลายจนถึงขั้นวิกฤติ ส่วนหนึ่งก็อยูที่มุมมอง ผมเป็นคนหนึ่งถ้าเลือกเขียนมาตรา 237 ได้ก็จะไม่เช่นอย่างนี้ แต่เมื่อเขียนไว้แล้วก็ต้องยอมรับ แต่คนที่อยากแก้ก็เพราะต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมกลับคืนมา แต่ในหลักธรรมาภิบาลและหลักนิติรัฐคนมีอำนาจก็ไม่พึงแก้กฎหมายเพื่อตัวเอง จึไม่แปลกเยว่าบนถนนจึงเกิดความขัดแย้งรุนแรงจนเหตุการณ์บานปลาย ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันก็ต้อแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเราเคารพในกฎหมายรัฐธรรมนูญ อย่างไร ส่วนมาตรา 190 ก็ยอมรับว่ารัฐบาลทำงานได้ยากขึ้น แต่ก็ต้องปฏิบัติตามส่วนจะแก้ไขหรือมิ่เราก็ไม่ควรจะเป็นผู้ริ่เริ่มเพราะมีส่วนได้เสีย นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลยังคงเดินหน้าที่จะปฏิรูปการเมือง แต่ไม่ได้ใช้คำว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่เพราะมีเล่ห์เหลี่ยมอะไรแต่ต้องการให้รู้ว่าเป้าหมายที่แท้จริงคือการปฏิรูปการเมือง ส่วนจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้นเรื่องของการปฏิรูปก็จะครอบคลุมด้วยตัวของมันเอง เพราะการปรับปรุงระบบอะไรถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่รัฐบาลทำขณะนี้คือหาความเห็นร่วมให้มากที่สุดในการออกแบบองค์กรที่จะมาทำหน้าที่ปฏิรูปการเมือง

อย่างไรก็ตามความทุกข์ของตนและคนที่ทำงานในเรื่องนี้คือการพยายามหาผู้ที่หลายๆฝ่ายยอมรับมาทำงานซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้ ตนได้ปรึกษากับประธานวิปฝ่ายค้านบางแล้ว แต่ก็เป็นอย่างที่คิดว่าพอเอ่ยชื่อใครออกมาอีกฝ่ายก็เห็นว่าไม่เป็นกลางและไม่เหมาะสม ซึ่งยอมรับว่ายาก แต่ตนก็จะเดินหน้าต่อ

ซึ่งถ้าไม่สามารถเลือกตัวบุคคลได้ ก็จะยึดตัวองค์กรหรือสถาบันมาทำหน้าที่ ซึ่งขณะนี้คิดไว่ในใจว่าสถาบันพระปกเกล้ามีความเหมาะสมที่สุดที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้ แต่ก็ต้องรอให้ฝ่ายค้านไปพิจารณาก่อนว่าถ้าเลือกสถาบันพระปกเกล้าแล้วจะให้องค์กรใดมาตัดสิน ในใจของตนกิดว่าน่าจะเป็นสภาสถาบันฯ ซึ่งน่าจะเป็นที่ยอมรับของฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบการปฏิรูปการเมืองให้เดินไปข้างหน้า มีหลักประกันเรื่องการมีส่วนร่วมและการให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย ทั้งนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จหรือไม่เพราะฝ่ายค้านขอกลับไปหารือกันก่อน นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การบังคับใช้กฎหมายและการให้ความเป็นธรรมนัน จะต้องทำอย่างตรงไปตรงมา ขณะนี้ถูกเรียกร้องจากทั้งสองฝ่ายให้เร่งดำเนินคดีกับอีกฝ่าย ขอยืนยันว่ารัฐบาลและตนจะทำให้ทุกอย่างเดินไปอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการละเว้นหรือกลั่นแกล้งใคร ผบ.ตรงก็ทราบนโยบายชัดเจนว่านี่คือภารกิจสำคัญ ในส่วนการดำนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรฯ กำลังดำเนินการไป บางเรื่องสอบสวนเสร็จแล้ว บางเรื่องเสร็จไป 80% บางเรื่อง 30% แต่ทุกเรื่องต้องเดินหน้า ซึ่งบางคดีต้องพิจารณาในภาพรวมเพื่อให้เกิดความยุติธรรมเพราะหลายเหตุการณ์จะมองแต่ความผิดทางอาญาอย่างเดียวไม่ได้เพราะมีมติทางด้านการเมืองด้วย ความจริงตนต้อการให้มีบุคคลเข้ามาช่วยสะสางปัญหาแต่เป็นเรื่องยาก เพราะเท่าที่ผู้ใหญ่คนหนึ่งซึ่งรับที่จะมาช่วยทำงานแต่เมื่อไปทาบทามบุคคลอื่นๆก็ได้รับการปฏิเสธเพราะเกรงว่าจะต้องรับภาระหนักและถูกดึงไปอยู่บนความขัดแย้งแต่ก็จะพยายามต่อไปเพื่อหาบุคคลมาทำหน้าที่ตรงนี้และเป้นหลักประกันในเรื่องของความยุติธรรม

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การทำงานของรัฐบาลในขณะนี้อาจถูกกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลกค่อนข้างมาก ซึ่งถ้าทำไม่สำเร็จหรือไม่สามารถประคับประคองได้รูปแบบความขัดแย้งและความรุนแรงก็อาจเกิดขึ้นได้มากเช่นเดียวกัน ซึ่งในการบริหารในภาวะวิกฤติภายใต้รัฐธรรมนูยและความพยายามของรัฐบาลที่ยึดหลักนิติธรรม-นิติรัฐ และทำให้เป็นที่ยอมรับของสังคมเราต้องผลักดันต่อไปก็หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในสังคม

รายการคมชัดลึกตอน-ภาษีที่ดินและมรดกเก็บได้จริงหรือ?

ทันทีที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศเดินหน้าผลักดันกฎหมายการจัดเก็บภาษีที่ดินและมรดก ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างหนักว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทนแรงเสียดทานได้หรือไม่ ภาษีที่ดินและมรดกจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook