ไทยจับมือองค์การอนามัยโรคกวาดล้างโรคลิชมาเนีย

ไทยจับมือองค์การอนามัยโรคกวาดล้างโรคลิชมาเนีย

ไทยจับมือองค์การอนามัยโรคกวาดล้างโรคลิชมาเนีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาธารณสุขไทยจับมือองค์การอนามัยโรค กวาดล้างโรคลิชมาเนีย แม้พบในไทยน้อย แต่ภาวะเเทรกซ้อนรุนเเรง

นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขไทยจับมือองค์การอนามัยโลก ร่วมกวาดล้างโรคลิชมาเนีย ซึ่งเกิดจากแมลงริ้นฝอยทราย เป็นโรคประจำถิ่นในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ พบผู้ป่วยปีละ 1.2 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 1,000 คน องค์การอนามัยโลกได้จัดให้เป็น 1 ใน 6 ของโรคเขตร้อนที่ต้องเร่งกวาดล้างให้หมดโดยเร็ว โดยตั้งเป้าเพื่อขจัดโรคและลดจำนวนผู้ป่วยให้น้อยกว่า 1 คนต่อประชากร 10,000 คนภายในปี 2560

ทั้งนี้ ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้น้อยมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503-2553 มีเพียง 63 รายเท่านั้น ไม่พบผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่พบในผู้ที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง

ด้าน นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคลิชมาเนีย เป็นโรคที่เกิดในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง แพร่มาสู่โดยแมลงลิ้นทรายฝอย หลังติดเชื้อ 3-6 เดือนจึงปรากฏอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการป่วยแบบค่อยเป็นค่อยไป มีไข้เรื้อรัง ผิวหนังคล้ำขึ้น อาจมีเลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ท้องอืด ที่รอยกัดจะเป็นตุ่มแดงและแตกเป็นแผล ไม่เจ็บ อาจเป็นๆ หายๆ รักษานานหลายปี แผลมักขึ้นที่ใบหน้าและใบหู โรคนี้มียารักษาหายขาดและบางรายอาจมีโรคแทรกซ้อน หากได้รับการรักษาช้า อาจเสียชีวิตได้

นายแพทย์โสภณ แนะว่า หากเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงควรสวมใส่เสื้อผ้ารัดกุมมิดชิด นอนกางมุ้ง ดูแลความสะอาดบ้านเรือนหลังกลับมา 3-6 เดือนแล้วมีไข้ อ่อนเพลีย ขับถ่ายผิดปกติ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อย ให้ไปพบแพทย์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook