ไทยออยล์ปรับตัวฝ่าวิกฤติ ลงทุนระวัง-หันเพิ่มส่งออก

ไทยออยล์ปรับตัวฝ่าวิกฤติ ลงทุนระวัง-หันเพิ่มส่งออก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ทำให้ผู้ประกอบการทั้งโรงกลั่นผู้ผลิตต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมรับมือ รวมทั้งบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายน้ำมันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

นายวิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการ บมจ.ไทยออยล์ มองว่าธุรกิจโรงกลั่นจะอยู่ในช่วงขาลงนานถึงปี 2555 แต่เชื่อว่ากลุ่มไทยออยล์จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากมีจุดได้เปรียบโรงกลั่นอื่นๆ ตรงที่มีการเตรียมพร้อมมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งในปีนี้ถือว่าความท้าทายทางธุรกิจสูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยโอกาสสำหรับธุรกิจใหม่ๆ และไทยออยล์ก็เป็นหนึ่งในนั้น เพราะไทยออยล์ให้ความสำคัญกับความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม ข้อมูลเชิงธุรกิจ โดยได้จัดตั้งทีมวิเคราะห์สถานการณ์พลังงานขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้ฝ่ายวางแผนธุรกิจของเครือ รวมทั้งทำหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า หากมีสิ่งใดที่อาจกระทบกับธุรกิจเพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนแผนได้ทันท่วงที

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาบริษัทยังเตรียมความพร้อมด้วยโครงการที่สามารถดึงความเป็นเลิศออกมาจากทุกสายงาน เรียกว่าโครงการ Opertional Excellence เพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตั้งเป้าหมายทางธุรกิจ ส่งผลให้สถาบัน Wood Mackenzie ซึ่งจัดอันดับโรงกลั่นในเอเชียแปซิฟิกในปี 2550 พบว่า กลุ่มไทยออยล์มีค่าการกลั่นสูงเป็นอันดับ 3 เป็นรองเพียง Reliance ที่มีค่ากลั่นสูงกว่า 11 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และ Conoco Phillips เท่านั้น

ธุรกิจโรงกลั่นยังไปได้ดี

นายวิโรจน์มองว่า ในปีนี้ธุรกิจโรงกลั่นน่าจะดีพอสมควร เนื่องจากเชื่อว่าราคาน้ำมันได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หากปีนี้โอเปกลดกำลังผลิตลง 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน มีโอกาสที่ราคาจะพลิกสูงกว่าปีก่อน โดยไทยออยล์คาดว่าราคาน้ำมันดิบในปี 2552 เฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงทำให้โรงกลั่นบางแห่งแข่งขันไม่ได้ต้องหยุดหรือชะลอการผลิตลง ขณะที่ไทยออยล์ยังเดินหน้าผลิตเต็มกำลัง 100% และมั่นใจว่าบริษัทมีความพร้อมในการแข่งขัน แม้จะมีกำลังการผลิตใหม่ๆ เกิดขึ้นในภูมิภาค

นอกจากนั้น ไทยออยล์ยังมีความได้เปรียบ เช่น เรื่องความคล่องตัวในการบริหารการกลั่น เนื่องจากมีหน่วยผลิตหลายหน่วยและใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ความสามารถในการกลั่นน้ำมันใสที่มีมูลค่าในสัดส่วนสูง มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่ำ มีโครงสร้างทางการเงินที่แข็งแกร่ง รวมทั้งมีการกระจายตัวของธุรกิจ เช่น ธุรกิจการกลั่นน้ำมัน ธุรกิจพาราไซลีน ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจขนส่งน้ำมัน ธุรกิจพลังงานทดแทน รวมทั้งธุรกิจสารละลาย ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ของกลุ่ม

คาดว่าปีนี้ค่าการกลั่นน้ำมัน และค่าการกลั่นรวมจะใกล้เคียงกับปีที่แล้ว อยู่ราว 6-7 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แม้ภาวะธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันจะผันผวน ส่วนของโรงกลั่นไทยออยล์มีค่าการกลั่นอยู่ที่ 7 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่น่าพอใจ แม้ค่าการกลั่นน้ำมันเบนซินจะติดลบและหลายแห่งได้รับผลกระทบ แต่ของไทยออยล์มีสัดส่วนการผลิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยานสูงถึง 60% ซึ่ง 2 ตัวนี้เป็นน้ำมันสำเร็จรูปที่มีราคาค่อนข้างดี สามารถทดแทนน้ำมันเบนซินที่ปีก่อนแทบจะหายไปจากตลาดได้ นายวิโรจน์กล่าว

ดันส่งออก-ทบทวนโครงการใหญ่

อย่างไรก็ตาม จากการที่คาดว่าความต้องการน้ำมันในประเทศจะลดลง ไทยออยล์จึงวางแผนจะผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น เพิ่มสัดส่วนเป็น 25-35% จากเดิมที่ส่งออก 20% โดยตลาดส่งออกยังเน้นประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพราะยังมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นบวก เช่น จีน อินโดนีเซีย และไต้หวัน ซึ่งเป็นประเทศที่ยังมีความต้องการใช้พาราโซลีนอย่างต่อเนื่องจึงมองว่าราคาน่าจะปรับขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

นายวิโรจน์กล่าวว่า เพื่อความไม่ประมาทบริษัทยังมุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงมากขึ้น ขณะเดียวกันจะให้ความสำคัญกับการบริหารกระแสเงินสดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนในปีนี้ โดยภายในไตรมาส 1 ปีนี้จะดำเนินการออกหุ้นกู้อีก 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำมารีไฟแนนซ์หนี้เดิมให้ต้นทุนต่ำลง เนื่องจากมองว่าการดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลงตามดอกเบี้ยนโยบายหากได้ดอกเบี้ยที่ 4% ถือว่าอยู่ในระดับน่าพอใจ และมีการออกตั๋วแลกเงินระยะสั้นด้วยเพื่อเป็นการเตรียมสภาพคล่องรองรับการลงทุนในอนาคต

ส่วนแผนการลงทุนในปีนี้ คาดว่าจะใช้งบลงทุนไม่มากนักอยู่ที่ประมาณ 50-100 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น และจะทบทวนโครงการที่ใช้วงเงินสูงให้เป็นไปอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ residue upgrade ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของน้ำมันหนัก ให้ได้น้ำมันใสเพิ่มขึ้น เคยประเมินไว้ใช้เงินลงทุนกว่า 1,500-1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐก็อาจต้องทบทวนใหม่ตามความเหมาะสมคาดว่าจะมีความชัดเจนในช่วง 6 เดือนนี้

รายการคมชัดลึกตอน-ภาษีที่ดินและมรดกเก็บได้จริงหรือ?

ทันทีที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคประชาธิปัตย์ ประกาศเดินหน้าผลักดันกฎหมายการจัดเก็บภาษีที่ดินและมรดก ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอย่างหนักว่า พรรคประชาธิปัตย์จะทนแรงเสียดทานได้หรือไม่ ภาษีที่ดินและมรดกจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook